Singburi Hospital Journal
https://he01.tci-thaijo.org/index.php/shj
<p>Singburi Hospital Journal มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่และเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนความรู้ ผลงานวิจัย บทความวิชาการ กรณีศึกษา และอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการรักษา การพยาบาลและการส่งเสริมสุขภาพ ในการนำไปสู่การสร้างองค์ความรู้ใหม่ ที่เป็นประโยชน์แก่สหสาขาวิชาชีพที่เกี่ยวข้อง ทั้งภายในและภายนอกโรงพยาบาล เป็นวารสารราย 4 เดือน ปีละ 3 ฉบับ ดังนี้</p> <p> ฉบับที่ 1 พฤษภาคม – สิงหาคม <br /> ฉบับที่ 2 กันยายน – ธันวาคม <br /> ฉบับที่ 3 มกราคม – เมษายน</p>
โรงพยาบาลสิงห์บุรี (Singburi Hospital)
th-TH
Singburi Hospital Journal
2773-8876
<div class="item copyright"> <div class="item copyright"> <p>บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของโรงพยาบาลสิงห์บุรี</p> <p>ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับโรงพยาบาลสิงห์บุรี และบุคคลากรท่านอื่นๆในโรงพยาบาลฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว</p> </div> </div>
-
อุบัติเหตุกระดูกเบ้าตาแตกหักร่วมกับมีภาวะ Oculocardiac reflex : รายงานผู้ป่วย
https://he01.tci-thaijo.org/index.php/shj/article/view/271585
<p>การเกิดกิริยาสนองฉับพลันของกล้ามเนื้อตากับหัวใจ (Oculocardiac reflex) นั้นมักพบในเด็กและมักเกิดระหว่างการผ่าตัดบริเวณเบ้าตาส่วนในผู้ป่วยซึ่งเกิดอุบัติเหตุกระดูกเบ้าตาแตกหักมักเกิดร่วมกับการแตกหักแบบเปิดแล้วปิด (trapdoor) ส่งผลให้กระดูกเบ้าตาที่แตกหักหนีบกล้ามเนื้อลูกตา ซึ่งเมื่อกล้ามเนื้อลูกตาถูกกระดูกหนีบอาจทำให้เกิดกิริยาสนองฉับพลันของกล้ามเนื้อตากับหัวใจ (Oculocardiac reflex (OCR)) ได้</p> <p>ในรายงานผู้ป่วยฉบับนี้จะกล่าวถึงการเกิดกิริยาสนองฉับพลันของกล้ามเนื้อตากับหัวใจจากอุบัติเหตุกระดูกเบ้าตาแตกหัก (Blow out fracture (Orbital floor fracture)) ในผู้ใหญ่ซึ่งโดยปกติแล้วพบได้น้อยโดยผู้ป่วยมีอาการหัวใจเต้นช้า (Bradycardia) ตั้งแต่หลังประสบอุบัติเหตุก่อนเข้ารับการผ่าตัด มีอาการปวดลูกตามองเห็นภาพซ้อน พบตาหวำลึก (Enophthalmos) และเมื่อกลอกตาขึ้นบนจะมีอาการคลื่นไส้อาเจียน ตรวจพบกระดูกเบ้าตาซ้ายแตกหักจากภาพเอ็กซ์เรย์สามมิติ ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (EKG) พบหัวใจเต้นช้าแบบ sinus bradycardia อันเป็นเหตุให้ผู้ป่วยต้องเข้ารับการผ่าตัดรักษาอย่างเร่งด่วน ในการวินิจฉัยและรักษากระดูกเบ้าตาแตกหักเริ่มจาก การประเมินความเสียหายและตำแหน่งที่แตกหักด้วยภาพรังสีเอ็กซ์เรย์สามมิติ (CT) และเข้ารับการผ่าตัดโดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อจัดกระดูกให้เข้าที่จัดตำแหน่งกล้ามเนื้อลูกตาและเนื้อเยื่อรอบลูกตา (periorbital soft tissue) ให้เข้าที่อยู่ภายในเบ้าตาเพื่อให้ได้ปริมาตรของเบ้าตาเท่าเดิมโดยหลังเข้ารับการผ่าตัดผู้ป่วยรายนี้สามารถมองเห็นชัดปกติไม่มีภาพซ้อน กลอกตาได้ปกติและมีชีพจรอยู่ในระดับปกติ</p>
ชลวิทย์ วงศ์ไพโรจน์พานิช
Copyright (c) 2024 โรงพยาบาลสิงห์บุรี
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-10-21
2024-10-21
33 2
C1
12
-
การศึกษาปัจจัยเสี่ยงต่อการติดเชื้อวัณโรคในผู้ติดเชื้อเอชไอวีในโรงพยาบาลคลองหลวง
https://he01.tci-thaijo.org/index.php/shj/article/view/271030
