ข้อมูลสำหรับผู้แต่ง

Singburi Hospital Journal ยินดีรับเรื่องผลงานทางวิชาการ ที่เป็นความรู้ด้านการแพทย์ และวิชาที่มีความสัมพันธ์กับวิชาแพทย์และการสาธารณสุข เพื่อลงพิมพ์โดยสนับสนุนให้บทความเป็นภาษาไทยแต่มีบทคัดย่อเป็นภาษาอังกฤษ กำหนดออกทุก 4 เดือน ปีละ 3 ฉบับ

ฉบับที่ 1 พฤษภาคม – สิงหาคม (ต้องส่งต้นฉบับภายในเดือนพฤษภาคม เล่มออกภายใน 31 สิงหาคม)

ฉบับที่ 2 กันยายน – ธันวาคม (ต้องส่งต้นฉบับภายในเดือนกันยายน เล่มออกภายใน 31 ธันวาคม)

ฉบับที่ 3 มกราคม – เมษายน (ต้องส่งต้นฉบับภายในเดือนมกราคม เล่มออกภายใน 30 เมษายน)

การจัดเตรียมต้นฉบับ

  1. พิมพ์ด้วยโปรแกรม Microsoft Word 2010 ขึ้นไป พิมพ์หน้าเดียว 1 คอลัมน์ บนกระดาษขนาด A4 (210 x 279 มม.) เว้นระยะห่างจากขอบกระดาษด้านบน และซ้ายมือ 3 ซม. และด้านล่างและขวามือ 2.5 ซม. ใส่เลขหน้าตามลำดับที่มุมขวาบน รูปแบบอักษร TH Sarabun PSK ตัวอักษรขนาด 16 นิ้ว หัวข้อหลักใช้ตัวหนา ส่งบทความเป็นไฟล์ Word และ PDF
  2. รูปแบบการเขียนแต่ละเนื้อหามีรายละเอียดแนวทางการปฏิบัติดังนี้

หน้าแรก ประกอบด้วย

  • ชื่อเรื่อง ควรสั้นกะทัดรัดและสื่อถึงเป้าหมายหลักของบทความ เขียนทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ
  • ชื่อผู้นิพนธ์ ชื่อ-สกุล เขียนทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ พร้อมวุฒิการศึกษา และหน่วยงาน/สถานที่ทำงานของผู้นิพนธ์
  • บทคัดย่อ (Abstract) ประกอบด้วย บทนำ (Introduction) วิธีการศึกษา (Methods) ผลการศึกษา (Results) สรุป (Conclusion) เขียนแยกสองภาษาในภาษาไทยและภาษาอังกฤษ เริ่มบทคัดย่อภาษาไทยก่อนบทคัดย่อภาษาอังกฤษ โดยบทคัดย่อภาษาอังกฤษไม่ควรเกิน 250 คำ
  • คำสำคัญ (Keyword) อย่างน้อย 3-5 คำ เรียงตาม Alphabet (โดยภาษาไทยเรียงตามภาษาอังกฤษ)

ส่วนเนื้อหา (รูปแบบตามประเภทบทความ)

บทความวิชาการ (Academic Article) เป็นรายงานผลการศึกษา ค้นคว้า วิจัย ควรประกอบด้วยลำดับเนื้อเรื่องดังต่อไปนี้ ชื่อเรื่อง ชื่อนิพนธ์ บทคัดย่อ ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ คำสำคัญ บทนำ วิธีการศึกษา ผลการศึกษา วิจารณ์ ข้อยุติ และเอกสารอ้างอิงไม่ควรเกิน 10 ปี ความยาวของเรื่องไม่ควรเกิน 10-12 หน้าพิมพ์

