การส่งบทความ

เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน เพื่อส่งบทความ

รายการตรวจสอบก่อนส่งบทความ

ในขั้นตอนการส่งบทความ ผู้แต่งต้องตรวจสอบและปฏิบัติตามข้อกำหนดรายการตรวจสอบการส่งทุกข้อ ดังต่อไปนี้ และบทความอาจถูกส่งคืนให้กับผู้แต่งกรณีที่ไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนดทั้งหมด
  • บทความนี้ยังไม่เคยตีพิมพ์หรืออยู่ในระหว่างการพิจารณาเพื่อตีพิมพ์ในวารสารอื่น (หรือหากมีกรุณาอธิบายในข้อความส่งถึงบรรณาธิการ)
  • บทความเตรียมในรูปแบบของไฟล์ Microsoft Word (รายละเอียดตาม template ของวารสาร) เว้นระยะห่างจากขอบกระดาษด้านบนและซ้ายมือ 2 ซม. ด้านล่างและขวามือ 1.5 ซม. ใส่เลขหน้าตามลำดับที่มุมขวาบน
  • บทความมีจำนวนไม่เกิน 10-12 หน้า (ไม่รวมอ้างอิง)
  • ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษมีความหมายสอดคล้องตรงกับชื่อภาษาไทย
  • บทคัดย่อภาษาอังกฤษ ไม่เกิน 250 คำ (รวมเว้นวรรค) และต้องมีความหมายสอดคล้องตรงกับบทคัดย่อภาษาไทย
  • คำสำคัญ (Keyword) มีอย่างน้อย 3-5 คำ เรียงตาม Alphabet (โดยภาษาไทยเรียงตามภาษาอังกฤษ)
  • เอกสารอ้างอิงถูกต้องตามหลักแวนคูเวอร์ (Vancouver style) ไม่ควรเกิน 10 ปี และใส่ตัวเลขยกกำลัง (โดยไม่ต้องใส่วงเล็บ) หลังข้อความที่อ้างถึง
  • แนบใบรับรองจริยธรรมการวิจัย/หนังสือยินยอมบอกกล่าวด้วยความเต็มใจ(Informed Consent)

คำแนะนำผู้แต่ง

ดาวน์โหลด

TEMPLATE_บทความวิจัย SHJ (Word)

TEMPLATE_บทความวิจัย SHJ (PDF)

TEMPLATE กรณีศึกษา SHJ (Word)

TEMPLATE กรณีศึกษา SHJ (PDF)

Flow Chart การตีพิมพ์บทความวารสาร SHJ (PDF)

การจัดเตรียมต้นฉบับ

  1. พิมพ์ด้วยโปรแกรม Microsoft Word 2010 ขึ้นไป พิมพ์หน้าเดียว 1 คอลัมน์ บนกระดาษขนาด A4 (210 x 279 มม.) เว้นระยะห่างจากขอบกระดาษด้านบน และซ้ายมือ 2 ซม. และด้านล่างและขวามือ 1.5 ซม. ใส่เลขหน้าตามลำดับที่มุมขวาบน รูปแบบอักษร TH Sarabun PSK ตัวอักษรขนาด 16 นิ้ว หัวข้อหลักใช้ตัวหนา ส่งบทความเป็นไฟล์ Word และ PDF
  2. รูปแบบการเขียนแต่ละเนื้อหามีรายละเอียดแนวทางการปฏิบัติดังนี้

หน้าแรก ประกอบด้วย

  • ชื่อเรื่อง ควรสั้นกะทัดรัดและสื่อถึงเป้าหมายหลักของบทความ เขียนทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ
  • ชื่อผู้นิพนธ์ ชื่อ-สกุล เขียนทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ, วุฒิการศึกษา, หน่วยงาน/สถานที่ทำงานของผู้นิพนธ์,  ผู้ประสานหลัก/ผู้วิจัยหลัก, Email ติดต่อ
  • บทคัดย่อ (Abstract) เป็นเนื้อความย่อตามลำดับโครงสร้างของบทความแบบ 3 ย่อหน้า ประกอบด้วย
        ย่อหน้าแรก คือ บทนำ/วัตถุประสงค์/วิธีการศึกษา
        ย่อหน้าที่สอง คือ ผลการศึกษา
        ย่อหน้าที่สาม คือ สรุป
    ซึ่งต้องมีจำนวนคำไม่เกิน 250 คำ ต้องเขียนทั้งภาษาไทย และภาษาอังกฤษ
  • คำสำคัญ (Keyword) อย่างน้อย 3-5 คำ เรียงตาม Alphabet (โดยภาษาไทยเรียงตามภาษาอังกฤษ)

