https://he01.tci-thaijo.org/index.php/shj/issue/feed Singburi Hospital Journal 2024-08-21T08:51:20+07:00 บรรณาธิการวารสารโรงพยาบาลสิงห์บุรี singhosp-journal@hotmail.com Open Journal Systems <p>Singburi Hospital Journal มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่และเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนความรู้ ผลงานวิจัย บทความวิชาการ กรณีศึกษา และอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการรักษา การพยาบาลและการส่งเสริมสุขภาพ ในการนำไปสู่การสร้างองค์ความรู้ใหม่ ที่เป็นประโยชน์แก่สหสาขาวิชาชีพที่เกี่ยวข้อง ทั้งภายในและภายนอกโรงพยาบาล เป็นวารสารราย 4 เดือน ปีละ 3 ฉบับ ดังนี้</p> <p> ฉบับที่ 1 พฤษภาคม – สิงหาคม <br /> ฉบับที่ 2 กันยายน – ธันวาคม <br /> ฉบับที่ 3 มกราคม – เมษายน</p> https://he01.tci-thaijo.org/index.php/shj/article/view/265493 การพยาบาลผู้ป่วยมะเร็งโพรงจมูกระยะสุดท้ายที่ได้รับการดูแลแบบประคับประคอง: กรณีศึกษา 2023-10-26T09:37:55+07:00 สุนทรี เรืองสวัสดิ์ sunthree321@gmail.com ศิริเนตร สุขดี Singhosp-journal@hotmail.com <p>การศึกษาผู้ป่วยมะเร็งโพรงจมูกระยะสุดท้ายได้รับการดูแลแบบประคับประคอง 1 ราย ที่เข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลสิงห์บุรี ด้วยอาการสำคัญคือ มีเลือดออกมากจากแผลเรื้อรังบริเวณก้อนที่คอด้านซ้ายได้รับการวินิจฉัยเป็นมะเร็งโพรงจมูกระยะที่ 4 แบ่งระยะโดยระบบ Kadish คือมะเร็งมีการกระจายไปยังอวัยวะไกล เป็นระยะสุดท้ายของการดำเนินโรค ซึ่งไม่มีวันรักษาให้หายได้ โดยมากจะมีชีวิตอยู่น้อยกว่า 1 ปี การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการดูแลรักษาแบบประคับประคองของผู้ป่วยมะเร็งโพรงจมูกระยะสุดท้าย โดยมีเป้าหมายให้ผู้ป่วยลดอาการปวดและอาการรบกวนอื่นๆ ยอมรับภาวะเจ็บป่วยในระยะการดำเนินโรค มีกำลังใจในการใช้ชีวิต ได้ทำในสิ่งที่ต้องการ</p> <p>ผลการศึกษา ผู้ป่วยชายไทย อายุ 51 ปี มีประวัติโรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง 20 ปี และ3 ปีก่อนตรวจพบมะเร็งที่โพรงจมูกรักษาโดยการฉายแสง 7 ครั้งหยุดการรักษาเองเลือกการรักษาแพทย์ทางเลือกสมุนไพรมาโรงพยาบาลด้วย มีแผลเรื้อรังที่คอข้างซ้ายมีเลือดออกมาก แรกรับที่อุบัติเหตุและฉุกเฉิน E4V5M6 แผลที่คอมีเลือดออก ความดันโลหิต 93/57 มิลลิเมตรปรอท ชีพจร 110 ครั้งต่อนาที หายใจเหนื่อยอัตราการหายใจ 24 ครั้ง/นาที ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นมะเร็งโพรงจมูกระยะสุดท้ายร่วมกับภาวะช็อก รับเข้านอนพักรักษาในโรงพยาบาล ผู้ป่วยซึมลงอ่อนเพลีย รับประทานอาหารไม่ได้ ปรึกษา ทีมการดูแลประคับประคองร่วมกับผู้ป่วยและญาติถึงการวางแผนการรักษาล่วงหน้า สามารถตัดสินใจเลือกการรักษาในช่วงสุดท้ายของชีวิตด้วยตนเองร่วมกับญาติ ไม่ต้องการ การใส่ท่อช่วยหายใจและการช่วยฟื้นคืนชีพ</p> <p>ผู้ป่วยมะเร็งโพรงจมูกระยะสุดท้ายที่ได้รับการดูแลแบบประคับประคอง พยาบาลมีบทบาทสำคัญในการดูแลให้การพยาบาลผู้ป่วย จึงต้องมีความรู้เกี่ยวกับตัวโรคพยาธิสภาพ การรักษาและการจัดการ อาการรบกวน ให้การพยาบาลแบบองค์รวมโดยการมีส่วนร่วมของผู้ป่วยและญาติในการวางแผนการดูแลต่อเนื่องจากโรงพยาบาลไปบ้านและชุมชนทำให้ผู้ป่วยและครอบครัวมีคุณภาพชีวิตที่ดีตามสภาวะการเจ็บป่วยส่งผลให้บรรลุเป้าหมายของการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายแบบประคับประคองคือ การตายดี (good death) ซึ่งสามารถนำผลการศึกษามาเป็นแนวทางการดูแลผู้ป่วยรายอื่นลำดับต่อไป</p> 2024-05-21T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 โรงพยาบาลสิงห์บุรี https://he01.tci-thaijo.org/index.php/shj/article/view/268647 การกระตุ้นการปิดปลายรากฟันในฟันกรามน้อยล่างขวาซี่ที่สองที่ไม่มีชีวิต ด้วยแคลเซียมไฮดรอกไซด์และการอุดคลองรากฟันโดยใช้ไบโอเซรามิก ซีลเลอร์ 2024-04-18T09:01:51+07:00 พิริยะ สุภพานิชย์ piriya.supapanit@gmail.com <p>ฟันแท้ปลายรากฟันเปิดที่ไม่มีชีวิตมีสาเหตุประการหนึ่งมาจากการแตกหักของปุ่มนูนบนด้านบดเคี้ยวของตัวฟันทำให้ต้องได้รับการรักษาคลองรากฟัน ซึ่งมีความท้าทายในการรักษาคลองรากฟันให้มีคุณภาพ เนื่องจากฟันไม่มีจุดหยุดบริเวณปลายรากฟัน และมีผนังคลองรากฟันบาง จึงมีวิธีการรักษามากมายในการกระตุ้นให้เกิดการสร้างเนื้อเยื่อแข็งบริเวณปลายรากฟันด้วยวัสดุชนิดต่าง ๆ ก่อนที่จะทำการอุดคลองรากฟันด้วยวิธีการที่เหมาะสมต่อไป