<p>ผู้ป่วยเอชไอวีที่ติดเชื้อวัณโรคมีอัตราตายสูง การศึกษานี้เป็นการศึกษาเชิงวิเคราะห์ case control study วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยเสี่ยงต่อการติดเชื้อวัณโรคในผู้ติดเชื้อเอชไอวี โดยศึกษาในกลุ่มผู้ติดเชื้อเอชไอวีที่เข้ารับบริการที่โรงพยาบาลคลองหลวง ตั้งแต่ 1 ตุลาคม 2562 ถึง 30 กันยายน 2566 ใช้สถิติ Chi-square และ multiple logistic regression ในการวิเคราะห์ ศึกษาในกลุ่มผู้ติดเชื้อเอชไอวีที่เป็นวัณโรค 60 คน และไม่เป็นวัณโรค 120 คน</p> <p>ผลการศึกษาพบว่าปัจจัยเสี่ยงต่อการป่วยเป็นวัณโรคในผู้ติดเชื้อเอชไอวี คือ ผู้ที่มีอายุไม่เกิน 30 ปี (OR=2.21, 95% CI 1.02–4.81) การดื่มสุรา (OR=4.00, 95% CI 1.69–9.49,<em> p</em>=0.002) ระดับเม็ดเลือดขาวชนิด CD4 ตั้งต้นน้อยกว่า 50 cells/mm<sup>3 </sup>(OR = 2.57, 95% CI 1.19–5.55,<em> p</em>=0.016) และ 51-100 cells/mm<sup>3 </sup>(OR=2.24, 95% CI 1.56–4.76,<em> p</em>=0.036) ผู้ที่มีปริมาณไวรัสเอชไอวีมากกว่า 20 copies/ml (OR<sub>adj</sub>=2.61, 95% CI 1.18–5.74,<em> p</em>=<0.018) น้ำหนักน้อยกว่า 50 กิโลกรัม (OR<sub>adj</sub>=2.65, 95% CI 1.25–5.64,<em> p</em>=0.010) และผู้ที่มีประวัติติดเชื้อฉวยโอกาส (OR=4.85, 95% CI 2.18–10.77) ผู้ติดเชื้อเอชไอวีที่มีความเสี่ยงสูงที่ป่วยเป็นวัณโรค เป็นกลุ่มที่ต้องได้รับการดูแลเพื่อลดอัตราตาย</p>
อาณกร ศุภวรรธนางกูร
Copyright (c) 2024 โรงพยาบาลสิงห์บุรี
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-09-16
2024-09-16
33 2
B1
10
-
ความชุกของภาวะข้อต่อกระดูกสันหลังเคลื่อนที่เกิดจากความเสื่อม ในกลุ่มผู้ป่วยที่มีอาการปวดหลังส่วนล่างเรื้อรัง ที่มารับบริการคลินิกกระดูกและข้อ โรงพยาบาลสระบุรี
https://he01.tci-thaijo.org/index.php/shj/article/view/271608
<p>อาการปวดหลังส่วนล่างมีหนึ่งในสาเหตุสำคัญคือภาวะข้อต่อกระดูกสันหลังเคลื่อนที่เกิดจากความเสื่อม (Degenerative spondylolisthesis) แต่ที่ผ่านมายังไม่มีการศึกษาอย่างชัดเจนในประชากรไทย งานวิจัยฉบับนี้เป็นการศึกษาข้อมูลย้อนหลังร่วมกับการศึกษาแบบตัดขวาง (retrospective cross-sectional study) เก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้ป่วยจำนวน 1,051 คน ที่มีอาการปวดหลังส่วนล่างเรื้อรัง และเข้ารับการรักษาที่แผนกศัลยกรรมกระดูกและข้อ โรงพยาบาลสระบุรี เพื่อทำการศึกษาในรูปแบบ retrospective cross-sectional study โดยวิเคราะห์หาค่าความชุกของภาวะดังกล่าว และความชุกของโรคในปัจจัยเหล่านี้ ได้แก่ อายุ เพศ ดัชนีมวลกาย และอาชีพ </p> <p>ผลการศึกษา พบว่ามีค่าความชุกของภาวะข้อต่อกระดูกสันหลังเคลื่อนที่เกิดจากความเสื่อม 26.83% ค่าความชุกของโรคในกลุ่มเพศชาย 18.87% และในกลุ่มเพศหญิง 30.89% เพศหญิงจึงพบความชุกของโรคได้มากกว่า คิดเป็น Odd ratio 1.92 (95%CI, 1.41–2.62) ค่าความชุกของโรคในกลุ่มที่อายุน้อยกว่า 50 ปี เท่ากับ 19.27% และในกลุ่มที่อายุตั้งแต่ 50 ปีขึ้นไป เท่ากับ 28.81% กลุ่มที่อายุตั้งแต่ 50 ปีขึ้นไปจึงพบความชุกของโรคได้มากกว่า คิดเป็น Odd ratio 1.69 (95%CI, 1.17–2.45) ค่าเฉลี่ยดัชนีมวลกายในกลุ่มที่พบโรค และในกลุ่มที่ไม่พบโรคดังกล่าว มีค่า 24.7±2.80 และ 24.4±2.85 ตามลำดับ มี P-value 0.156 จึงไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ ด้านอาชีพเปรียบเทียบกันระหว่างอาชีพที่ต้องใช้แรงงาน และอาชีพทำงานนั่งโต๊ะ พบว่าไม่มีอาชีพใดที่มีความชุกของโรคแตกต่างกัน ด้วย Odd ratio 1.20 (95%CI, 0.91–1.58) โดยใช้สถิติ two-sample t-test และ chi-squared test</p> <p>โดยสรุป ภาวะข้อต่อกระดูกสันหลังเคลื่อนที่เกิดจากความเสื่อมพบประมาณ 1 ใน 4 ของประชากรไทยที่มีอาการปวดหลังส่วนล่างเรื้อรัง และพบว่ามีความชุกของโรคที่สูงในเพศหญิง และคนที่มีอายุตั้งแต่ 50 ปีขึ้นไป</p>