เมื่อบรรณาธิการได้รับต้นฉบับไว้จะแจ้งตอบกลับให้ผู้นิพนธ์ทราบว่า บทความนั้น “แก้ไขก่อนพิจารณาตีพิมพ์” “ตีพิมพ์โดยไม่แก้ไข” หรือ “ไม่ได้รับพิจารณาตีพิมพ์” ตามขั้นตอนการจัดทำวารสาร โดยกองฯจะให้สิทธิ์ผู้ที่ส่งบทความ (Submission) เข้ามาก่อน และได้รับการยอมรับการตีพิมพ์ (Accept) โดยจะเรียงตามลำดับบทความจนครบ 15 เรื่อง/ฉบับ และจะนำเรื่องที่ 16 เป็นต้นไป เข้าสู่กระบวนการตีพิมพ์ของฉบับถัดไปโดยอัตโนมัติ ซึ่งบทความที่ได้รับการพิจารณาตีพิมพ์ กองฯจะมอบวารสารแก่ผู้นิพนธ์ จำนวน 1 เล่ม และเผยแพร่บทความผ่านระบบวารสารออนไลน์ โดยมีค่าธรรมเนียมการตีพิมพ์ (เก็บทุก Submission) ดังนี้

• ระบบปกติ
ผู้แต่ง บุคลากรภายนอกโรงพยาบาล เก็บค่าธรรมเนียม 3,000 บาท/คน
           บุคลากรภายในโรงพยาบาล เก็บค่าธรรมเนียม 2,500 บาท/คน
• ระบบ Fast tack
ผู้แต่ง บุคลากรภายนอกโรงพยาบาล เก็บค่าธรรมเนียม 6,000 บาท/คน
           บุคลากรภายในโรงพยาบาล เก็บค่าธรรมเนียม 4,500 บาท/คน
โดยระบบ Fast tack ผู้แต่งจะต้องส่งบทความก่อนตีพิมพ์เผยแพร่อย่างน้อย 1-2 เดือน (เฉพาะกรณีที่วารสารฉบับนั้นยังไม่ปิดรับ)
• เล่มวารสาร (กรณีต้องการเล่มเพิ่ม) เล่มละ 400 บาท (รวมจัดส่ง)

การแก้ไขบทความเพื่อส่งตีพิมพ์
ผู้นิพนธ์แก้ไขและอธิบายข้อสงสัยตามที่ผู้เชี่ยวชาญและกองบรรณาธิการให้ข้อเสนอแนะให้ครบทุกประเด็น และระบุหรือเน้นข้อความ (Highlight) ว่าได้แก้ไขประเด็นใดบ้างรวมทั้งอธิบายประเด็นที่ไม่ได้แก้ไข ซึ่งกำหนดเวลาการแก้ไขบทความภายใน 2 สัปดาห์

บทความวิจัย

เป็นรายงานผลการศึกษา ค้นคว้า วิจัย ควรประกอบด้วยลำดับเนื้อเรื่องดังต่อไปนี้ ชื่อเรื่อง ชื่อนิพนธ์ บทคัดย่อ ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ คำสำคัญ บทนำ วิธีการศึกษา ผลการศึกษา วิจารณ์ ข้อยุติ และเอกสารอ้างอิงไม่ควรเกิน 10 ปี ความยาวของเรื่องไม่ควรเกิน 10-12 หน้าพิมพ์

บทความวิชาการ

เป็นบทความที่รวบรวมความรู้เรื่องหนึ่งจากวารสารหรือหนังสือต่าง ๆ ทั้งในและต่างประเทศ ประกอบด้วย บทนำ วิธีการสืบค้นข้อมูล เนื้อหาที่ทบทวน บทวิจารณ์ และเอกสารอ้างอิงความยาวของเรื่องไม่ควรเกิน 10 หน้าพิมพ์

กรณีศึกษา

เป็นรายงานผู้ป่วยที่ไม่ธรรมดา หรือที่เป็นโรคหรือกลุ่มอาการโรคใหม่ที่ไม่เคยรายงานมาก่อนหรือพบไม่บ่อยและต้องมีหลักฐานชัดเจนอย่างครบถ้วน บางครั้งรวมบันทึกเวชกรรม (Clinical Note) ซึ่งเป็นบทความรายงานผู้ป่วยที่มีลักษณ์เวชกรรม (Clinical Feature) และ/หรือการดำเนินโรค (Clinical Course) ที่ไม่ตรงแบบ ที่พบไม่บ่อย ประกอบด้วย บทนำพรรณนาผู้ป่วย (Case Descreption) วิจารณ์หรือข้อสังเกต อภิปราย สรุปผลและเอกสารอ้างอิง

นโยบายส่วนบุคคล

ชื่อและอีเมลที่กรอกลงในระบบวารสารนี้จะไม่ถูกนำไปใช้ในงานอื่นหรือเปิดเผยให้กับหน่วยงานอื่นใดทราบนอกจากงานด้านวารสารในระบบนี้