วิธีการรักษาหนึ่งที่ได้รับการยอมรับคือ การกระตุ้นการปิดปลายรากฟันด้วยแคลเซียมไฮดรอกไซด์ ซึ่งเป็นวิธีที่มีอัตราความสำเร็จสูงและประหยัดค่าใช้จ่าย กรณีศึกษาผู้ป่วยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอการกระตุ้นการปิดปลายรากฟัน ด้วยแคลเซียมไฮดรอกไซด์ในฟันกรามน้อยล่างขวาซี่ที่สองที่ไม่มีชีวิตและการอุดคลองรากฟันโดยใช้ไบโอเซรามิก ซีลเลอร์</p> <p>ผู้ป่วยหญิงไทยอายุ 12 ปี ฟันกรามน้อยล่างขวาซี่ที่สอง (ฟันซี่ 45) พบปุ่มนูนด้านบดเคี้ยวสึกและมีรูเปิดทางหนองไหลบริเวณปลายรากฟัน ภาพรังสีพบปลายรากฟันเปิดและมีรอยโรคบริเวณปลายรากฟัน ได้รับการวินิจฉัยว่า ฟันไม่มีชีวิตร่วมกับเนื้อเยื่อรอบปลายรากฟันอักเสบเรื้อรังแบบมีหนอง ให้การรักษาโดยการกระตุ้นปลายรากฟันให้ปิดด้วยแคลเซียมไฮดรอกไซด์ ระยะเวลา 4 เดือน ก่อนอุดปิดคลองรากฟันด้วยกัตทาเพอร์ชาและไบโอเซรามิกซีลเลอร์ ติดตามผลการรักษา 3 เดือนพบว่าฟันกรามน้อยล่างขวาซี่ที่สอง ไม่มีอาการใด ๆ เหงือกและอวัยวะปริทันต์อยูในเกณฑ์ปกติ ภาพรังสีรอบปลายรากฟันทึบรังสีขึ้นชัดเจน</p> <p>การรักษาฟันแท้ปลายรากฟันเปิดที่ไม่มีชีวิตจำเป็นต้องได้รับการประเมินการเจริญของรากฟันที่ถูกต้อง เพื่อจะสามารถวางแผนการรักษาฟันได้อย่างเหมาะสม รวมถึงสามารถพยากรณ์โรคและอัตราความสำเร็จได้อย่างแม่นยำ ทั้งนี้เนื่องจากผลลัพธ์ในการรักษาที่ดีส่วนหนึ่งต้องได้รับความร่วมมือจากทั้งตัวผู้ป่วยและผู้ปกครอง นอกจากนี้ความรู้ ความเข้าใจ และทักษะในการรักษาของทันตแพทย์ก็เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่นำไปสู่ความสำเร็จของการรักษาได้</p> 2024-06-10T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 โรงพยาบาลสิงห์บุรี https://he01.tci-thaijo.org/index.php/shj/article/view/269179 การพยาบาลผู้ป่วยโรคบุลลัสเพมฟิกอยด์: กรณีศึกษา 2024-03-30T10:18:18+07:00 อลงกรณ์ สุขเรืองกูล alongkorn_s@rmutt.ac.th อาณัติ วรรณะ arnut1983@gmail.com <p>โรคบุลลัสเพมฟิกอยด์ (bullous pemphigoid) เป็นโรคถุงน้ำพองเรื้อรังที่เกิดความผิดปกติของภูมิคุ้มกันส่วนใหญ่พบในผู้สูงอายุ การดำเนินของโรคมีลักษณะเป็นๆ หายๆ ทำให้ผู้ป่วยต้องรักษาต่อเนื่องเป็นเวลานาน โรคนี้จึงส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย วัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการพยาบาล และการดูแลผู้ป่วยโรคบุลลัสเพมฟิกอยด์ รูปแบบการศึกษาเป็นกรณีศึกษาผู้ป่วยโรคบุลลัสเพมฟิกอยด์ที่มารับการตรวจที่แผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่ ระหว่างวันที่ 1-31 มกราคม 2567 และนัดติดตามอาการต่อเนื่อง 1 ครั้ง รวบรวมข้อมูลจากเวชระเบียนผู้ป่วย วิเคราะห์ข้อมูล กำหนดข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล วางแผน ปฏิบัติการพยาบาล และประเมินผลลัพธ์ทางการพยาบาลทุกระยะของการดูแล</p> <p>ผลการศึกษาพบว่า ผู้ป่วยหญิงไทย อายุ 62 ปี มารับการตรวจด้วยอาการมีถุงน้ำพองใสกระจายทั่วตัว 3 สัปดาห์ แพทย์วินิจฉัย เป็นโรคบุลลัสเพมฟิกอยด์ รักษาโดยใช้ยาคอร์ติโคสเตียรอยด์ชนิดรับประทาน ร่วมกับให้ยาบรรเทาอาการไม่สุขสบายจากพยาธิสภาพ ของโรค และได้รับการดูแลตามกระบวนการพยาบาล สามารถจำหน่ายผู้ป่วยกลับบ้านได้</p> <p>ดังนั้นพยาบาลวิชาชีพแผนกผู้ป่วยนอกจึงต้องมีความรู้และทักษะในการประเมินสภาพ และให้การพยาบาลผู้ป่วยโรคบุลลัสเพมฟิกอยด์ รวมถึงประเมินภาวะแทรกซ้อน และส่งเสริมให้ผู้ป่วยสามารถใช้ชีวิตอยู่ร่วมกับโรคได้อย่างปกติ</p> 2024-06-10T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 โรงพยาบาลสิงห์บุรี https://he01.tci-thaijo.org/index.php/shj/article/view/271586 การผ่าตัดแก้ไขภาวะเจริญเกินของขากรรไกรล่างครึ่งส่วน: รายงานผู้ป่วย 2024-08-21T08:51:20+07:00 ชลวิทย์ วงศ์ไพโรจน์พานิช Chonlawit_wongpirodpanit@hotmail.com <p>ภาวะเจริญเกินของขากรรไกรล่างครึ่งส่วน (Hemimandibular Hyperplasia) คือการพัฒนามากเกินปกติของกระดูกครึ่งขากรรไกรล่าง โดยไม่ข้ามแกนกลางของร่างกาย ความผิดปกตินี้ทำให้เกิดลักษณะใบหน้าอสมมาตร (Facial.asymmetry).