ประสิทธิผลของการส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพต่อพฤติกรรมการดูแลตนเอง ในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 จังหวัดลพบุรี

ผู้แต่ง

  • ราตรี ทองคำ กลุ่มงานอายุรกรรม โรงพยาบาลพระนารายณ์มหาราช

คำสำคัญ:

โรคเบาหวานชนิดที่ 2, ความรอบรู้ด้านสุขภาพ, พฤติกรรมการดูแลตนเอง

บทคัดย่อ

บทนำ: โรคเบาหวานโรคไม่ติดต่อเรื้อรังที่เป็นสาเหตุหลักการของเสียชีวิตคนไทยที่ พบว่า ส่วนใหญ่เกิดจากการมีพฤติกรรมการดูแลตนเองในการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ไม่เหมาะสม การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้

วิธีการศึกษา: รูปแบบการวิจัยแบบกึ่งทดลองศึกษาสองกลุ่ม ทำการศึกษาในกลุ่มตัวอย่างผู้ป่วยเบาหวานที่รักษาโรงพยาบาลพระนารายณ์มหาราช ในช่วงเดือนตุลาคม 2563 – มีนาคม 2564 ที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้ (HbA1C >7.0%) สุ่มตัวอย่างเข้ากลุ่มอย่างง่ายแบ่งออกเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มเปรียบเทียบกลุ่มละ 33 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นโปรแกรมส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพในผู้ป่วยเบาหวาน ได้รับการตรวจสอบคุณภาพผ่านเกณฑ์ความตรงตามเนื้อหาและความเชื่อมั่น

ผลการศึกษา: หลังได้รับโปรแกรมการส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพ ผู้ป่วยเบาหวานมีคะแนนเฉลี่ยความรอบรู้ด้านสุขภาพเพิ่มขึ้น (p=.000) และคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมการดูแลตนเองเพิ่มขึ้น (p=.000) และผลของระดับน้ำตาลสะสมในเลือดลดลง (p=.016) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ p<.05

สรุปผลการศึกษา: การส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพสามารถช่วยส่งเสริมให้เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม และ ลดระดับน้ำตาลในเลือดในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2

References

กระทรวงสาธารณสุข กรมควบคุมโรค สำนักโรคไม่ติดต่อ. แผนยุทธศาสตร์การป้องกันและควบคุมโรคไม่ติดต่อระดับชาติ 5 ปี (พ.ศ. 2560 - 2564). กรุงเทพฯ: บริษัท อิโมชั่น อาร์ต จำกัด 2560; 3-10.

World health organization. Health literacy. The solid facts. European journal of Public 2017; 24 :1880-87.

กระทรวงสาธารณสุข กรมควบคุมโรค สำนักโรคไม่ติดต่อ. รายงานประจำปี2559 โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง. [อินเตอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 1 ก.พ.2564]. เข้าถึงได้จาก: http:// www.thaincd.com.

กระทรวงสาธารณสุข. ฐานข้อมูล HDC.[อินเตอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 15 ก.พ.2564]. เข้าถึงได้จาก: https://lri.hdc.moph.go.th.

นันท์มนัส แย้มบุตร. รายงานผลการสำรวจพฤติกรรมสุขภาพ ความรอบรู้และปัจจัยแวดล้อมที่ส่งผลต่อสุขภาพวัยทำงานปีพ.ศ.2563 [อินเตอร์เน็ต]. 2564. [เข้าถึงเมื่อ 15ก.พ. 2564]. เข้าถึงได้จาก: http://dental 2.anamai.moph.go.th.

Siangdung S. Self-Care behaviors of patients with Uncontrolled DM. The Southern College Network Journal of Nursing and Public Health 2017; 4: 191-204.

สมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทย. แนวทางเวชปฏิบัติสาหรับโรคเบาหวาน 2560. ปทุมธานี: บริษัทร่มเย็นมีเดียจำกัด; 2560.

กระทรวงสาธารณสุข กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กองสุขศึกษา.โปรแกรมสุขศึกษาเพื่อสร้างเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพในกลุ่มผู้ป่วยโรคเบาหวาน-ความดันโลหิตรายใหม่.กรุงเทพ: บริษัท 25 มีเดีย จำกัด; 2563.

Orem ED, Taylor SG, Renpenning KML. Nursing: Concepts of practice. St. Louis: Mosby; 2001.

นิตยา เพ็ญศิรินภา. การเสริมพลังเพื่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือด. กรุงเทพฯ: บริษัทจรัลสนิทวงศ์การพิมพ์ จำกัด; 2562.

อ้อมฤทัย มั่นในบุญธรรม. ผลของโปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมโดยการเสริมสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพในการควบคุมระดับน้าตาลในเลือดและชะลอไตเสื่อมของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2. วารสารสำนักงานสาธารณสุข จังหวัดขอนแก่น 2562; 1: 121-32.

กองสุขศึกษา กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ. แบบประเมินความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพของประชาชนวัยทำงานในหมู่บ้านปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ.[อินเตอร์เน็ต].2563. [เข้าถึงเมื่อ 10 มี.ค.2564]. เข้าถึงได้จาก: http://www.hed. go.th.

พรวิจิตร ปานนาค, สุทธีพร มูลศาสตร์, เชษฐา แก้วพรม. ประสิทธิผลของโปรแกรมการพัฒนาความฉลาดทางสุขภาพของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่2 ที่ควบคุมระดับน้ำตาลไม่ได้ ตำบลบางวัว อำเภอบางปะกง จังหวัดฉะเชิงเทรา. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข 2560; 27(3): 91-106.

เอื้อจิต สุขพูล และคณะ. ผลของโปรแกรมการพัฒนาความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพสำหรับประชาชนกลุ่มวัยทำงาน. วารสารวิชาการสาธารณสุข. 2563; 29: 419-29.

รุ่งนภา อาระหัง, สุธีรา ฮุ่นตระกูล, ศศิธร รุจนเวช. ผลของโปรแกรมการส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพในการป้องกันโรคความดันโลหิตสูงสำหรับกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูงที่ชุมชนแห่งหนึ่งในจังหวัดนครปฐม.วารสารแพทย์นาวี 2561; 45: 253-64.

จริยา นพเคราะห์ และคณะ. ความรอบรู้ด้านสุขภาพและการจัดการตนเองในผู้สูงอายุที่เป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2. พยาบาลสาร 2563; 47(2): 251-61.

Nutbeam D, McGill B, Premkumar P. Improving health literacy in community population: a review of progress. Health Promot Int 2017; 33(5): 901-11

บุศรินทร์ ผัดวัง. การติดตามผลลัพธ์ระยะยาวในการสนับสนุนการจัดการดูแลตนเองต่อระดับน้ำตาลในกระแสเลือดและระดับความดันโลหิตในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง:กรณีศึกษาบ้านฮ่องห้าตำบลน้ำโจ้ อำเภอแม่ทะ จังหวัดลำปาง. วารสารวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ 2558; 9: 43-51.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

30-04-2022