Singburi Hospital Journal https://he01.tci-thaijo.org/index.php/shj <p>Singburi Hospital Journal มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่และเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนความรู้ ผลงานวิจัย บทความวิชาการ กรณีศึกษา และอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการรักษา การพยาบาลและการส่งเสริมสุขภาพ ในการนำไปสู่การสร้างองค์ความรู้ใหม่ ที่เป็นประโยชน์แก่สหสาขาวิชาชีพที่เกี่ยวข้อง ทั้งภายในและภายนอกโรงพยาบาล เป็นวารสารราย 4 เดือน ปีละ 3 ฉบับ ดังนี้</p> <p> ฉบับที่ 1 พฤษภาคม – สิงหาคม <br /> ฉบับที่ 2 กันยายน – ธันวาคม <br /> ฉบับที่ 3 มกราคม – เมษายน</p> th-TH <div class="item copyright"> <div class="item copyright"> <p>บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของโรงพยาบาลสิงห์บุรี</p> <p>ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับโรงพยาบาลสิงห์บุรี และบุคคลากรท่านอื่นๆในโรงพยาบาลฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว</p> </div> </div> singhosp-journal@hotmail.com (บรรณาธิการวารสารโรงพยาบาลสิงห์บุรี) Kew-walee@hotmail.com (นางสาวเกวลี แจ้งสว่าง) Tue, 31 Jan 2023 00:00:00 +0700 OJS 3.3.0.8 http://blogs.law.harvard.edu/tech/rss 60 ปัจจัยที่มีผลต่อการเข้าถึงวัคซีนโควิด-19 ของบุคคลที่มีปัญหาสถานะและสิทธิ https://he01.tci-thaijo.org/index.php/shj/article/view/260723 <p><strong>บทนำ:</strong> การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการรับบริการฉีดวัคซีนโควิด 19 ในกลุ่มผู้มีปัญหาสถานะและสิทธิ</p> <p><strong>วิธีการศึกษา:</strong> การศึกษานี้ใช้วิธีการวิจัยแบบผสมผสาน คือ การวิจัยเชิงปริมาณ โดยการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาและทดสอบความแตกต่าง (ANOVA test) ของการฉีดวัคซีนของกลุ่มเป้าหมายผู้ที่มีปัญหาสถานะและสิทธิ ในภาพรวมของประเทศ ระหว่าง 1 เมษายน 2564 ถึง 31 พฤษภาคม 2565 และการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการสัมภาษณ์เชิงลึกและสนทนากลุ่มผู้ที่เกี่ยวข้องและรับผิดชอบงานการให้บริการการฉีดวัคซีนกลุ่มบุคคลที่มีปัญหาสถานะและสิทธิ จาก 5 จังหวัด จำนวน 15 คน</p> <p><strong>ผลการศึกษา: </strong>ภาพรวมของการฉีดวัคซีน (เข็มที่ 1-4) กลุ่มบุคคลที่มีปัญหาสถานะและสิทธิทั่วประเทศ อยู่ที่ 8,686,301 เข็ม โดยเพศหญิงจะเข้ารับการฉีดวัคซีนมากกว่าเพศชายประมาณ 1.06 เท่า และกลุ่มอายุ 18-39 ปี เข้ารับการฉีดวัคซีนมากที่สุด (ประมาณร้อยละ 60-70) ความสำเร็จในการให้บริการการฉีดวัคซีนในกลุ่มผู้มีปัญหาสถานะและสิทธิเกิดจากความร่วมมือของหลายฝ่ายทั้งผู้ให้บริการและผู้รับบริการ ปัจจัยที่ส่งผลให้เกิดการเข้าถึงการฉีดวัคซีน ได้แก่ 1. การไม่เลือกปฏิบัติในการให้บริการฉีดวัคซีนกับคนทุกกลุ่ม 2. การทำงานเชิงรุกของเจ้าหน้าที่ในพื้นที่ เสริมการทำงานเชิงรับในสถานพยาบาล 3. การสร้างความรับรู้เรื่องของการฉีดวัคซีน ผ่านสื่อต่างๆ ที่ช่วยให้เข้าใจได้ในคนทุกกลุ่มปราศจากข้อจำกัดด้านภาษา 4. การให้ข้อมูลเพื่อความเชื่อมั่น ความปลอดภัยและผลข้างเคียงของวัคซีน 5. การบริหารวัคซีนที่เพียงพอ การกระจายวัคซีน และอำนวยความสะดวก</p> <p><strong>สรุปผลและการนำไปใช้:</strong> การให้บริการในพื้นที่มีกลไกในสถานการณ์การระบาดของโควิด 