วรัญญู สุทธิกาศนีย์
Copyright (c) 2024 โรงพยาบาลสิงห์บุรี
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-09-16
2024-09-16
33 2
B11
19
-
โครงสร้าง กระบวนการ และผลลัพธ์การช่วยฟื้นคืนชีพในผู้ป่วยภาวะหัวใจหยุดเต้น นอกโรงพยาบาลที่มารับการรักษาที่ห้องอุบัติเหตุและฉุกเฉิน
https://he01.tci-thaijo.org/index.php/shj/article/view/271632
<p>การวิจัยเชิงพรรณนานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาโครงสร้าง กระบวนการและผลลัพธ์ของการช่วยฟื้นคืนชีพในผู้ป่วยภาวะหัวใจหยุดเต้นนอกโรงพยาบาลที่มารับการรักษาที่ห้องอุบัติเหตุและฉุกเฉิน กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วยเวชระเบียนผู้ป่วย จำนวน 91 ราย และบุคลากร จำนวน 96 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แบบบันทึกและแบบทดสอบความรู้ของบุคลากรด้านโครงสร้าง 2) แบบบันทึกการเก็บรวบรวมข้อมูลด้านกระบวนการช่วยฟื้นคืนชีพ และ 3) แบบบันทึกการเก็บรวบรวมด้านผลลัพธ์ในการช่วยฟื้นคืนชีพ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงบรรยาย</p> <p>ผลการวิจัยด้านโครงสร้าง ผู้ป่วยส่วนใหญ่เป็นเพศชาย วัยผู้ใหญ่ สาเหตุที่ทำให้หัวใจหยุดเต้นมากที่สุดคือโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน มีผู้พบเห็นเหตุการณ์ขณะที่ผู้ป่วยหัวใจหยุดเต้นและมีการช่วยกดหน้าอกนวดหัวใจก่อนมาโรงพยาบาล บุคลากรมีความรู้ในการช่วยฟื้นคืนชีพในระดับดี ด้านกระบวนการ พบว่า ระยะเวลา Response time มากกว่า 8 นาที ระยะเวลาตั้งแต่คลำชีพจรผู้ป่วยไม่ได้จนถึงเวลาที่ผู้ป่วยได้รับการกดหน้าอกครั้งแรกน้อยกว่า 5 นาที ระยะเวลาตั้งแต่คลำชีพจรผู้ป่วยไม่ได้จนถึงเวลาที่ผู้ป่วยได้รับยา Adrenaline ครั้งแรก 5-10 นาที ด้านผลลัพธ์ พบว่าผู้ป่วยรอดชีวิตครบ 24 ชั่วโมง ร้อยละ 36.26 ข้อเสนอแนะ ควรมีการอบรมให้ความรู้การช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐานแก่ประชาชนทั่วไปเพื่อส่งเสริมให้มีการช่วยฟื้นคืนชีพก่อนมาถึงโรงพยาบาล เพื่อเพิ่มโอกาสการรอดชีวิต</p>
พีรเดช วัฒนจิตต์
วารินทร์ บินโฮเซ็น
น้ำอ้อย ภักดีวงศ์
Copyright (c) 2024 โรงพยาบาลสิงห์บุรี
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-09-17
2024-09-17
33 2
B20
30
-
การตรวจวัดระดับความร้อนและผลกระทบต่อสุขภาพเนื่องจากการสัมผัสความร้อน ของนักท่องเที่ยวในวัดจุฬามณี จังหวัดสมุทรสงคราม
https://he01.tci-thaijo.org/index.php/shj/article/view/269381
