ผลลัพธ์ทางคลินิกของการใช้เส้นฟอกเลือดชนิด Brachial-Basilic Transposition Arteriovenous Fistula และเส้นฟอกเลือดชนิด Prosthetic Upper Arm Arteriovenous Graft ในผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย

ผู้แต่ง

  • Sitthichai Vachirasrisirikul

คำสำคัญ:

เส้นฟอกเลือดชนิด arteriovenous fistula, เส้นฟอกเลือดชนิด arteriovenous graft, การติดเชื้อที่สายสวนฟอกเลือด, อัตราการเปิดของเส้นฟอกเลือดที่ใช้งานได้สำเร็จ

บทคัดย่อ

ผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายที่ไม่สามารถใช้งานเส้นฟอกเลือดชนิด cephalic vein arteriovenous fistula ต่อได้ ทางเลือก คือผ่าตัดทำเส้นฟอกเลือดชนิด Brachial-Basilic Transposition Arteriovenous Fistula (BBTAVF) หรือชนิด Upper Arm  Arteriovenous Graft (Upper Arm AVG) งานวิจัยแบบวิเคราะห์ย้อนหลังนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบผลลัพธ์ทางคลินิก ตลอดจนภาวะแทรกซ้อนของเส้นฟอกเลือด 2 ชนิด ตั้งแต่เดือน กรกฎาคม พ.ศ. 2558 ถึงเดือนกรกฎาคมพ.ศ. 2560 ผลการศึกษา พบผู้ป่วยจำนวน 75 ราย เป็นกลุ่ม BBTAVF 27 ราย และกลุ่ม Upper arm AVG 48 ราย ค่าเฉลี่ยระยะเวลาในการเริ่มใช้งานเส้น ฟอกเลือดสำเร็จของกลุ่ม BBTAVF (84.63 วัน) นานกว่ากลุ่ม Upper arm AVG (32.15 วัน) (p < 0.001) อัตราการเปิดของเส้น ฟอกเลือดทั้ง 2 ชนิด ที่ใช้งานได้สำเร็จแบบปฐมภูมิและทุติยภูมิเมื่อติดตามไปที่ 18 เดือนอยู่ที่ 75.8% ต่อ 65.8% (p = 0.113)  และ 91.7% ต่อ 74.7% (p=0.062) ตามลำดับ พบการติดเชื้อที่เส้นสายสวนฟอกเลือดระหว่างรอใช้งานเส้นฟอกเลือด ในกลุ่ม BBTAVF 3 ราย (12.5%) ในกลุ่ม Upper arm AVG 3 (7.0%) ราย (p = 0.659) และพบว่าในกลุ่ม Upper arm AVG มีเส้นฟอก เลือดดับ 10 ราย (20.8%) และมีเส้นฟอกเลือดติดเชื้อ 5 ราย (10.4%) สรุปผลการศึกษาถึงแม้ว่าอัตราการเปิดของเส้นฟอกเลือดที่ ใช้งานสำเร็จและการติดเชื้อที่สายสวนฟอกเลือดไม่แตกต่างกัน แต่ภาวะแทรกซ้อนอื่นที่จำเป็นต้องได้รับการผ่าตัดแบบเปิดในกลุ่ม Upper arm AVG มีมากกว่า ดังนั้นควรพิจารณาเลือกทำ BBTAVF เป็นทางเลือกแรกหากผู้ป่วยไม่มีข้อจำกัดด้านอายุขัยและไม่มี ความเสี่ยงสูงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนจากการคาสายสวนฟอกเลือดไว้ระยะเวลานานๆ

Author Biography

Sitthichai Vachirasrisirikul

กลุ่มงานศัลยกรรม โรงพยาบาลพุทธชินราช พิษณุโลก 65000

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-06-18