ผลลัพธ์ของการใช้แนวปฏิบัติเพื่อป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อดื้อยาต้านจุลชีพ ที่ต้องควบคุมเป็นกรณีพิเศษ

ผู้แต่ง

  • ณิรดา รวยอาจิณ งานป้องกันและควบคุมการติดเชื้อ โรงพยาบาลสิงห์บุรี
  • ทองเปลว ชมจันทร์ หอผู้ป่วยหนัก โรงพยาบาลสิงห์บุรี
  • ประภาพรรณ สิงห์โต หอผู้ป่วยอายุรกรรมทั่วไป โรงพยาบาลสิงห์บุรี

คำสำคัญ:

การดื้อยาต้านจุลชีพที่ต้องควบคุมเป็นกรณีพิเศษ, ผลลัพธ์การใช้แนวปฏิบัติ

บทคัดย่อ

บทนำ: การดื้อยาต้านจุลชีพ (Antimicrobial resistance; AMR) เป็นปัญหาที่สำคัญในโรงพยาบาลทั่วโลก เพราะมีความชุกสูงและมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องการรักษาผู้ป่วยที่ติดเชื้อดื้อยาทำได้ยาก ต้องใช้ยาร่วมกันหลายขนาน ทำให้อยู่รักษาตัวในโรงพยาบาลนานขึ้น มูลค่ายาต้านจุลชีพที่ใช้รักษาเพิ่มขึ้นและมีอัตราการเสียชีวิตเพิ่มขึ้น

วิธีการศึกษา:การวิจัยเชิงพรรณนาแบบย้อนหลัง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลลัพธ์ของการใช้แนวปฏิบัติเพื่อป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อดื้อยาต้านจุลชีพที่ต้องควบคุมเป็นกรณีพิเศษ กลุ่มตัวอย่างคัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจง เป็นเวชระเบียนผู้ป่วยในของโรงพยาบาลสิงห์บุรีที่มีผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการจุลชีววิทยาว่าพบเชื้อดื้อยาต้านจุลชีพที่ต้องควบคุมเป็นกรณีพิเศษ จำนวน 232 ราย ในช่วงวันที่ 1 มกราคม -31 ธันวาคม 2564 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติแบบพรรณนา

ผลการวิจัย: กลุ่มตัวอย่างที่พบว่าเกิดการติดเชื้อดื้อยาต้านจุลชีพที่ต้องควบคุมเป็นกรณีพิเศษ มีจำนวน 232 ราย เป็นการติดเชื้อในโรงพยาบาล ร้อยละ 53.44 ส่วนใหญ่ (ร้อยละ73.70) มีอายุเฉลี่ย 66.23 ปี (SD 14.01) และมีโรคร่วม ร้อยละ 57.33 เคยเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล ร้อยละ 69.39 เคยติดเชื้อดื้อยามาก่อน พบว่าเป็นผู้ป่วยอายุรกรรมมากที่สุด (ร้อยละ 56.02) กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ (ร้อยละ58.62) พบว่าติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ เชื้อที่พบมากที่สุด คือ Escherichia coli (ร้อยละ 37.93) รองลงมาคือการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ เชื้อที่พบมากที่สุด คือ Acinetobacter baumannii (ร้อยละ 32.33) กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 47.41 ได้รับยาปฏิชีวนะมากกว่า 1 กลุ่ม มีมูลค่าการใช้ยาปฏิชีวนะต่อรายเฉลี่ย 11,799.12 บาท (SD 1141.70) ร้อยละ 30.17 มีจำนวนวันนอนระหว่าง 16-30 วัน และกลุ่มตัวอย่างร้อยละ 42.67 เสียชีวิตจากภาวะช็อคจากการติดเชื้อ

สรุปผลการวิจัย: จากการศึกษานี้พบว่า การติดเชื้อดื้อยาต้านจุลชีพที่ต้องควบคุมเป็นกรณีพิเศษ ในโรงพยาบาลส่วนใหญ่พบในหอผู้ป่วยสามัญอายุรกรรมและหอผู้ป่วยหนัก พบมากในผู้สูงอายุที่มีโรคร่วม มีประวัติเคยเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลและเคยติดเชื้อดื้อยา รวมทั้งผู้ที่ได้รับการคาสายสวน/อุปกรณ์ต่างๆ ไว้ในร่างกาย ติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะมากที่สุด และเชื้อที่พบมากที่สุด คือ Escherichia coli 

References

World Health Organization; WHO. (2021). Antimicrobial Resistance. เข้าถึงเมื่อ 15 มิถุนายน 2565. เข้าถึงได้จากhttps://www.who. int/news-room/fact-sheets/detail/ antimicrobial-resistance.