<p>ความร้อนเป็นปัจจัยหนึ่งที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพ ไม่ว่าจะเป็นความร้อนจากการทำงานหรือจากแหล่งท่องเที่ยวที่ผู้คนต่างให้ความสนใจเข้าไปเยี่ยมชม สภาพอากาศที่ร้อนซึ่งเป็นปัจจัยหนึ่งที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของนักท่องเที่ยวที่อยู่ในบริเวณนั้น ๆ การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความร้อนและผลกระทบต่อสุขภาพจากการสัมผัสความร้อนของนักท่องเที่ยวในวัดจุฬามณี จังหวัดสมุทรสงคราม รูปแบบวิจัยเชิงพรรณนาภาคตัดขวาง จำนวน 370 คน เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ เครื่องตรวจวัดความร้อนและแบบสอบถามวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนา</p> <p>ผลการศึกษาพบว่า อุณหภูมิเวตบัลบ์โกลบ (WBGT) เฉลี่ยภายนอกอาคาร ในบริเวณพื้นที่วัดจุฬามณี อยู่ในช่วง 31.9–35.3 องศาเซลเซียส โดยมีบริเวณที่มีอุณหภูมิสูง 3 จุด ได้แก่ ลานจอดรถ จุดสักการะพื้นที่ขนาดใหญ่ และจุดสักการะพื้นที่ขนาดเล็ก นอกจากนี้บริเวณที่มีอุณหภูมิเหมาะสมต่อการพัก คือ บริเวณตลาดขายของ ซึ่งผลกระทบต่อสุขภาพจากการสัมผัสความร้อน พบว่าส่วนใหญ่มีอาการกระหายน้ำร้อยละ 71.1 อาการอ่อนเพลียจากความร้อนร้อยละ 69.2 และมีอาการแพ้เหงื่อร้อยละ 45.7</p> <p>สภาพอากาศที่ร้อนและอยู่บริเวณกลางแจ้งจะก่อให้เกิดผลกระทบต่อสุขภาพจากการสัมผัสความร้อนของนักท่องเที่ยว จึงควรมีการสวมใส่เครื่องแต่งกายที่สามารถระบายความร้อนได้ดี เพื่อลดโอกาสเสี่ยงต่อการจากการเจ็บป่วยจากความร้อน<br /><br /></p>
วริยา เคนทวาย
สราวุธ รุ่งแจ้ง
วิมลวรรณ กมลรักษ์
สุภากิต ขำเมือง
Copyright (c) 2024 โรงพยาบาลสิงห์บุรี
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-09-18
2024-09-18
33 2
B31
39
-
ความชุกและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเกิดภาวะแทรกซ้อน ในผู้ป่วยเด็กโรคไตอักเสบเฉียบพลันหลังการติดเชื้อสเตรปโตคอคคัสในโรงพยาบาลสระบุรี
https://he01.tci-thaijo.org/index.php/shj/article/view/271658
<p>Acute poststreptococcal glomerulonephritis (APSGN) เป็นโรคไตอักเสบเฉียบพลันในเด็กที่พบได้บ่อย การพยากรณ์โรคดี แต่บางรายมีความรุนแรงจนเกิดภาวะไตวายเฉียบพลันได้ การศึกษานี้เป็น retrospective descriptive เก็บข้อมูลจากเวชระเบียนของผู้ป่วยเด็กที่ได้รับการวินิจฉัยเป็นโรค APSGN ที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลสระบุรี ระหว่างวันที่ 1 มกราคม 2556 ถึง 31 ธันวาคม 2565 เพื่อศึกษาความชุก อาการทางคลินิก ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ ภาวะแทรกซ้อน ผลการรักษา และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเกิดภาวะแทรกซ้อน โดยใช้สถิติ Chi-square test และ Fisher’s exact test</p> <p>ผลการศึกษา ผู้ป่วย 94 ราย อายุเฉลี่ย 8.7 ปี เพศชายร้อยละ 69.2 ช่วงที่พบความชุกมากที่สุด คือ สิงหาคม มีประวัติการติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนต้นมากที่สุดร้อยละ 37 ความดันโลหิตสูงร้อยละ 92.6 ค่า anti-DNAse B สูงร้อยละ 90.3 ค่า ASO titer สูงร้อยละ 84.9 ภาวะแทรกซ้อน คือ acute kidney injury (AKI) ร้อยละ 70.2 rapidly progressive glomerulonephritis (RPGN) ร้อยละ 12.8 ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเกิด AKI คือ gross hematuria ที่ p-value 0.048 ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเกิด RPGN คือ gross hematuria และค่า urine protein ≥ 3+ ที่ p-value 0.046 และ 0.001 ตามลำดับ</p> <p>สรุปผลการศึกษา gross hematuria เป็นปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเกิด AKI และ RPGN ค่า urine protein ≥ 3+ เป็นปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเกิด RPGN</p>
อาฑิตา กนกกุลชัย