คือ ภาวะความไม่สมดุลระหว่างโครงสร้างใบหน้าและฟันด้านซ้ายและขวา ทำให้ใบหน้าและขากรรไกรเบี้ยวไปข้างหนึ่ง ส่งผลให้เกิดปัญหาในการบดเคี้ยวและมีผลต่อความสวยงาม การให้การรักษาและแก้ไขจึงต้องประเมินลักษณะโครงกระดูกขากรรไกรและใบหน้าในทั้ง 3 มิติ ซึ่งในผู้ป่วยที่มีกระดูกขากรรไกรและใบหน้าเจริญเติบโตเต็มที่แล้ว การผ่าตัดขากรรไกรร่วมกับการจัดฟันและการผ่าตัดแก้ไขกรอบโครงกระดูกขากรรไกร จะสามารถแก้ไขความผิดปกติ ความไม่สมมาตรของใบหน้าและขากรรไกรได้ ทำให้ผู้ป่วยมีการสบฟันเพื่อการบดเคี้ยวอาหารที่ดี มีความสวยงามของใบหน้า และเป็นที่พึงพอใจของผู้ป่วย</p> <p>รายงานผู้ป่วยฉบับนี้จะกล่าวถึงผู้ป่วยเพศหญิง อายุ 18 ปี ซึ่งมีขากรรไกรล่างและคางเบี้ยวไปทางด้านซ้ายและฟันล่างเบี้ยวไปทางซ้ายและฟันล่างซ้ายสบคร่อมฟันบนซ้าย (Crossbite).ซึ่งได้รับการจัดฟันก่อนผ่าตัด 2.ปี และได้วางแผนการรักษาด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์สามมิติ และผ่าตัดขากรรไกร ด้วยเทคนิค Le Fort I osteotomy และ Bilateral Sagittal Split Osteotomy with Mandibular Recontouring ซึ่งได้ผลการรักษาเป็นที่น่าพอใจ โดยรายงานฉบับนี้จะกล่าวถึงการตรวจประเมินและวางแผนการให้การรักษารวมถึงภาวะแทรกซ้อนหลังการผ่าตัดในส่วนของงานศัลยกรรมขากรรไกรและใบหน้าเพื่อแก้ไขลักษณะใบหน้าที่อสมมาตรจากภาวะเจริญเกินของขากรรไกรล่างครึ่งส่วน</p> 2024-08-27T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 โรงพยาบาลสิงห์บุรี https://he01.tci-thaijo.org/index.php/shj/article/view/267942 ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมการคัดแยกขยะอันตราย ในครัวเรือนของประชาชนในตำบลนาเมืองเพชร อำเภอสิเกา จังหวัดตรัง 2024-02-08T00:21:18+07:00 ธัชชัย สุขยัง thatchaisukyang@gmail.com รัฐพล ศิลปรัศมี ratthapol.sai@vru.ac.th ทัศพร ชูศักดิ์ thassaporn@vru.ac.th <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาพฤติกรรมการคัดแยกขยะอันตรายในครัวเรือนของประชาชน และศึกษาความสัมพันธ์ปัจจัยส่วนบุคคลและปัจจัยตามแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพกับพฤติกรรมการคัดแยกขยะอันตรายในครัวเรือนของประชาชน ในตำบลนาเมืองเพชร อำเภอสิเกา จังหวัดตรัง เป็นการวิจัยเชิงวิเคราะห์แบบภาคตัดขวาง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถาม ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.817 กลุ่มตัวอย่าง คือ ตัวแทนครัวเรือนที่อาศัยอยู่ในเขตเทศบาลตำบลนาเมืองเพชร อำเภอสิเกา จังหวัดตรัง จำนวน 315 คน สถิติที่ใช้วิจัยคือสถิติเชิงพรรณนา สถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ การทดสอบไคสแควร์ และสถิติการทดสอบค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า.ปัจจัยส่วนบุคคล รายได้เฉลี่ยของครัวเรือนต่อเดือน มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการคัดแยกขยะอันตรายในครัวเรือน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ <em>p</em>.&lt;.0.01 ส่วนปัจจัยตามแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพที่มีความมีความสัมพันธ์ กับพฤติกรรมการคัดแยกขยะอันตรายในครัวเรือน ได้แก่ การรับรู้โอกาสเสี่ยงจากขยะอันตรายในครัวเรือนมีความสัมพันธ์ระดับปานกลาง r = 0.325, <em>p</em> &lt; 0.001 การรับรู้ความรุนแรงของขยะอันตรายในครัวเรือนมีความสัมพันธ์ระดับต่ำ r = 0.117, <em>p</em> &lt; 0.05 การรับรู้ถึงประโยชน์ต่อการจัดการขยะอันตรายในครัวเรือนมีความสัมพันธ์ระดับปานกลาง r = 0.374, <em>p </em>&lt; 0.001 การรับรู้สิ่งชักนำสู่การจัดการขยะอันตรายในครัวเรือนมีความสัมพันธ์ระดับปานกลาง r = 0.456, p &lt; 0.001 และการรับรู้ความสามารถของตนเองต่อการจัดการขยะอันตรายในครัวเรือนมีความสัมพันธ์ระดับปานกลาง r = 0.523, <em>p</em> &lt; 0.001</p> 2024-05-07T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 โรงพยาบาลสิงห์บุรี https://he01.tci-thaijo.org/index.php/shj/article/view/267902 ความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมการป้องกันโรคปอดอักเสบของผู้ปกครอง เด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี อำเภอเมือง จังหวัดยะลา 2024-01-21T23:05:31+07:00 อิบตีซาน เจ๊ะอุบง ibteesan.che@vru.ac.th พรรณี บัญชรหัตถกิจ pannee.ban@vru.ac.th ทัศพร ชูศักดิ์ thassaporn@vru.ac.th วัชราภรณ์ วงศ์สกุลกาญจน์ watcharaporn@vru.ac.th <p>โรคปอดอักเสบเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับหนึ่งของเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี หากผู้ปกครองมีความรอบรู้ด้านสุขภาพจะสามารถลดการเกิดโรคปอดอักเสบได้ การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงวิเคราะห์แบบภาคตัดขวาง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมป้องกันโรคปอดอักเสบของผู้ปกครอง และความสัมพันธ์ระหว่างความรอบรู้ด้านสุขภาพกับพฤติกรรมการป้องกันโรคปอดอักเสบของผู้ปกครอง กลุ่มตัวอย่าง คือผู้ปกครองของเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี ในเขตพื้นที่อำเภอเมือง จังหวัดยะลา จำนวน 173 คน โดยการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาและสถิติสหสัมพันธ์เพียร์สัน</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีความรอบรู้ด้านสุขภาพเกี่ยวกับพฤติกรรมการป้องกันโรคปอดอักเสบอยู่ในระดับปานกลาง (M=1.98, S.D.