การวิเคราะห์อัตรากำลังรายชั่วโมงของวิสัญญีพยาบาล

ผู้แต่ง

  • ชำเรือง อิงคะวะระ กลุ่มงานวิสัญญี โรงพยาบาลสิงห์บุรี

คำสำคัญ:

อัตรากำลังวิสัญญีพยาบาล, การบริหารทรัพยากรมนุษย์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา (Descriptive research) เพื่อศึกษาสถานการณ์ ความเพียงพอของการให้บริการพยาบาล ของวิสัญญีพยาบาลโรงพยาบาลสิงห์บุรี แต่ละช่วงเวลาเป็นรายชั่วโมง และผลลัพธ์การจัดอัตรากำลัง ระหว่างวันที่ 1 กรกฎาคม 2560 ถึง 31 ตุลาคม 2560 เฉพาะในเวลาราชการ โดยเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย ทะเบียนการผ่าตัดของผู้ป่วยที่ได้รับบริการวิสัญญี จากโปรแกรม HosXp และแบบบันทึกข้อมูลจำนวนวิสัญญีพยาบาลที่ให้บริการแต่ละช่วงเวลา  วิเคราะห์ข้อมูลจำนวนวัน จำนวนการใช้ห้องผ่าตัด จำนวนวิสัญญีพยาบาล แบบแผนการจัดอัตรากำลัง จำนวนครั้งที่อัตรากำลังวิสัญญีพยาบาลต่ำกว่าปกติ โดยใช้วิธีการทางสถิติ แจกแจงความถี่ จำนวนร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และเปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยการใช้ห้องผ่าตัด และค่าเฉลี่ยอัตรากำลังวิสัญญีพยาบาล ระหว่างระยะที่ 1 และระยะที่ 2 ด้วยสถิติการวิเคราะห์ค่าที (T-test for independent sample)

ผลการวิจัยพบว่า ช่วงเวลาที่อัตรากำลังวิสัญญีพยาบาลต่ำกว่าปกติมากที่สุด คือ ช่วงเวลา 11-13 นาฬิกา แบบแผนการจัดอัตรากำลังระยะที่ 1 และระยะที่ 2 มีอัตรากำลังวิสัญญีพยาบาลต่ำกว่าปกติ ร้อยละ 16.99  และ 11.56 ตามลำดับ  อัตรากำลังวิสัญญีพยาบาล ในระยะที่ 1 และ ระยะที่ 2 มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ( t63= -1.267, p= .210) การใช้ห้องผ่าตัดในระยะที่ 1 และ ระยะที่ 2 ไม่แตกต่างกัน (t77= -.178, p= .859) -.178 ns ผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่า การผ่าตัดดำเนินไปแต่ละชั่วโมง แต่อัตรากำลังของวิสัญญีพยาบาลไม่ยืดหยุ่นตามการผ่าตัด จึงทำให้บางช่วงเวลามีอัตรากำลังวิสัญญีพยาบาลต่ำกว่าปกติ ผลการศึกษาครั้งนี้สามารถนำไปเป็นแนวคิดในการจัดอัตรากำลังวิสัญญีพยาบาลแบบยืดหยุ่น

References

Hodge. M.B.. Asch. SM & Olson, VA Developing indicators of nursing quality to evaluate nurse staffing ratio. JONA 2002; 32(6): 338-45.

Mark. BA What explains nurses'perceptions of staffing adequacy? JONA 2002; 32(5): 234-242

บุญใจ ศรีสถิตนรากูล. ภาวะผู้นำและกลยุทธ์การจัดการองค์การพยาบาล ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย: 2550.

บุณฑริกา อาจนาเสียว, ธีรวัฒน์ ชลาชีวะ,วรินี เล็กประเสริฐ.การจัดการความเสี่ยงทางวิสัญญี, วิสัญญีสาร. 2558 ; 41 (4): 263-277.

Aiken, L.H., Clarke, S.P., Sloane, DM, Sochalski, J. & Silber, J.H. "Hospital nurse staffing and patient mortality, nurse burnout, and job dissatisfaction." AMA 2002; 288(16): 1987-93.

Baumann, A, Giovannetti, P., O'Brin-Pallas, L., et al. Healthcare restructuring: The impact of job change. CJNL 2001; 14(1): 1-11.

Shindul-Rothschild, J., Berry, D., & Long-Middleton, E. Where have all the nurse gone? The results of our patient care survey. AJN 1996; 96(11): 25-40

กฤษฎา แสวงดี.แนวทางการจัดอัตรากำลังทางการพยาบาล. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์. 2545.

สมพร เตรียมเกียรติคุณ และกัญญดา ประจุศิลป์. การจัดอัตรากำลังบุคลากรทางการพยาบาลของวิสัญญีพยาบาลโรงพยาบาลตากสิน.วารสารพยาบาลทหารบก. 2554 ; 12( 2): 76-83.

Urden, LD., & Roode. J.L. Work sampling: A decision making tool for determining resources and work redesign. JONA 1997; 27(9): 34-40.

ธัญญานันท์ ศรีธรรมนิตย์. การบริหารทรัพยากรมนุษย์ที่มีประสิทธิผลของโรงพยาบาลเอกชน, วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, สาขาพาณิชยศาสตร์และการบัญชี. บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2559.

วันชัย สุขตาม. การจัดการทรัพยากรมนุษย์เชิงกลยุทธ,วารสารมหาจุฬาวิชาการ. 2560 ; 3(1): 86-104.

Morris, R., Macneela, P., Scott, A, Treacy P. & Hyde, A. Reconsidering the conceptualization of nursing workload: Literature review. Joumal of Advanced Nursing. 2007; 57(5): 463-471.

สถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล (องค์การมหาชน). มาตรฐานโรงพยาบาลและบริการสุขภาพ ฉบับเฉลิมพระเกียรติฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี.นนทบุรี: บริษัทหนังสือดีวันจำกัด. 2558.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

23-06-2022