Copyright (c) 2024 โรงพยาบาลสิงห์บุรี
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-09-24
2024-09-24
33 2
B40
48
-
ผลการใช้รูปแบบการแพทย์ทางไกลต่อพฤติกรรมการดูแลตนเอง และระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้ โรงพยาบาลห้วยคต จังหวัดอุทัยธานี
https://he01.tci-thaijo.org/index.php/shj/article/view/270141
<p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อเปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยความรู้ พฤติกรรมการดูแลตนเองและและระดับน้ำตาลสะสม(HbA1c) ก่อนและหลังการทดลอง ในกลุ่มทดลองและกลุ่มเปรียบเทียบ 2) เพื่อเปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยความรู้ พฤติกรรมการดูแลตนเองและและระดับน้ำตาลสะสม (HbA1c) หลังการทดลองระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มเปรียบเทียบ กลุ่มตัวอย่างจำนวน 60 คน แบ่งเป็น กลุ่มทดลอง 30 คน กลุ่มเปรียบเทียบ 30 คน เครื่องมือที่ใช้ 1) แบบทดสอบความรู้ 2) แบบสอบถามพฤติกรรมการดูแลตนเอง โดยมีค่าความเชื่อมั่น .83 และ .95 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงอนุมาน เปรียบเทียบความแตกต่างโดยใช้ Paired t-test และ Independent t-test</p> <p>ผลการวิจัย พบว่า หลังการทดลอง กลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยความรู้ พฤติกรรมการดูแลตนเอง ดีกว่าก่อนทดลอง และระดับน้ำตาลสะสม (HbA1c) เฉลี่ยลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 และเมื่อเปรียบเทียบการใช้รูปแบบการแพทย์ทางไกลและรูปแบบการตรวจรักษาแบบปกติ พบว่า การใช้รูปแบบการแพทย์ทางไกลในกลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยคะแนนความรู้เรื่องโรคเบาหวาน พฤติกรรมการดูแลตนเอง ดีกว่ากลุ่มเปรียบเทียบที่ได้รับการตรวจรักษาแบบปกติ และระดับน้ำตาลสะสม (HbA1c) เฉลี่ยลดลงมากกว่ากลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05</p> <p>การใช้รูปแบบการแพทย์ทางไกลช่วยทำให้ผู้ป่วยเบาหวานมีความรู้เรื่องโรคเบาหวาน พฤติกรรมการดูแลตนเอง และการควบคุมระดับน้ำตาลสะสมในเลือด (HbA1c) ดีขึ้น หน่วยงานที่เกี่ยวข้องสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในพื้นที่ และขยายลงสู่เครือข่ายในพื้นที่ต่อไป</p>
พัฒนา วงศ์สุภีร์
ทัศพร ชูศักดิ์
พรรณี บัญชรหัตถกิจ
Copyright (c) 2024 โรงพยาบาลสิงห์บุรี
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-10-09
2024-10-09
33 2
B49
61
-
การพัฒนารูปแบบการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ควบคุมระดับน้ำตาลไม่ได้
https://he01.tci-thaijo.org/index.php/shj/article/view/271495
<p>โรคเบาหวานเกิดจากพฤติกรรมสุขภาพที่ไม่ถูกต้อง ผู้วิจัยสนใจการพัฒนารูปแบบการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ควบคุมระดับน้ำตาลไม่ได้ จังหวัดลพบุรี วิธีการศึกษาเป็นการวิจัยและพัฒนา โดยการวิจัยเชิงคุณภาพ และประยุกต์แนวคิดความรอบรู้ด้านสุขภาพ และการมีส่วนร่วม ตามแนวคิดของ Nutbeam ในการพัฒนาและยกร่างรูปแบบการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้มีส่วนร่วมในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ รวม 10 คน เลือกจากเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานที่พื้นที่ทำการวิจัย</p> <p>ผลการศึกษา พบว่า ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ควบคุมระดับน้ำตาลไม่ได้ มีเพิ่มขึ้น เจ้าหน้าที่ดำเนินการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ให้ความรู้ดูแลพฤติกรรมสุขภาพทั้งรายกลุ่มและ ซึ่งปัจจัยการควบคุมระดับน้ำตาล คือ ความรู้ความเข้าใจและความตระหนักในการดูแลสุขภาพ อุปสรรค คือ การบริโภคอาหารที่ไม่ถูกต้องและไม่ตระหนัก โดยแพทย์แผนไทยส่งผลให้ผู้ป่วยเบาหวานควบคุมระดับน้ำตาลได้ พร้อมทบทวนวรรณกรรม งานวิจัย และนำผลการศึกษาปัจจัยมีผลต่อพฤติกรรมสุขภาพของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ควบคุมระดับน้ำตาลไม่ได้ จังหวัดลพบุรีมาดำเนินงานออกแบบและยกร่าง</p> <p>ผลการวิจัยนี้เป็นข้อมูลการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้องของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ควบคุมระดับน้ำตาลไม่ได้ โดยหน่วยงานควรกำหนดเป็นการดูแลรักษาโรคและนำรูปแบบการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพไปใช้ในพื้นที่และพัฒนาต่อยอด โดยเพิ่มการติดตามในระยะยาว</p>
ดิสพล แจ่มจันทร์
ทัศพร ชูศักดิ์
พรรณี บัญชรหัตถกิจ
วัชราภรณ์ วงศ์สกุลกาญจน์
Copyright (c) 2024 โรงพยาบาลสิงห์บุรี
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-10-17
2024-10-17
33 2
B62
73
-
การพัฒนารูปแบบของผู้บริหารทางการพยาบาลยุคใหม่ในการจัดการทางการพยาบาล ในยุค Digital Disruption
https://he01.tci-thaijo.org/index.php/shj/article/view/272799
<p>กระแสการเปลี่ยนแปลงของยุคดิจิทัลที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว ทำให้มีการนำเทคโนโลยีมาใช้ในการบริหารจัดการอย่างกว้างขวาง ผู้นำทางการพยาบาลในยุคปัจจุบันจำเป็นต้องเรียนรู้ทักษะใหม่ มีความสามารถในการเข้าถึงและใช้เทคโนโลยีเพื่อแก้ไขปัญหาที่ส่งผลต่อการปฏิบัติการพยาบาล ต้องค้นหาวิธีการรับมือการเปลี่ยนแปลง และเพิ่มองค์ความรู้ใหม่เพื่อความอยู่รอดและความก้าวหน้าขององค์กร การวิจัยและพัฒนาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบในการจัดการทางการพยาบาลของผู้บริหารการพยาบาลในยุคการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัล แบ่งเป็น 3 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 ศึกษาปัญหาและความต้องการ การจัดการทางการพยาบาล ในยุค Digital Disruption ระยะที่ 2 การพัฒนา และการใช้รูปแบบ และระยะที่ 3 การประเมินผลรูปแบบ</p> <p>ผลการวิจัย ระยะที่ 1 พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีความต้องการพัฒนาทักษะด้านดิจิทัลและการจัดการในยุค Digital Disruption โดยเฉพาะในด้านการใช้เทคโนโลยีเพื่อการบริหารจัดการ การวิเคราะห์ข้อมูล และการตัดสินใจ</p> <p>ระยะที่ 2 การพัฒนาและใช้รูปแบบการจัดการทางการพยาบาลสำหรับผู้บริหารการพยาบาลในยุคดิจิทัล พบว่า ปัญหาที่เกิดขึ้นโดยใช้เทคนิค A-I-C และร่วมกันดำเนินการพัฒนารูปแบบ NURSE Model ซึ่งประกอบด้วย 5 องค์ประกอบหลัก 1) การสร้างเครือข่ายความร่วมมือและส่งเสริมนวัตกรรมในองค์กร 2) การพัฒนาทักษะดิจิทัลและการเรียนรู้ตลอดชีวิตของผู้บริหารและบุคลากรทางการพยาบาล 3) การจัดการความเสี่ยงและการรักษาความปลอดภัย 4) ส่งเสริมภาวะผู้นำดิจิทัลที่มีจริยธรรม 5) สนับสนุนการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกภาคส่วน นำรูปแบบมาใช้รูปแบบกับผู้บริหารทางการพยาบาลยุคใหม่</p> <p>และระยะที่ 3 ประเมินรูปแบบฯ พบว่า ผู้เข้าร่วมมีคะแนนความรู้ด้านดิจิทัลและทักษะการใช้เทคโนโลยีเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 และผู้เข้าร่วมการพัฒนารูปแบบมีความพึงพอใจต่อการใช้รูปแบบของผู้บริหารทางการพยาบาลยุคใหม่อยู่ในระดับสูง (ค่าเฉลี่ย 4.30<strong>, </strong>S.D.