Center of Disease Control and Prevention; CDC. (2021). Combating Antibiotic Resistance: A Global Treat. เข้าถึงเมื่อ 15 มิถุนายน 2565. เข้าถึงได้จากhttps://www.cdc.gov/ drugresistance/index.html

สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.). (2564). Antimicrobial Resistance.เข้าถึงเมื่อ 15 มิถุนายน 2565. เข้าถึงได้จากhttps://www. hsri.or.th/researcher

National Antimicrobial Resistance Surveillance of Thailand; NARST. (2564). สถานการณ์เชื้อดื้อยาประจำปี 2563.เข้าถึงเมื่อ 15 มิถุนายน 2565.เข้าถึงได้จาก http://narst.dmsc.moph.go.th/;

สุกันยา บุญล้ำ. ปัจจัยเสี่ยงต่อการติดเชื้อดื้อยาใน ไอ ซี ยู ศัลยกรรม 2 โรงพยาบาลสุราษฎร์ธานี. วารสารศาสตร์สุขภาพและการศึกษา. 2021;1(1): 28-39.

สุกัญญา บัวชุม, ไพโรจน์ โจวตระกูลและสุชาดา วงพระจันทร์. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการติดเชื้อ แบคทีเรียกลุ่ม Enterobacteriaceae ที่ดื้อต่อยา Carbapenem : CRE ในผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาในผู้ป่วยใน โรงพยาบาลพิจิตร.วารสารวิจัยและวิชาการสาธารณสุขจังหวัดพิจิตร. 2563; 1(1): 1-9.

สุพัตรา อุปนิสากร, กุณฑิรา ถิ่นนิคม, และจารุวรรณ บุญรัตน์. ผลการควบคุมการเกิดเชื้อแบคทีเรีย ดื้อยาหลายขนานในหอผู้ป่วยไอ ซี ยู อายุรกรรม โรงพยาบาลตติยภูมิ. Region 11 Medical Journal. 2017;31(4):649-656.

นฤมล จุ้ยเล็ก, วิลาวัณย์ พิเชียรเสถียร, และนงเยาว์เกษตร์ภิบาล. การพัฒนาระบบการให้คะแนนปัจจัยเสี่ยงของการติดเชื้อดื้อยาหลายกลุ่มสำหรับผู้ป่วยใน. Nursing Journal. 2016;43(3):69-80.

งานพัฒนาบุคลากร โรงพยาบาลสิงห์บุรี. สถิติโรงพยาบาลสิงห์บุรี. 2564.

กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. คู่มือการประเมินการจัดการการดื้อยาต้านจุลชีพอย่างบูรณาการในโรงพยาบาล (EE-AMR Tool, Thailand). กรุงเทพฯ:ห้างหุ้นส่วนจำกัดงานพิมพ์ ; 2565.

ชลดา ผิวผ่อง.อุบัติการณ์การติดเชื้อแบคทีเรียกลุ่ม Enterobacteriaceaeที่ดื้อต่อยาCarbapenamsโรงพยาบาลสุราษฎร์ธานี. วารสารวิชาการแพทย์เขต 11. 2559;30(2): 2-12.

ปิยะฉัตร วิเศษศิริ, อะเคื้อ อุณหเลขกะและนงเยาว์ เกษตร์ภิบาล. การพัฒนารูปแบบการส่งเสริมการปฏิบัติการป้องกันการติดเชื้อดื้อยาของบุคลากรพยาบาลแผนกอายุรกรรมในโรงพยาบาล ระดับตติยภูมิ. Nursing Journal. 2015; 42(3) :119-134.

พรพิมล อรรถพรกุศล, พรนภา เอี่ยมลออ, จิราภรณ์ คุ้มศรี, สินจัย เขื่อนเพชร, นิภาพร ช่างเสนาและนัยนาวัฒนากูล. ผลลัพธ์ของการใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลในการป้องกันและ ควบคุมการติดเชื้อดื้อยาต้านจุลชีพ โรงพยาบาลนพรัตนราชธานี. APHEIT Journal of Nursing and Health. 2021; 3(3): 2685-2685.

สถาบันบำราศนราดูร กรมควบคุมโรค. คู่มือวินิจฉัยการติดเชื้อในโรงพยาบาล. กรุงเทพฯ: อักษรกราฟฟิกแอนด์ดีไซน์; 2561.

นิตยา อินทราวัฒนาและมุทิตา วนาภรณ์. โรคติดเชื้อในโรงพยาบาลและสถานการณ์การดื้อยา.Journal of Medicine and Health Sciences .2015; 22(1): 81-92.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

31-08-2022