19 เพื่อรองรับการเข้าถึงวัคซีนของคนทุกกลุ่ม โดยเฉพาะผู้มีปัญหาสถานะและสิทธิทั้งผู้ที่มีเอกสารรับรองสิทธิและไม่มีเอกสารรับรอง โดยพบว่าจำนวนการฉีดวัคซีนมีอัตราที่สูงหลายเท่าเมื่อเทียบกับตัวเลขข้อมูลการขึ้นทะเบียนผู้มีสถานะและสิทธิ (6.42 เท่า: เข็มที่ 1 4,000,050 เข็ม ประชากรขึ้นทะเบียน 2565 จำนวน 623,335 คน) ดังนั้นหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการดูแลสถานะและสิทธิควรมีฐานข้อมูล การตรวจทานข้อมูล ความเชื่อมโยงของฐานข้อมูลที่ชัดเจน เพื่อมีข้อมูลเชิงประจักษ์ทางโครงสร้างประชากร และการกระจาย เพื่อออกแบบการบริหารจัดการบริการสาธารณสุขที่เกี่ยวข้องได้อย่างเหมาะสม</p> สุรชัย คำภักดี Copyright (c) 2023 โรงพยาบาลสิงห์บุรี https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he01.tci-thaijo.org/index.php/shj/article/view/260723 Tue, 31 Jan 2023 00:00:00 +0700 การพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยโรคเบาหวานในพื้นที่เกาะ https://he01.tci-thaijo.org/index.php/shj/article/view/261554 <p>การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยโรคเบาหวานของสถานพยาบาลในพื้นที่เกาะ ศึกษาประสิทธิผล และความพึงพอใจต่อระบบการดูแลผู้ป่วยโรคเบาหวานพื้นที่เกาะที่ได้พัฒนาขึ้น กลุ่มตัวอย่างจำนวน 90 คน จาก 3 รพ.สต. (รพ.สต.เกาะปันหยี รพ.สต.เกาะหมากน้อย และ รพ.สต.เกาะไม้ไผ่) เป็นผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 มีระดับน้ำตาลในเลือดมากกว่า 130 มิลลิกรัม/เดซิลิตร และไม่มีโรคแทรกซ้อนจากการป่วยเป็นโรคเบาหวาน แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มเปรียบเทียบ กลุ่มละ 45 คน กลุ่มทดลองใช้กับระบบการดูแลผู้ป่วยที่พัฒนาขึ้น ส่วนกลุ่มเปรียบเทียบใช้กับการดูแลแบบเดิม เครื่องมือที่ใช้ประกอบด้วย ระบบการดูแลผู้ป่วยโรคเบาหวาน แบบสอบถาม และแบบบันทึกภาวะสุขภาพ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา Chi-square test, Independent t-test และ Paired sample t-test ผลการศึกษา พบว่า ระบบการดูแลผู้ป่วยที่พัฒนาขึ้น ประกอบด้วย การแจ้งเตือนให้มารักษาตามนัด การรักษาพยาบาลและให้ความรู้ การติดตามและให้กำลังใจผู้ป่วยด้วยระบบการแพทย์ทางไกล และการสนับสนุนของโรงพยาบาลกับ รพ.สต.เครือข่าย ผลการใช้ระบบที่พัฒนาขึ้น พบว่า ผู้ป่วยโรคเบาหวานมีพฤติกรรมการดูแลตนเองดีขึ้น ระดับน้ำตาลในเลือด ดัชนีมวลกาย และเส้นรอบเอว ลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P-value &lt; 0.01) และมีพฤติกรรมการดูแลตนเอง ดีกว่าระบบการดูแลแบบเดิม มีระดับน้ำตาลในเลือดลดลงมากกว่าระบบการดูแลแบบเดิมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value &lt; 0.001) ผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ได้รับการดูแลด้วยระบบที่พัฒนา ร้อยละ 86.7 มีความพึงพอใจมาก ดังนั้น จึงสามารถใช้ระบบการดูแลผู้ป่วยโรคเบาหวานในพื้นที่เกาะที่ได้พัฒนาขึ้นนี้และขยายผลไปยังสถานบริการในพื้นที่เกาะอื่น ๆ</p> จิรวัฒน์ บุญรักษ์ Copyright (c) 2023 โรงพยาบาลสิงห์บุรี https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he01.tci-thaijo.org/index.php/shj/article/view/261554 Fri, 17 Mar 2023 00:00:00 +0700