=0.59) ได้รับความรู้จากรูปแบบใหม่ในระดับสูง (ค่าเฉลี่ย 4.43, S.D.=0.50) ความพึงพอใจต่อผลการพัฒนารูปแบบใหม่อยู่ในระดับสูง (ค่าเฉลี่ย 4.43, S.D.=0.56) รูปแบบมีผลต่อความพึงพอใจอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับนัยสำคัญ .05 ข้อเสนอแนะสำหรับผู้บริหารทางการพยาบาลยุคใหม่ควรมีหลักสูตรที่เป็นมาตรฐานการเตรียมความพร้อมในการจัดการทางการพยาบาลสำหรับการก้าวสู่ผู้บริหารทางการพยาบาล เพื่อการบริหารจัดการ การตัดสินใจที่ดีมีการเรียนรู้ แก้ไขปัญหาด้วยการใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ ควรมีการพัฒนาหลักสูตรมาตรฐานสำหรับการเตรียมความพร้อมผู้บริหารทางการพยาบาลยุคใหม่ในด้านการจัดการทางการพยาบาล โดยมุ่งเน้นการพัฒนาทักษะด้านการบริหารจัดการ การตัดสินใจ การเรียนรู้ และการแก้ไขปัญหาโดยใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ ทั้งนี้เพื่อให้ผู้บริหารทางการพยาบาลสามารถรับมือกับความท้าทายในยุคการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลได้อย่างมีประสิทธิภาพ</p>
สมคิด อมรเมตตาจิต
อัจฉรพรรณ ค้ายาดี
ธนพร วิชชุเวสคามินทร์
จิราวรรณ นาคะปักษิณ
Copyright (c) 2024 โรงพยาบาลสิงห์บุรี
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-10-03
2024-10-03
33 2
B74
87
-
ผลการใช้โปรแกรมส่งเสริมสุขภาพที่มีต่อระดับน้ำตาลในเลือด ของกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน ตำบลคลองควาย อำเภอสามโคก จังหวัดปทุมธานี
https://he01.tci-thaijo.org/index.php/shj/article/view/271380
<p>การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบกึ่งทดลองมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการใช้โปรแกรมส่งเสริมสุขภาพที่มีต่อระดับน้ำตาลในเลือด ของกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน ตำบลคลองควาย อำเภอสามโคก จังหวัดปทุมธานี กลุ่มตัวอย่าง คือ กลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน ตำบลคลองควาย อำเภอสามโคก จังหวัดปทุมธานี จำนวน 31 คน จากการคำนวณขนาดกลุ่มตัวอย่างด้วยโปรแกรม G<sup>*</sup>Power และการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ 1) แบบทดสอบความรู้เรื่องโรคเบาหวาน มีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.87 และ 2) แบบสอบถามพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพ มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.93 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป สถิติที่ใช้ ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบทีแบบไม่เป็นอิสระต่อกัน</p> <p>ผลการวิจัย พบว่า ก่อนการทดลองกลุ่มตัวอย่าง มีความรู้เรื่องโรคเบาหวาน ระดับมาก ร้อยละ 25.8 ระดับปานกลาง ร้อยละ 51.6 ระดับน้อย ร้อยละ 22.6 มีพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพ ระดับสูง ร้อยละ 6.5 ระดับปานกลาง ร้อยละ 80.6 ระดับต่ำ ร้อยละ 12.9 และมีระดับน้ำตาลในเลือด 100-125 มิลลิกรัม/เดซิลิตร ร้อยละ 100 หลังการทดลองกลุ่มตัวอย่าง มีความรู้เรื่องโรคเบาหวาน ระดับมาก ร้อยละ 90.3 