ผลของการให้สุขศึกษาด้วยสื่อมัลติมีเดียแบบรายบุคคล ต่อความสามารถในการดูแลตนเองหลังได้รับวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19

ผู้แต่ง

  • เจตนา วงษาสูง มหาวิทยาลัยนานาชาติเอเชีย-แปซิฟิก
  • สุวดี ทะกัน อาจารย์คณะพยาบาลศาสตร์มิชชั่น มหาวิทยาลัยนานาชาติเอเชีย-แปซิฟิก
  • จันทนา หล่อตจะกูล อาจารย์คณะพยาบาลศาสตร์มิชชั่น มหาวิทยาลัยนานาชาติเอเชีย-แปซิฟิก
  • พิรุณพร ประเสริฐ อาจารย์คณะพยาบาลศาสตร์มิชชั่น มหาวิทยาลัยนานาชาติเอเชีย-แปซิฟิก

คำสำคัญ:

การให้สุขศึกษาด้วยสื่อมัลติมีเดียแบบรายบุคคล, ความสามารถในการดูแลตนเอง, การได้รับวัคซีนโควิด-19

บทคัดย่อ

บทนำ: การระบาดของโรคโควิด-19 เป็นการระบาดของไวรัส SARS-CoV-2 ทั่วโลก สำหรับประเทศไทยมีการระบาดมาตั้งแต่          ปี พ.ศ.2563 และมีการป้องกันการติดเชื้อและป้องกันความรุนแรงของโรคด้วยการฉีดวัคซีน

วิธีการศึกษา: เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการให้สุขศึกษาด้วยสื่อมัลติมีเดียแบบรายบุคคลต่อพฤติกรรมในการดูแลตนเองหลังได้รับวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ที่ได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 จำนวน 60 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 30 คนและกลุ่มควบคุม 30 คน คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจงตามคุณสมบัติ             ที่กำหนด เครื่องมือวิจัยประกอบด้วย สื่อมัลติมีเดีย แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล และแบบสอบถามความสามารถในการดูแลตนเองหลังได้รับวัคซีนโควิด-19 ตรวจสอบความตรงตามเนื้อหามีดัชนีความสอดคล้อง (IOC) เท่ากับ 0.67-1.00 และทดสอบ                ความเที่ยงได้ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาคเท่ากับ 0.81 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนา paired sample t-test และ Independent sample t-test

ผลการศึกษา: ความสามารถในการดูแลตนเองหลังได้รับวัคซีนโควิด-19 ของกลุ่มทดลองหลังได้รับการให้สุขศึกษาด้วยสื่อมัลติมีเดียแบบรายบุคคลสูงกว่าก่อนทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (t=13.07, p<.05) และความสามารถในการดูแลตนเองหลังได้รับวัคซีนโควิด-19 ของกลุ่มทดลองสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (t=9.03, p<.05)

สรุป: การให้สุขศึกษาด้วยสื่อมัลติมีเดียแบบรายบุคคลสามารถเพิ่มความสามารถในการดูแลตนเองของผู้ที่ได้รับวัคซีนโควิด-19 สามารถใช้เป็นแนวทางในการให้การดูแลบุคคลหลังได้รับวัคซีนโควิด-19 ได้

References

Abel, B., David, G., Anik, I., and Suraiya, J, B.A. Literature Review of Economy of

COVID-19. (Internet). 2020. (Cited 2021 September 10) Available from : https://ftp.iza.org/dp13411.pdf

สุรชัย โชคครรชิตไชย. การระบาดของไวรัสโคโรนา(โควิด-19) ในประเทศไทย. วารสารสมาคมเวชศาสตร์ป้องกันแห่งประเทศไทย 2563; 10(1): ฎ.

ณัฎฐวรรณ คำแสน. ความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมในการป้องกันตนเองจากการติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ของประชาชนในเขตอำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี. วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี 2564; 4(1): 33-48.

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019.(อินเตอร์เน็ต). 2564.

บวรลักษณ์ ขจรฤทธิ์ และบุฎกา ปัณฑุรอัมพร. ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ของประชากรในจังหวัดสมุทรปราการ 2564. สืบค้นเมื่อ 10 กันยายน 2564 เข้าถึงจากhttp://mmm.ru.ac.th/MMM/IS/sun18/6214070058.pdf

พรรษ โนนจุ้ย. การให้สุขศึกษา. ศรีนครินทร์เวชสาร 2564;36(2): 246-251.

Polit DF, Hungler BP. Nursing research principles and methods. Philadelphia:

J.B. Lippincott; 1999

Abraham C, Sheeran P. The Health Belief Model. In: Coner M, Norman, editor. Predicting and Changing Health Behavior Research and Practice with Social Cognition Models. 3th ed. New York:McGraw-Hill Publisher; 2015. p. 30-69.

อุมา มีโพธิ์สม. ประสิทธิผลของการให้สุขศึกษาแบบรายเดี่ยวต่อการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานที่มารรับบริการในโรงพยาบาลบางไทร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. มหาราชนครศรีธรรมการเวชสาร2561; 1(2): 13-22.

พนัชญา ขันติจิตร,ไวยพร พรมวงค์, ชนุกร แก้วมณีและอภิรดี เจริญนุกูล. แบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพในการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ของประชาชนในจังหวัดอุบลราชธานี. วารสารวิทยาศาสตร์สุขภาพ วิทยาลับพยาบาลบรมราชชนนี สรรพสิทธิประสงค์2564; 5(2): 39-52.

เพ็ญศรี ผาสุก. ความเชื่อด้านสุขภาพและพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้สูงอายุ ตำบลหนองแค อำเภอราศีไศล จังหวัดศรีสะเกษ. วารสารวิชาการกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ2563; 16(1): 44-55.

ฐิตินันท์ กุภาพันธ์,ธีราพร ชูสกุล, จันทร์ทิพย์ กาญจนศิลป์และสายทิพย์ สุทธิรักษา.การเพิ่มความร่วมมือในการใช้ยาสำหรับผู้ป่วยโรคซึมเศร้าโดยการบริบาลทางเภสัชกรรมร่วมกันการใช้สื่อมัลติมีเดีย. วารสารเภสัชศาสตร์อีสาน2559; 12(2): 33-43.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

31-12-2022