=.76) มีพฤติกรรมการป้องกันโรคปอดอักเสบอยู่ในระดับปานกลาง (M=2.00, S.D.=.36) และความรอบรู้ด้านสุขภาพ มีความสัมพันธ์ระดับปานกลางกับพฤติกรรมการป้องกันโรคปอดอักเสบของผู้ปกครองเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี (r=.639, p&lt;.001)</p> <p>บุคลากรทางการแพทย์หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรนำผลวิจัยไปใช้เป็นแนวทางในการพัฒนากิจกรรมเพื่อส่งเสริมความรอบรู้ ด้านสุขภาพในการป้องกันโรคปอดอักเสบ เน้นให้ความรู้เกี่ยวกับสาเหตุและการแพร่กระจายเชื้อของโรคปอดอักเสบ และส่งเสริมการเลี้ยงบุตรด้วยนมแม่ของมารดาวัยทำงาน</p> 2024-05-07T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 โรงพยาบาลสิงห์บุรี https://he01.tci-thaijo.org/index.php/shj/article/view/269087 ลักษณะทางคลินิกของกลุ่มอาการสูงอายุในผู้สูงอายุที่เป็นเบาหวาน ที่มารับบริการคลินิกผู้สูงอายุ โรงพยาบาลสระบุรี 2024-02-27T09:44:55+07:00 วรุฒ ทองอยู่ turn.wt@gmail.com <p>ปัจจุบันประเทศไทยเป็นสังคมสูงอายุ ผู้สูงอายุส่วนใหญ่มีโรคประจำตัวเรื้อรังมากกว่าหนึ่งโรค.ซึ่งโรคเบาหวานเป็นโรคที่พบมากที่สุด ในผู้สูงอายุ การประเมินผู้สูงอายุแบบองค์รวมนอกจากตรวจรักษาโรคประจำตัวเรื้อรังแล้ว ยังต้องหากลุ่มอาการสูงอายุอีกด้วย จึงเป็นที่มาของการศึกษาลักษณะทางคลินิกของกลุ่มอาการสูงอายุในผู้สูงอายุที่เป็นเบาหวาน.ที่มารับบริการคลินิกสูงอายุ โรงพยาบาลสระบุรีใช้วิธีการศึกษาข้อมูลย้อนหลัง โดยรวบรวมผู้ป่วยที่มาใช้บริการคลินิกสูงอายุ โรงพยาบาลสระบุรี ระหว่างวันที่ 1 มกราคม.-.31 ธันวาคม 2565 เพื่อวิเคราะห์หาความชุกและลักษณะของกลุ่มอาการสูงอายุ ได้แก่ การใช้ยาหลายขนาน การหกล้ม ภาวะบกพร่องทางสติปัญญา ภาวะซึมเศร้า ภาวะทุพโภชนาการ และภาวะกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ และหาความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มอาการสูงอายุกับผู้สูงอายุที่ตามสถานการณ์ป่วย เป็นโรคเบาหวาน โดยใช้สถิติ Chi-square test</p> <p>ผลการศึกษา<strong>.</strong>จากผู้เข้าร่วมการศึกษาทั้งหมด.237.คน อายุเฉลี่ย.74.26±6.92.ปี.ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง.73.00%.มีผู้ที่เป็นโรคเบาหวาน 36.63% ความชุกของการใช้ยาหลายขนานในกลุ่มที่เป็นเบาหวาน 78.00% สูงกว่าอย่างมีนัยสำคัญเมื่อเทียบกับกลุ่มไม่เป็นเบาหวาน 31.40% (<em>p</em>=0.000) ความชุกของการหกล้มในกลุ่มที่เป็นเบาหวาน 50.00% สูงกว่าเมื่อเทียบกับกลุ่มไม่เป็นเบาหวาน 36.50% (<em>p</em>=0.038) ความชุกของภาวะกลั้นปัสสาวะไม่ได้ในกลุ่มที่เป็นเบาหวาน 38.00%.สูงกว่าเมื่อเทียบกับกลุ่มไม่เป็นเบาหวาน.16.80% (<em>p</em>=0.000) และจำนวนของกลุ่มอาการสูงอายุในกลุ่มที่เป็นโรคเบาหวานสูงกว่ากลุ่มที่ไม่เป็นโรคเบาหวานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (<em>p</em>=0.004)</p> <p>ผลสรุป ผู้สูงอายุที่เป็นเบาหวานมีจำนวนกลุ่มอาการสูงอายุมากกว่ากลุ่มที่ไม่เป็นโรคเบาหวาน โดยเฉพาะการรับประทานยาหลายขนาน การหกล้ม และภาวะกลั้นปัสสาวะไม่อยู่</p> 2024-05-28T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 โรงพยาบาลสิงห์บุรี https://he01.tci-thaijo.org/index.php/shj/article/view/267677 ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุ อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี 2024-02-04T18:26:27+07:00 นราวิชญ์ บุญเทียน narawit.boon@vru.ac.th ทัศพร ชูศักดิ์ tsp2548@hotmail.com พรรณี บัญชรหัตถกิจ singhosp-journal@hotmail.com <p>การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวางโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุ อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้สูงอายุ อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี จำนวน 322 คน ที่ได้จากการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามที่มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.8 เก็บข้อมูลระหว่างเดือนมีนาคม 2566 ถึงสิงหาคม 2566 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้คอมพิวเตอร์สำเร็จรูป สถิติที่ใช้ ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน</p> <p>ผลการศึกษา พบว่า ผู้สูงอายุอำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี มีความรอบรู้ด้านสุขภาพ อยู่ในระดับมีปฏิสัมพันธ์ ร้อยละ 80.1 อยู่ในระดับวิจารณญาณ ร้อยละ 17.4.