บทความวิจัย (Research Article) เป็นบทความที่รวบรวมความรู้เรื่องหนึ่งจากวารสารหรือหนังสือต่าง ๆ ทั้งในและต่างประเทศ ประกอบด้วย บทนำ วิธีการสืบค้นข้อมูล เนื้อหาที่ทบทวน บทวิจารณ์ และเอกสารอ้างอิงความยาวของเรื่องไม่ควรเกิน 10 หน้าพิมพ์

กรณีศึกษา (Case study) เป็นการรายงานการศึกษา วิเคราะห์ข้อมูลของผู้ป่วยเป็นรายบุคคลหรือรายกลุ่ม ประกอบด้วย บทนำ กรณีศึกษา ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล สรุปกรณีศึกษา วิจารณ์และเสนอแนะ สรุปและเอกสารอ้างอิง

รายงานผู้ป่วย (Case Report) เป็นรายงานผู้ป่วยที่ไม่ธรรมดา หรือที่เป็นโรคหรือกลุ่มอาการโรคใหม่ที่ไม่เคยรายงานมาก่อนหรือพบไม่บ่อยและต้องมีหลักฐานชัดเจนอย่างครบถ้วน บางครั้งรวมบันทึกเวชกรรม (Clinical Note) ซึ่งเป็นบทความรายงานผู้ป่วยที่มีลักษณ์เวชกรรม (Clinical Feature) และ/หรือการดำเนินโรค (Clinical Course) ที่ไม่ตรงแบบ ที่พบไม่บ่อย ประกอบด้วย บทนำพรรณนาผู้ป่วย (Case Descreption) วิจารณ์หรือข้อสังเกต อภิปราย สรุปผลและเอกสารอ้างอิง

เมื่อบรรณาธิการได้รับต้นฉบับไว้ จะแจ้งตอบกลับให้ผู้นิพนธ์ทราบว่า “แก้ไขก่อนพิจารณาตีพิมพ์” “ตีพิมพ์โดยไม่แก้ไข” หรือ “ไม่ได้รับพิจารณาตีพิมพ์” ตามขั้นตอนการจัดทำวารสาร บทความที่ได้รับการพิจารณาตีพิมพ์ กองบรรณาธิการจะมอบเล่มวารสารให้ผู้นิพนธ์ จำนวน 2 เล่ม และเผยแพร่บทความผ่านระบบวารสารออนไลน์ โดยมีค่าธรรมเนียมการตีพิมพ์ ดังนี้

ค่าธรรมเนียมการเผยแพร่

• ระบบปกติ
- ผู้แต่ง   บุคลากรภายนอก เก็บค่าธรรมเนียม 3,000 บาท/คน
              บุคลากรภายใน เก็บค่าธรรมเนียม 2,000 บาท/คน
- เล่มวารสาร (กรณีต้องการเล่มเพิ่ม) เล่มละ 400 บาท (รวมจัดส่ง)
• ระบบ Fast tack
- ผู้แต่ง   บุคลากรภายนอก เก็บค่าธรรมเนียม 6,000 บาท/คน
              บุคลากรภายใน เก็บค่าธรรมเนียม 4,000 บาท/คน
- เล่มวารสาร (กรณีต้องการเล่มเพิ่ม) เล่มละ 400 บาท (รวมจัดส่ง)
โดยระบบ Fast tack ผู้แต่งจะต้องส่งบทความก่อนตีพิมพ์อย่างน้อย 1 เดือน และจะได้รับการตีพิมพ์บทความในวารสารฉบับปัจจุบันที่จะออก        

การแก้ไขบทความเพื่อส่งตีพิมพ์

ผู้นิพนธ์แก้ไขและอธิบายข้อสงสัยตามที่ผู้เชี่ยวชาญและกองบรรณาธิการให้ข้อเสนอแนะให้ครบทุกประเด็น และระบุหรือเน้นข้อความ (Highlight) ว่าได้แก้ไขประเด็นใดบ้างรวมทั้งอธิบายประเด็นที่ไม่ได้แก้ไข ซึ่งกำหนดเวลาการแก้ไขบทความภายใน 2 สัปดาห์