คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคต้อกระจกก่อนและหลังทำผ่าตัด โรงพยาบาลทั่วไปแห่งหนึ่ง

ผู้แต่ง

  • ปราณี มีหาญพงษ์ กลุ่มงานการพยาบาล โรงพยาบาลสิงห์บุรี

คำสำคัญ:

คุณภาพชีวิต, การผ่าตัดต้อกระจก

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นงานวิจัยเชิงพรรณนา มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคต้อกระจกก่อนและหลังทำผ่าตัดต้อกระจกที่เข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลทั่วไปแห่งหนึ่ง จำนวน 64 ราย ระหว่างเดือนธันวาคม 2558 – เดือนมีนาคม 2559 โดยเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจงตามคุณสมบัติที่กำหนดไว้   เครื่องมือใช้เป็นข้อมูลผู้ป่วยจากเวชระเบียน แบบสอบถามคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคต้อกระจกก่อนและหลังทำผ่าตัดต้อกระจกของทองคูณ  ยุบัวภา สร้างตามแนวคิดของของชานและคณะจำนวน 24 ข้อ ซึ่งได้ขออนุญาตมาปรับใช้ตรวจสอบหาค่าความเที่ยง มีค่าสัมประสิทธิ์แอลฟ่าครอนบาคเท่ากับ .86  สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล คือ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป   

ผลการวิจัยพบว่า

  1. กลุ่มตัวอย่างมีอายุเฉลี่ย 43 ปี ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงจำนวน 46 คนคิดเป็นร้อยละ 71.90จบการศึกษาระดับประถมศึกษา จำนวน 34 คนคิดเป็นร้อยละ 53.10 สถานภาพสมรสคู่ จำนวน 58 คนคิดเป็นร้อยละ 90.60 อยู่นอกเขตอำเภอเมือง จำนวน 30 คนคิดเป็นร้อยละ 46.90 อาศัยอยู่กับลูกหลานและครอบครัวจำนวน 52 คนคิดเป็นร้อยละ 81.30มีรายได้จากตนเอง ร่วมกับมีคนอุปถัมภ์ และส่วนใหญ่อยู่กับบ้านจำนวน 39 คนคิดเป็นร้อยละ 60.90 รายได้เพียงพอ จำนวน 41 คนคิดเป็นร้อยละ 64.10 มีผู้ดูแลจำนวน 62 คนคิดเป็นร้อยละ 96.90 สัมพันธภาพรักใคร่กันดีจำนวน 57 คนคิดเป็นร้อยละ 89.10 มีบุตรช่วยเหลือจำนวน 50  คนคิดเป็นร้อยละ 78.10 ใช้สายตาปานกลางจำนวน 52  คนคิดเป็นร้อยละ 81.30 ทุกคนมีปัญหาสายตา มีโรคประจำตัว จำนวน 29  คนคิดเป็นร้อยละ 45.31 ก่อนผ่าตัดส่วนใหญ่สายตาข้างที่ผ่าตัดอยู่ในกลุ่มของระดับสายตาบกพร่อง 36 คนคิดเป็นร้อยละ 56.25 สายตาบอดจำนวน 20 คนคิดเป็นร้อยละ 31.25 สายตาใกล้เคียงปกติ จำนวน 8 รายคิดเป็นร้อยละ 12.51 หลังผ่าตัดส่วนใหญ่สายตาข้างที่ผ่าตัดอยู่ในกลุ่มของระดับสายตาใกล้เคียงปกติ จำนวน 31 คนคิดเป็นร้อยละ 48.43  สายตาบอดจำนวน 7 คนคิดเป็นร้อยละ 10. 93 และสายตาปกติจำนวน 4  คน คิดเป็นร้อยละ 6.25
  1. กลุ่มตัวอย่างก่อนผ่าตัดต้อกระจกมีคะแนนคุณภาพชีวิตโดยรวมและคุณภาพชีวิตรายด้านส่วนใหญ่อยู่ในระดับปานกลาง ยกเว้นความไม่สุขสบายจากอาการของต้อกระจกและด้านอารมณ์และจิตใจอยู่ในระดับต่ำ หลังผ่าตัดคะแนนคุณภาพชีวิตโดยรวม และคุณภาพชีวิตรายด้านทุกด้านอยู่ในระดับสูง ยกเว้นด้านอารมณ์และจิตใจอยู่ในระดับปานกลาง
  1. คะแนนของคุณภาพชีวิตโดยรวม และคุณภาพชีวิตรายด้าน หลังผ่าตัดต้อกระจกสูงกว่าก่อนผ่าตัด อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.001

References

ขรรค์ชัย จ๋วงพานิช. การเปรียบเทียบผลการผ่าตัดต้อกระจกแบบผู้ป่วยในกับแบบผู้ป่วยนอกในโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า. กรุงเทพฯ: 2548.

Eichenbaum JW. Geriatric vision loss due to cataracts, macular degeneration, and glaucoma. Mount Sinai Journal of Medicine: A Journal of Translational and Personalized Medicine. 2012;79(2) : 276-94.

สํานักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ. เจาะลึกระบบสุขภาพโรคต้อกระจก 2557 [18 กันยายน 2560]. Available from: https://www.hfocus.org/content/2014/12/8778.

ศักดิ์ชัย วงศกิตติรักษ์, ศุภชัย กิจศิริไพบูลย์. คู่มือสุขภาพตาดีสำหรับประชาชนและบุคลากรทางการแพทย์. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์พิมพ์ดี; 2550.

ลิวรรณ อุนนาภิรักษ์. การพยาบาลผู้สูงอายุ: ปัญหา ระบบประสาทและอื่นๆ 2 พ, editor. กรุงเทพมหานคร: บุญศิริการพิมพ์; 2552.

Houde SC, Huff MA. Age-related vision loss in older adults: A challenge for gerontological nurses. J Gerontol Nurs. 2003;29(4):25-33.

หอผู้ป่วยศัลยกรรมกระดูกชาย- หญิง. สรุปผลงานประจำปี. เอกสารไม่ตีพิมพ์,2558.

Chan CW, Wong JC, Chan KS, Wong W-K, Tam KC, Chau PS. Evaluation of quality of life in patients with cataract in Hong Kong. J Cataract Refract Surg. 2003;29(9): 1753-60.

ทองคูณ ยุบัวภา. คุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุที่เป็นต้อกระจกระยะก่อนและภายหลังผ่าตัดต้อกระจก: มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2551.

ธิดาวรรณ ไชยมณี. เปรียบเทียบคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุที่เป็นต้อกระจกระหว่างก่อนกับหลังผ่าตัดต้อกระจก และใส่เลนส์แก้วตาเทียมโรงพยาบาลศิริราช พ.ศ. 2551: มหิดล; 2551.

Chang-Godinich A, Ou RJ, Koch DD. Functional improvement after phacoemulsification cataract surgery. J Cataract Refract Surg. 1999;25(9):1226-31.

พนมไพร สิทธิวงษา, ญาณิกา เชษฐโชติศักดิ์, สุธาสินี สีนะวัฒน์. คุณภาพชีวิต (ด้านการมองเห็น) ของผู้ป่วยโรคเบาหวานขึ้นจอตาที่ได้รับการยิงเลเซอร์. ศรีนครินทร์เวชสาร.ก.ค.-ก.ย.2555;27(3):242-9.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

23-06-2022