ผลลัพธ์ของการรักษาโดยการให้ยาละลายลิ่มเลือดในผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันชนิด ST segment ยกขึ้น ในโรงพยาบาลสิงห์บุรี

ผู้แต่ง

  • ณัฐพล เกียรติกังวานชน กลุ่มงานอายุรกรรม โรงพยาบาลสิงห์บุรี

คำสำคัญ:

โรคหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันชนิด ST segment ยกขึ้น, การเปิดหลอดเลือดหัวใจโดยการให้ยาละลายลิ่มเลือด, ระยะเวลาที่เริ่มมีอาการแน่นหน้าอกถึงเริ่มให้ยาละลายลิ่มเลือด

บทคัดย่อ

บทนำ: โรคหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันชนิด ST segment ยกขึ้น (STEMI) เป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันต้นๆของประเทศไทย โดยในปีพ.ศ. 2562 พบว่ามีอัตราการเสียชีวิตเป็นอันดับ 3 ของโรงพยาบาลสิงห์บุรี ผู้วิจัยจึงมีความสนใจที่จะศึกษาดูผลสำเร็จและปัจจัยที่ส่งผลต่อการเปิดหลอดเลือดหัวใจสำเร็จด้วยวิธี pharmacoinvasive strategy โดยการให้ยาละลายลิ่มเลือด streptokinase ในผู้ป่วย STEMI ในโรงพยาบาลสิงห์บุรี

วิธีการศึกษา: การศึกษาแบบ retrospective descriptive study กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วย STEMI ที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลสิงห์บุรี ช่วงปี พ.ศ. 2560-2564 จำนวน 163 ราย โดยเก็บข้อมูลพื้นฐานและการรักษาในแบบบันทึกข้อมูลจากเวชระเบียนผู้ป่วยสถิติที่ใช้ ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยแบบหลายตัวแปรด้วยสถิติถดถอยพหุโลจิสติก (multiple logistic regression)

ผลการศึกษา: ผลการศึกษาพบว่า ผู้ป่วย STEMI ที่เข้ารับการรักษามีอายุเฉลี่ย 60 ปี เป็นเพศชายร้อยละ 72.4 ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจหัวใจเสร็จ (door-to-ECG time) เฉลี่ย 8 นาที หลังจากถึงโรงพยาบาล เริ่มให้ยาละลายลิ่มเลือด (door-to-drug time) เฉลี่ย 70 นาทีหลังจากถึงโรงพยาบาล ระยะเวลาที่เริ่มมีอาการแน่นหน้าอกถึงเริ่มให้ยาละลายลิ่มเลือด (total ischemic time) เฉลี่ย 325 นาที ผลลัพธ์หลังจากให้ยาละลายลิ่มเลือดมีจำนวนผู้ป่วยที่มีหลอดเลือดหัวใจเปิด 125 ราย คิดเป็นร้อยละ 76.7

เมื่อนำข้อมูลมาวิเคราะห์ถดถอยพหุโลจิสติกพบว่า ปัจจัยที่ส่งผลต่ออัตราการเปิดของหลอดเลือดหัวใจหลังจากให้ยาละลายลิ่มเลือดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value<0.05) ได้แก่ ผู้ป่วยที่มีอาการแน่นหน้าอกถึงให้ยาละลายลิ่มเลือดอยู่ภายใน 180 นาที ในขณะที่ปัจจัยเสี่ยงที่พบในผู้ป่วยกลุ่มที่หลอดเลือดหัวใจไม่เปิดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ คือมีระดับน้ำตาลในเลือดมากกว่า 126 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร

สรุป: ผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็น STEMI ที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลสิงห์บุรีด้วยวิธี pharmacoinvasive strategy ช่วงปีพ.ศ. 2560-2564 มีอัตราการเปิดหลอดเลือดหัวใจสำเร็จคิดเป็นร้อยละ 76.7 โดยผู้ป่วยที่มีระยะเวลาตั้งแต่เริ่มมีอาการแน่นหน้าอกถึงให้ยาละลายลิ่มเลือดอยู่ภายใน 180 นาที มีโอกาสที่หลอดเลือดหัวใจจะเปิดสูง

References

Srimahachota S, Kanjanavanit R, Boonyaratavej S, Boonsom W, Veerakul G, Tresukosol D, et al. Demographic, management practices and in-hospital outcomes of Thai Acute Coronary Syndrome Registry (TACSR): the difference from the Western world. Journal of the Medical Association of Thailand 2007; 90 Suppl 1:1-11.