และระดับพื้นฐาน ร้อยละ 2.5 ได้รับแรงสนับสนุนทางสังคม ระดับปานกลาง ร้อยละ 78.6.ระดับดี ร้อยละ 18.9 และระดับไม่ดี ร้อยละ 2.5 และมีพฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพ ระดับปานกลาง ร้อยละ 81.4 ระดับดี ร้อยละ 18.6 ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุ อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี ได้แก่ แรงสนับสนุนทางสังคม และความรอบรู้ด้านสุขภาพ ซึ่งมีค่าสัมประสิทธิ์เท่ากับ 0.814 และ 0.173 ตามลำดับ ซึ่งร่วมกันทำนายได้ ร้อยละ 46.6</p> <p>จากผลการศึกษานี้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรส่งเสริมแรงสนับสนุนทางสังคมและความรอบรู้ด้านสุขภาพของผู้สูงอายุ เพื่อส่งเสริมให้ผู้สูงอายุมีพฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพอย่างต่อเนื่องและมีสุขภาพที่ดีต่อไป</p> 2024-05-30T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 โรงพยาบาลสิงห์บุรี https://he01.tci-thaijo.org/index.php/shj/article/view/268290 การพัฒนารูปแบบไมโครอิมัลชั่นของสารสกัดเมล็ดมะรุมที่มีฤทธิ์การต้านอนุมูลอิสระ 2024-05-13T16:33:57+07:00 รัฐพล ศิลปรัศมี ratthapol@vru.ac.th จันทรรัตน์ จาริกสกุลชัย juntarat.jaricksakulchai@gmail.com วิชุดา จันทะศิลป์ wichuda@vru.ac.th <p>งานวิจัยเชิงทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของสารสกัดเมล็ดมะรุม และวิธีการเตรียมและพัฒนาตำรับที่มีสารสกัดเมล็ดมะรุมในรูปแบบไมโครอิมัลชัน</p> <p>ผลการศึกษา พบว่า สารสกัดเมล็ดมะรุม ที่สกัดด้วยตัวทำละลายเอทิลแอลกอฮอล์ ความเข้มข้นร้อยละ 95 จะได้สารสกัดสีน้ำตาลเข้มและหนืด ผลการทดสอบฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระโดยวิธี DPPH Assay และวิธี ABTS Assay ด้วยค่า IC<sub>50</sub> มีค่าเท่ากับ 54.46±0.02 µg/ml และ 26.47±0.03 µg/ml ตามลำดับ การพัฒนาสูตรตำรับไมโครอิมัลชันโดยการสร้างแผนภาพไตรภาคเทียม (Pseudo-ternary phase diagram) โดยสูตรตำรับไมโครอิมัลชันที่เหมาะสมประกอบด้วย Isopropyl myristate, สารลดแรงตึงผิวผสม และน้ำ 10, 50, 40 % w/w ได้ลักษณะทางกายภาพ สารละลายสีเหลืองใส ไม่แยกชั้น และพัฒนาตำรับผลิตภัณฑ์ใช้รูปแบบไมโครอิมัลชัน ภายใต้สภาวะอุณหภูมิห้อง และภายใต้สภาวะเร่ง 6 รอบ มีความคงตัวดี</p> <p>สรุปได้ว่า สารสกัดเมล็ดมะรุมมีฤทธิ์ยับยั้งอนุมูลอิสระได้และการพัฒนาในรูปแบบไมโครอิมัลชันมีความคงตัวสามารถนำไปใช้พัฒนาต่อยอดเป็นผลิตภัณฑ์กลุ่มเครื่องสำอาง หรือผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพได้</p> 2024-07-10T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 โรงพยาบาลสิงห์บุรี https://he01.tci-thaijo.org/index.php/shj/article/view/269168 ผลกระทบทางคลินิกของการเลือกใช้ยาปฏิชีวนะต่อผู้ป่วยเด็กโรคปอดอักเสบชนิดเฉียบพลัน ในโรงพยาบาลสิงห์บุรี 2024-03-22T11:24:24+07:00 ปีย์ เขียวระยับ pdobbym2@gmail.com <p>โรคปอดอักเสบชนิดเฉียบพลันเป็นโรคที่พบบ่อยเป็นอันดับ 1 และเป็นสาเหตุอันดับต้น ๆ ของการนอนโรงพยาบาลของผู้ป่วยเด็ก อีกทั้งมีการใช้ยาปฏิชีวนะในการรักษาอย่างกว้างขวางและหลากหลาย.จึงได้จัดทำการศึกษาขึ้นเพื่อเปรียบเทียบผลกระทบทางคลินิก ของการเลือกใช้ยาปฏิชีวนะระหว่างกลุ่มที่ใช้ยาปฏิชีวนะชนิดครอบคลุมเชื้อแคบ กับกลุ่มที่ใช้ยาปฏิชีวนะชนิดครอบคลุมเชื้อกว้างในเด็กที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลด้วยเรื่องปอดอักเสบชนิดเฉียบพลัน รูปแบบ Retrospective cohort study โดยเป็นการศึกษาย้อนหลังโดยรวบรวมข้อมูลจากเวชระเบียนผู้ป่วยเด็กที่ได้รับการวินิจฉัยโรคปอดอักเสบชนิดเฉียบพลันที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลตั้งแต่ พ.ศ.2561 ถึง พ.ศ.2564 ผู้ป่วยถูกแบ่งเป็นสองกลุ่ม ได้แก่ กลุ่มที่ใช้ยาปฏิชีวนะชนิดครอบคลุมเชื้อแคบ และกลุ่มที่ใช้ยาปฏิชีวนะชนิดครอบคลุมเชื้อกว้าง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา วิเคราะห์ด้วยสถิติ t-test, multivariable risk(binary) regression analysis</p> <p>ผู้ป่วยเด็กในการศึกษาจำนวนทั้งหมด 589 ราย แบ่งเป็น กลุ่มที่มีการใช้ยาปฏิชีวนะชนิดครอบคลุมเชื้อแคบ จำนวน 243 ราย (ร้อยละ 41.26) และกลุ่มที่มีการใช้ยาปฏิชีวนะชนิดครอบคลุมเชื้อกว้าง จำนวน 346 ราย (ร้อยละ 58.74 ) ลักษณะโดยทั่วไปมีความคล้ายคลึงกัน ในเรื่องผลกระทบทางคลินิกพบว่าการใช้ยาปฏิชีวนะชนิดครอบคลุมเชื้อแคบมีอัตราการใส่ท่อช่วยหายใจน้อยกว่ากลุ่มที่มีการใช้ยาปฏิชีวนะชนิดครอบคลุมเชื้อกว้างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P = 0.026) ระยะเวลาในการใช้ออกซิเจนสั้นกว่าถึง 13 ชั่วโมง (P = 0.001) ระยะเวลาของไข้เฉลี่ยสั้นกว่าถึง 7 ชั่วโมง (P = 0.001) ระยะเวลาในการนอนโรงพยาบาลเฉลี่ยสั้นกว่า 1 วัน (P = 0.002) ตามลำดับ โดยไม่พบการนอนโรงพยาบาลซ้ำในระยะเวลา 7 วันเลยในทั้งสองกลุ่มที่มีการศึกษา และยังมีค่าใช้จ่ายในการรักษาเฉลี่ยต่ำกว่า 3438 บาท (P.=.0.001) โดยที่กลุ่มที่มีการใช้ยาปฏิชีวนะชนิดครอบคลุมเชื้อกว้าง มีโอกาสพบภาวะถ่ายเหลวเป็นภาวะแทรกซ้อนได้บ่อยกว่า</p> <p>การใช้ยาปฏิชีวนะชนิดครอบคลุมเชื้อแคบมีประสิทธิภาพในการรักษาผู้ป่วยเด็กโรคปอดอักเสบชนิดเฉียบพลันไม่ด้อยกว่าการใช้ยาปฏิชีวนะชนิดครอบคลุมเชื้อกว้าง ในเรื่องอัตราการใส่ท่อช่วยหายใจ ระยะเวลาในการใช้ออกซิเจน ระยะเวลาของไข้ ค่าใช้จ่ายในการนอนโรงพยาบาล และยังช่วยลดภาวะแทรกซ้อนในเรื่องถ่ายเหลวจากการใช้ยาปฏิชีวนะลงได้</p> 2024-07-11T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 โรงพยาบาลสิงห์บุรี https://he01.tci-thaijo.org/index.php/shj/article/view/269192 ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการดูแลผู้สูงอายุของผู้ดูแลในครอบครัว อำเภอบ้านแพ้ว จังหวัดสมุทรสาคร 2024-05-14T21:46:26+07:00 ชัชฎาภรณ์ วชิรปรีชาพงษ์ chatchadaporn.wa@vru.ac.th ทัศพร ชูศักดิ์ singhosp-journal@hotmail.com รัฐพล ศิลปรัศมี singhosp-journal@hotmail.com <p>การวิจัยเชิงวิเคราะห์แบบภาคตัดขวางมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการดูแลผู้สูงอายุของผู้ดูแลในครอบครัว และศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการดูแลผู้สูงอายุของผู้ดูแลในครอบครัว อำเภอบ้านแพ้ว จังหวัดสมุทรสาคร กลุ่มตัวอย่างการวิจัย คือ ผู้ดูแลผู้สูงอายุ จำนวน 372 คน ที่ได้จากการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบไปด้วย 1) แบบทดสอบความรู้เรื่องการดูแลผู้สูงอายุ 2) แบบสอบถามทัศนคติต่อการดูแลผู้สูงอายุ 3) แบบสอบถามการสนับสนุนทางสังคม 4) แบบสอบถามการดูแลผู้สูงอายุ ที่มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .73,..74,..73 และ..73 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบไคสแควร์</p> <p> ผลการศึกษา พบว่า การดูแลผู้สูงอายุของผู้ดูแลในครอบครัว อยู่ในระดับสูง ร้อยละ 50.81 ระดับปานกลาง ร้อยละ 30.38 และระดับต่ำ ร้อยละ 18.81 ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการดูแลผู้สูงอายุของผู้ดูแลในครอบครัว อำเภอบ้านแพ้ว จังหวัดสมุทรสาคร อย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติที่ระดับ 0.05 ได้แก่ ระดับการศึกษา ความเพียงพอของรายได้ครอบครัว อายุของผู้สูงอายุ โรคประจำตัวของผู้สูงอายุ ความรู้เรื่องการดูแลผู้สูงอายุ ทัศนคติต่อการดูแลผู้สูงอายุ และการสนับสนุนทางสังคม</p> 2024-08-05T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 โรงพยาบาลสิงห์บุรี https://he01.tci-thaijo.org/index.php/shj/article/view/270289 การศึกษาความผิดปกติของประจำเดือนโดยใช้หลักคัมภีร์มหาโชตรัตเพื่อคัดกรองความผิดปกติ ของนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี 2024-05-16T09:16:34+07:00 ปัฐมาภรณ์ ราชวัฒน์ patamaporn_r@rmutt.ac.th วัชระ ดำจุติ d@rmutt.ac.th เมธาร์ ศิริวัฒนสาธร metar_s@rmutt.ac.th แสงนภา ทองสา saengnapa_c@rmutt.ac.th <p>การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงสำรวจมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความผิดปกติของประจำเดือนและการดูแลตนเองโดยใช้ทฤษฎีจากคัมภีร์มหาโชติรัต ในนักศึกษาระดับปริญญาตรี คณะการแพทย์บูรณาการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี จำนวน 