ระดับปานกลาง ร้อยละ 9.7 มีพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพระดับสูง ร้อยละ 61.3 ระดับปานกลาง ร้อยละ 38.7 และมีระดับน้ำตาล ในเลือด 100-125 มิลลิกรัม/เดซิลิตร ร้อยละ 87.1 น้อยกว่า 100 มิลลิกรัม/เดซิลิตร ร้อยละ 12.9 และผลการเปรียบเทียบ พบว่า หลังการทดลองกลุ่มตัวอย่าง มีความรู้เรื่องโรคเบาหวาน พฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพ และระดับน้ำตาลในเลือด ดีขึ้นกว่าก่อนทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05</p>
พงษ์พัฒน์ สิงหรา
รัชนีกร คำพุฒ
ทัศพร ชูศักดิ์
ศิรดา บุญสิทธิ์
Copyright (c) 2024 โรงพยาบาลสิงห์บุรี
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-11-06
2024-11-06
33 2
B88
96
-
ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากรสาธารณสุข ที่ถ่ายโอนภารกิจเข้าสู่องค์การบริหารส่วนจังหวัดสมุทรสาคร
https://he01.tci-thaijo.org/index.php/shj/article/view/270863
<p>การวิจัยเชิงวิเคราะห์แบบภาคตัดขวางนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากรสาธารณสุข ที่ถ่ายโอนภารกิจเข้าสู่องค์การบริหารส่วนจังหวัดสมุทรสาคร 2) ปัจจัยด้านลักษณะประชากรที่มีความสัมพันธ์กับประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากรสาธารณสุขที่ถ่ายโอนภารกิจเข้าสู่องค์การบริหารส่วนจังหวัดสมุทรสาคร 3) ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากรสาธารณสุข ที่ถ่ายโอนภารกิจเข้าสู่องค์บริหารส่วนจังหวัด กลุ่มตัวอย่าง คือบุคลากร สาธารณสุขที่ถ่ายโอนภารกิจเข้าสู่องค์การบริหารส่วนจังหวัดสมุทรสาคร จำนวน 236 คน โดยใช้การสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือวิจัย คือ มีค่าดัชนีความสอดคล้อง ระหว่าง 0.67-1.00 และค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.895</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1) ประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากรสาธารณสุข ที่ถ่ายโอนภารกิจเข้าสู่องค์การบริหารส่วนจังหวัดสมุทรสาครพบว่าส่วนใหญ่ อยู่ในระดับสูง ร้อยละ 75.80 2) ปัจจัยลักษณะประชากร ได้แก่ ระดับการศึกษา ประเภทของบุคลากร และตำแหน่งสายงาน มีความสัมพันธ์กับระดับประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากรสาธารณสุข ที่ถ่ายโอนภารกิจเข้าสู่องค์การบริหารส่วนจังหวัดสมุทรสาคร อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ แรงจูงใจในการปฏิบัติงาน ความสัมพันธ์กับผู้บังคับบัญชา สภาพการทำงาน ความสัมพันธ์กับผู้ใต้บังคับบัญชา ลักษณะงานที่ปฏิบัติ ความก้าวหน้าในตำแหน่งงาน ค่าตอบแทนและสวัสดิการ และนโยบายการบริหาร ปัจจัยเหล่านี้สามารถร่วมกันพยากรณ์ความพึงพอใจได้ร้อยละ 58.30 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 (R<sup>2</sup> = .459) โดยปัจจัยที่มีอิทธิพลมากที่สุดคือความสัมพันธ์กับผู้บังคับบัญชา ( <img src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\beta" alt="equation" /> =.330) ตามด้วยด้านความสัมพันธ์กับผู้ใต้บังคับบัญชา (<img src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\beta" alt="equation" /> =.201)</p>
กรวุธ อุติเนตร
ทัศพร ชูศักดิ์
พรรณี บัญชรหัตถกิจ
Copyright (c) 2024 โรงพยาบาลสิงห์บุรี
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-11-06
2024-11-06
33 2
B97
107