สมาคมแพทย์โรคหัวใจแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมถ์, สมาคมแพทย์มัณฑนากรหัวใจและหลอดเลือดแห่งประเทศไทย, สมาคมโรคหลอดเลือดแดงแห่งประเทศไทย, คณะกรรมการพัฒนาระบบบริการสุขภาพ สาขาโรคหัวใจกระทรวงสาธารณสุข. แนวเวชปฏิบัติภาวะหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน พ.ศ. 2563 (Thai Acute Coronary Syndromes Guidelines 2020). สมุทรปราการ: เนคสเตป ดีไซน์; 2563

Armstrong PW, Gershlick AH, Goldstein P, Wilcox R, Danays T, Lambert Y, Sulimov V, Rosell Ortiz F, Ostojic M, Welsh RC, Carvalho AC, Nanas J, Arntz HR, Halvorsen S, Huber K, Grajek S, Fresco C, Bluhmki E, Regelin A, Vandenberghe K, Bogaerts K, Van de Werf F; STREAM Investigative Team. Fibrinolysis or primary PCI in ST-segment elevation myocardial infarction. N Engl J Med. 2013 Apr 11;368(15):1379-87.

Bouhajja B, Souissi S, Ghazali H, Yahmadi A, Mougaida M, Laamouri N, et al. [Evaluation of fibrinolysis with streptokinase in ST-elevation myocardial infarction admitted to emergency department]. Tunis Med. 2014;92(2):147-53.

วีรชัย ตรีวัฒนาวงศ์. ปัจจัยที่มีผลกับอัตราการเสียชีวิตของผู้ป่วยกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันชนิด ST Elevation ในโรงพยาบาลพระนารายณ์มหาราช จังหวัดลพบุรี. วารสารโรงพยาบาลมหาสารคาม. 2558;12(3):136-148

Wang N, Zhang M, Su H, Huang Z, Lin Y, Zhang M. Fibrinolysis is a reasonable alternative for STEMI care during the COVID-19 pandemic. J Int Med Res. 2020;48(10):30.

Masoomi M, Samadi S, Sheikhvatan M. Thrombolytic effect of streptokinase infusion assessed by ST-segment resolution between diabetic and non-diabetic myocardial infarction patients. Cardiology Journal. 2012;19(2):168-173.

Hashmi KA, Adnan F, Ahmed O, et al. Risk Assessment of Patients After ST-Segment Elevation Myocardial Infarction by Killip Classification: An Institutional Experience. Cureus. 2020;12(12):e12209.

Xie W, Patel A, Boersma E et al. Chronic kidney disease and the outcomes of fibrinolysis for ST-segment elevation myocardial infarction: A real-world study. PLoS One. 2021;16(1):e0245576.

Ibanez B, James S, Agewall S, Antunes MJ, Bucciarelli-Ducci C, Bueno H, et al. 2017 ESC Guidelines for the management of acute myocardial infarction in patients presenting with ST-segment elevation: The Task Force for the management of acute myocardial infarction in patients presenting with ST-segment elevation of the European Society of Cardiology (ESC). Eur Heart J. 2018;39(2):119-77.

Tantisiriwat W, Jiar W, Ngamkasem H, Tantisiriwat S. Clinical outcomes of fast track managed care system for acute ST elevation myocardial infarction (STEMI) patients: Chonburi Hospital experience. Journal of the Medical Association of Thailand. 2008;91:6:822-7.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

08-11-2022