214 คน โดยใช้แบบสอบถามที่ผู้วิจัยออกแบบเอง แบบสอบถามมีค่าความตรงเชิงเนื้อหาเท่ากับ 0.92 และความเที่ยงของเครื่องมือเท่ากับ 0.70</p> <p>ผลการศึกษาพบว่า ความผิดปกติเกี่ยวกับการมีประจำเดือนที่พบมากที่สุด คือสีของเลือดประจำเดือน อาการที่สัมพันธ์กับการมีประจำเดือน ปริมาณเลือดประจำเดือน ระยะห่างระหว่างรอบเดือน และจำนวนวันที่มีรอบเดือน ร้อยละ 89.72, 84.58, 21.03, 20.56, และ 2.34 ตามลำดับ พบชนิด Metrorrhagia มากที่สุด อาการผิดปกติที่สัมพันธ์กับการมีประจำเดือนมากที่สุดคืออาการปวดท้องน้อย และมักไม่ใช้ยาในการบรรเทาอาการ ร้อยละ 71.96 เมื่อใช้หลักทฤษฎีการแพทย์แผนไทยพบความผิดปกติจำนวน 212 คน ร้อยละ 99.06 เป็นโลหิตเกิดแต่กองธาตุมากที่สุด คำนวณค่าพยากรณ์ความถูกต้องของผลบวก (Positive predictive value) พบว่าทฤษฎีการแพทย์แผนไทยกับทางการแพทย์แผนปัจจุบัน มีโอกาสในการพยากรณ์ความผิดปกติของการมีประจำเดือนได้ใกล้เคียงกัน (92.00% PPV)</p> <p>โดยสรุปการศึกษานี้ให้ข้อมูลเชิงลึกที่มีคุณค่าในการพัฒนาเครื่องมือประเมินเพื่อคัดกรองความผิดปกติของประจำเดือน โดยบูรณาการหลักการทั้งการแพทย์แผนไทยและการแพทย์แผนปัจจุบัน นอกจากนี้ยังวางรากฐานสำหรับการวิจัยเชิงลึกในอนาคต</p> 2024-08-06T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 โรงพยาบาลสิงห์บุรี https://he01.tci-thaijo.org/index.php/shj/article/view/270403 ผลของการใช้แผนการชี้แนะต่อระดับค่าไตและคุณภาพชีวิตของกลุ่มผู้ติดเชื้อเอชไอวี/ ผู้ป่วยเอดส์ในกลุ่มงานบริการด้านปฐมภูมิและองค์รวมโรงพยาบาลชัยบาดาล จังหวัดลพบุรี 2024-06-04T12:20:16+07:00 สมาพร แก้วปนทอง snoi51853237@gmail.com <p>การวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi-Experimental.Research).ครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการชี้แนะต่อระดับระดับค่าไต และคุณภาพชีวิตก่อนและหลังการทดลองของผู้ป่วยติดเชื้อเอชไอวี/ผู้ป่วยเอดส์จำนวน 60 คน ระหว่างวันที่ สิงหาคม 2566-เมษายน 2567 โดยสุ่มเข้ากลุ่มทดลอง จำนวน 30 คน และสุ่มเข้ากลุ่มควบคุม จำนวน 30 คน โดยมีคุณสมบัติตามเกณฑ์ที่กำหนด ซึ่งจับคู่ให้มีลักษณะคล้ายคลึงกันในเรื่องเพศ อายุ ระดับการศึกษา และภาวะสุขภาพ เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูลประกอบด้วย แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป และแบบประเมินคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยติดเชื้อเอชไอวี/ผู้ป่วยเอดส์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน dependent t-test และ independent t-test</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า หลังจากที่ได้ใช้แผนการชี้แนะโดยใช้แนวคิดการชี้แนะของแฮส (HASS) มาประยุกต์ใช้ ผู้ติดเชื้อเอชไอวี/ผู้ป่วยเอดส์ กลุ่มทดลองมีระดับค่าไตลดลงกว่าก่อนการทดลอง และลดลงกว่ากลุ่มควบคุม และค่าการกรองของไต สูงกว่าก่อนการทดลอง และสูงกว่ากลุ่มควบคุม คะแนนเฉลี่ยของคุณภาพชีวิตเพิ่มขึ้นกว่าก่อนการทดลอง และเพิ่มขึ้นมากกว่ากลุ่มควบคุมโดยได้ผลแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (<em>p</em>&lt;.05)</p> <p>โดยสรุป ผลจากการศึกษาแสดงให้เห็นว่าการประยุกต์ใช้แผนการชี้แนะของแฮส (HASS) ส่งผลให้คะแนนเฉลี่ยระดับค่าไตลดลง ค่าการกรองของไตสูงขึ้น และคะแนนเฉลี่ยคุณภาพชีวิตเพิ่มขึ้น จึงควรเผยแพร่แผนการชี้แนะนี้ และนำไปประยุกต์ใช้เพื่อขยายผลต่อไป </p> 2024-08-07T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 โรงพยาบาลสิงห์บุรี https://he01.tci-thaijo.org/index.php/shj/article/view/270716 ระบาดวิทยาการเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนนและแนวทางแก้ไขป้องกัน ของอำเภอท่าช้าง จังหวัดสิงห์บุรี 2024-05-23T10:12:01+07:00 ธนา พุทธากรณ์ rachnajun@gmail.com <p>อุบัติเหตุบนท้องถนนเป็นปัญหาสำคัญของสาธารณสุข การวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed Methods) เพื่อศึกษาระบาดวิทยา สภาพปัจจุบันปัญหาและแสวงหาแนวทางแก้ไขป้องกันการเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนน เก็บข้อมูลจากเว็บไซด์ ict-pher.moph.go<strong>.</strong>th.จำนวน 555 คน และจากตัวแทนผู้เกี่ยวข้อง โดยการสัมภาษณ์เชิงลึก การสนทนากลุ่ม จำนวน 61 คน การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ ความถี่ ร้อยละ และการวิเคราะห์เนื้อหา</p> <p>ผลการวิจัย พบว่า.1).