ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับประสิทธิภาพการเบิกจ่ายเงินนอกงบประมาณผ่านระบบ GFMIS โรงพยาบาลชุมพรเขตรอุดมศักดิ์
คำสำคัญ:
ประสิทธิภาพการเบิกจ่ายเงินนอกงบประมาณ, การเบิกจ่ายผ่านระบบ GFMISบทคัดย่อ
การวิจัยเชิงบรรยายครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลของเจ้าหน้าที่คุณสมบัติของเครื่องคอมพิวเตอร์สำหรับบันทึกข้อมูลในระบบกับประสิทธิภาพการเบิกจ่ายเงินนอกงบประมาณด้านความทันเวลา โดยการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอนได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 410รายการ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบบันทึกส่งหลักฐานการจัดซื้อจัดจ้างขอเบิกเงิน เก็บรวบรวมข้อมูลจากแหล่งข้อมูลทุติยภูมิ ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลระหว่างเดือนกรกฎาคม - ธันวาคม 2560 สถิติวิเคราะห์ที่ใช้ได้แก่ สถิติร้อยละ (Percentage) ความถี่ (frequency) และไคสแควร์ (Chi -square)วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป
ผลการวิจัยพบว่า
- ประสิทธิภาพการเบิกจ่ายเงินนอกงบประมาณพบว่าระยะเวลาที่ใช้เบิกจ่ายเงินนอกงบประมาณ มีค่าเฉลี่ย 44.09 วัน ได้เบิกจ่ายเงินนอกงบประมาณ มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์กำหนด ร้อยละ 86.60 ซึ่งกำหนดไม่เกิน 90 วัน
- ปัจจัยส่วนบุคคลของเจ้าหน้าที่ด้านเพศ ประเภทข้าราชการ ตำแหน่งงาน ประเภทเจ้าหน้าที่ ประสบการณ์ปฏิบัติงานไม่มีความสัมพันธ์กันประสิทธิภาพการเบิกจ่ายเงินนอกงบประมาณด้านความทันเวลา
- คุณสมบัติของเครื่องคอมพิวเตอร์สำหรับบันทึกข้อมูลในระบบด้านระบบปฏิบัติการกับประสิทธิภาพการเบิกจ่ายเงินนอกงบประมาณด้านความทันเวลามีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05
ควรนำผลการวิจัยไปปรับปรุงประสิทธิภาพด้านระบบปฏิบัติการของเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีในหน่วยงานให้รองรับและสอดคล้องกับระยะเวลาของการการเบิกจ่ายมากยิ่งขึ้น
References
กรมบัญชีกลาง. คู่มือการปฏิบัติงานระบบการบริหารการเงินการคลังภาครัฐ ด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ GFMIS. กรุงเทพฯ : กระทรวงการคลัง; 2558.
ระเบียบการเบิกจ่ายเงินจากคลัง การเก็บรักษาเงิน และการนำเงินส่งคลัง พ.ศ.2551.ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 125, ตอนพิเศษ 50 ง (ลงวันที่ 7 มีนาคม 2551)
กองยุทธศาสตร์และแผนงาน สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. (2560) ,หลักเกณฑ์การวัดสถานะการเงิน ระดับ 7 Plus Efficiency Score. 2560.
พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี 2546. ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 120 , ตอนที่ 100 ก. (ลงวันที่ 9 ตุลาคม 2546).
กรมบัญชีกลาง. เรื่อง แนวทางปฏิบัติในการดำเนินการจัดซื้อจัดจ้างผ่านระบบการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐด้วยอิเลคทรอนิกส์ (e-Government Procurement :e-GP).หนังสือเวียนด่วนที่สุด ที่ กค 0405/ว322 ลงวันที่ 24 สิงหาคม 2560.
พัชราภรณ์ลิมปิอังคนันต์ ศึกษาเรื่อง ปัญหาและแนวทางแก้ไขการใช้ โปรแกรม GFMIS ในการจัดการด้านการเงินการคลังของประเทศไทยผ่านเครือข่าย internet : กรณี ศึกษาหน่วยงานราชการในจังหวัดแพร่.2552.
สุนันท์ สุขเจริญ ศึกษาเรื่องปัญหาในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ ปฏิบัติงานด้านการเงินและบัญชีด้วยระบบการบริหารการเงินการคลังภาครัฐสู่ระบบอิเล็คทรอนิคส์ (GFMIS) : กรณีศึกษาที่ทำการปกครองจังหวัดภาคกลาง.2548.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 โรงพยาบาลสิงห์บุรี
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของโรงพยาบาลสิงห์บุรี
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับโรงพยาบาลสิงห์บุรี และบุคคลากรท่านอื่นๆในโรงพยาบาลฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว