แบบประเมินปัญหาการดื่มสุรากับขนาดและมวลกล้ามเนื้อหัวใจห้องล่างซ้าย ของผู้ดื่มแอลกอฮอล์

แบบประเมินปัญหาการดื่มสุรากับขนาดและมวลกล้ามเนื้อหัวใจห้องล่างซ้าย ของผู้ดื่มแอลกอฮอล์

ผู้แต่ง

  • Prawpan Suwanakitch ภาควิชาเทคโนโลยีหัวใจและทรวงอก คณะสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร พิษณุโลก 65000
  • Chutiwan Jaichuen ภาควิชาเทคโนโลยีหัวใจและทรวงอก คณะสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร พิษณุโลก 65000
  • Kanjana Jittiporn ภาควิชาเทคโนโลยีหัวใจและทรวงอก คณะสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร พิษณุโลก 65000
  • Tomon Thongsri กลุ่มงานอายุรกรรม โรงพยาบาลพุทธชินราช พิษณุโลก 65000

คำสำคัญ:

แอลกอฮอล์, แบบประเมินปัญหาการดื่มสุรา, การตรวจหัวใจด้วยคลื่นเสียงสะท้อนความถี่สูง, เส้นผ่า ศูนย์กลางภายในหัวใจห้องล่างซ้าย, มวลกล้ามเนื้อหัวใจห้องล่างซ้าย

บทคัดย่อ

แบบประเมินปัญหาการดื่มสุรา (Alcohol Use Disorders Identification Test: AUDIT) เป็นเครื่องมือ
คัดกรองอย่างง่ายสำหรับค้นหาปัญหาการดื่มแอลกอฮอล์ในสถานพยาบาลปฐมภูมิ แต่ข้อมูลของการใช้แบบประเมิน
AUDIT ร่วมกับการตรวจวินิจฉัยโรคหัวใจในประเทศไทยยังมีน้อย การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อตรวจประเมินขนาด
และมวลกล้ามเนื้อหัวใจห้องล่างซ้ายจากการตรวจหัวใจด้วยคลื่นเสียงสะท้อนความถี่สูงในผู้ดื่มแอลกอฮอล์ตามระดับ
คะแนนของแบบประเมิน AUDIT สำรวจจากผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 20 ปีขึ้นไป อาศัยอยู่ในตำบลท่าโพธิ์ อำเภอเมือง
จังหวัดพิษณุโลก จำนวนกลุ่มตัวอย่าง 70 คน คำนวณโดยใช้สูตรประมาณสัดส่วน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการ
ซักประวัติข้อมูลทั่วไป ประเมินปัญหาการดื่มสุราโดยใช้แบบประเมิน AUDIT ตรวจร่างกาย และตรวจหัวใจด้วย
คลื่นเสียงสะท้อนความถี่สูง ผลการศึกษาพบว่ากลุ่มดื่มแอลกอฮอล์ที่ระดับคะแนน AUDIT ระดับ 2, 3 และ 4 มีค่า
เส้นผ่าศูนย์กลางภายในหัวใจห้องล่างซ้ายเฉลี่ย 47.93 ± 5.77, 49.37 ± 5.34 และ 49.16 ± 3.65 มิลลิเมตร
ตามลำดับ ซึ่งมากกว่ากลุ่มที่ไม่ดื่มแอลกอฮอล์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p = 0.007) และค่ามวลกล้ามเนื้อหัวใจ
ห้องล่างซ้ายเฉลี่ย 185.33 ± 42.71, 186.33 ± 37.42 และ 190.33 ± 30.30 กรัม ตามลำดับ มากกว่ากลุ่มที่ไม่ดื่ม
แอลกอฮอล์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p = 0.025) ส่วนค่าดัชนีมวลกล้ามเนื้อหัวใจห้องล่างซ้ายของกลุ่มที่
ดื่มแอลกอฮอล์ที่คะแนน AUDIT ระดับ 4 มีค่ามากกว่ากลุ่มคะแนน AUDIT ระดับ 1 และกลุ่มที่ไม่ดื่มแอลกอฮอล์
อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p = 0.007) ดังนั้นแบบประเมินปัญหาการดื่มสุรา มีประโยชน์ในการคัดกรองความเสี่ยง
ต่อการเกิดภาวะหัวใจห้องล่างซ้ายโตของผู้ดื่มแอลกอฮอล์ในหน่วยบริการระดับปฐมภูมิได้

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2017-11-29