ระบาดวิทยาการเกิดอุบัติเหตุ พบในเพศชาย อายุ 15-19 ปี อาชีพผู้ใช้แรงงาน ใช้รถจักรยานยนต์ ไม่ใช้อุปกรณ์ความปลอดภัย คิดเป็นร้อยละ 51.9, 14.4, 31.9, 92.8, 51.5 เกิดในพื้นที่ตำบลโพประจักษ์ เวลากลางวันเกิดอุบัติเหตุมากที่สุด 2) สภาพปัจจุบันปัญหาคือ พฤติกรรมการขับขี่แบบผาดโผน รีบเร่ง ฝ่าฝืนกฎจราจร สิ่งแวดล้อม ได้แก่ สภาพของถนน ลื่น ขาดสัญญาณไฟ ต่างระดับ มีสิ่งกีดขวาง ข้อมูลและนโยบาย ไม่มีการบูรณาการเชื่อมโยง การบังคับใช้กฎหมายไม่เข้มงวด 3) แนวทางการแก้ไขการเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนนของอำเภอท่าช้าง ควรประกอบด้วย 5 องค์ประกอบ คือ ด้านนโยบาย ด้านผู้ใช้รถใช้ถนน สถานพยาบาล องค์การบริหารส่วนท้องถิ่น และสถานศึกษา ที่ต้องทำหน้าที่ในส่วนที่เกี่ยวข้องอย่างต่อเนื่องจริงจัง</p> <p>ข้อเสนอแนะ 1) ศูนย์ปฏิบัติการสร้างพื้นที่ต้นแบบในการป้องกันแก้ไขการเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนนของอำเภอท่าช้าง 2) ควรศึกษาเรื่องผลกระทบจากการเกิดอุบัติเหตุและแนวทางเยียวยาผู้ประสบเหตุ</p> 2024-08-07T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 โรงพยาบาลสิงห์บุรี https://he01.tci-thaijo.org/index.php/shj/article/view/268397 การพัฒนาระบบบริการสำหรับหญิงตั้งครรภ์ไม่พร้อมและการยุติการตั้งครรภ์ ที่ปลอดภัย จังหวัดจันทบุรี 2024-05-13T16:44:39+07:00 พัชรีวรรณ เจนสาริกรณ์ jenpatcha19@gmail.com <p>ระบบบริการสำหรับผู้หญิงตั้งครรภ์ไม่พร้อมและการยุติการตั้งครรภ์ เริ่มพัฒนาระบบบริการเพื่อลดผลกระทบที่เกิดขึ้นจาก การยุติการตั้งครรภ์ที่ไม่ปลอดภัย แต่ยังพบว่าระบบบริการดังกล่าวขาดการประสานงานภายในระบบบริการที่จะช่วยให้บริการการยุติการตั้งครรภ์เป็นระบบที่รวดเร็วและปลอดภัยในทุกมิติตามประกาศของกระทรวงสาธารณสุข การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานการณ์ของระบบบริการสำหรับผู้หญิงตั้งครรภ์ไม่พร้อมและการยุติการตั้งครรภ์ที่ปลอดภัยตามพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญาฯ และเพื่อพัฒนาระบบบริการสำหรับหญิงตั้งครรภ์ไม่พร้อมและการยุติการตั้งครรภ์ ที่ปลอดภัย ดำเนินการวิจัย 4 ระยะ ได้แก่ 1) การวางแผนเพื่อเปลี่ยนแปลง (Planning a change) 2) การปฏิบัติ (Acting) 3) การสังเกตการณ์ (Observing) 4) การสะท้อนกลับ (Reflecting) เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง การสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยสถิติพรรณนา วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา</p> <p>ผลการพัฒนาระบบบริการสำหรับหญิงตั้งครรภ์ไม่พร้อมและการยุติการตั้งครรภ์ที่ปลอดภัย สถานการณ์การจัดบริการพบว่า มีปัจจัยที่เป็นอุปสรรคต่อการจัดบริการคือ การเข้าถึงบริการที่มีความยุ่งยาก การขาดการสนับสนุนทางจิตใจและคำปรึกษาทางเลือก และการขาดการดูแลต่อเนื่องหลังการยุติการตั้งครรภ์ ส่วนปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จ คือการสร้างความเข้าใจต่อผู้รับบริการเพื่อลดการตีตราในการทำแท้งของผู้ให้บริการ การสร้างช่องทางการติดต่อและส่งต่อโดยการพัฒนาช่องทางการติดต่อสำหรับหญิงตั้งครรภ์ไม่พร้อมช่วยให้ผู้หญิงเข้าถึงบริการได้ง่ายขึ้นและเร็วขึ้น การบริการปรึกษาและดูแลจิตใจโดยมีการให้บริการปรึกษาและสนับสนุนทางจิตใจทำให้ผู้หญิงมีโอกาสได้รับการสนับสนุนในการตัดสินใจและความช่วยเหลือหลังจากการยุติการตั้งครรภ์ และการดูแลต่อเนื่องหลังการยุติการตั้งครรภ์โดยสร้างระบบการดูแลต่อเนื่องช่วยให้หญิงสามารถเข้าถึงบริการสุขภาพและการติดตามเชิงป้องกันเพื่อลดความเสี่ยงต่อการตั้งครรภ์ในอนาคตที่ไม่ได้วางแผน</p> <p>อย่างไรก็ตามข้อจำกัดของระบบบริการที่พัฒนาฯนี้ แม้ว่าจะมีการปรับปรุงบริการและช่องทางการติดต่อ แต่ผู้หญิงบางคนยังขาดความเข้าใจเกี่ยวกับสิทธิและบริการที่มีอยู่ ซึ่งอาจทำให้ไม่สามารถเข้าถึงบริการได้เต็มที่ และสำหรับหญิงตั้งครรภ์ในพื้นที่ห่างไกลยังเผชิญกับอุปสรรคในการเข้าถึงบริการเนื่องจากข้อจำกัดด้านการเดินทางและทรัพยากร ดังนั้นการศึกษาในครั้งนี้ก่อให้เกิดความเข้าใจวิธีการพัฒนาระบบบริการยุติการตั้งครรภ์ที่ปลอดภัย และแม้ว่าจะมีความสำเร็จอย่างมากในการปรับปรุงการเข้าถึงและคุณภาพของบริการ แต่ก็ยังมีข้อจำกัดที่ต้องได้รับการแก้ไขเพื่อให้บริการเหล่านี้สามารถตอบสนองความต้องการของผู้หญิงทุกคนได้อย่างเต็มที่ต่อไป</p> 2024-08-13T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 โรงพยาบาลสิงห์บุรี