การพยาบาลผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ใหญ่อุดตันที่มีภาวะช็อค: กรณีศึกษา

ผู้แต่ง

  • เกษร บัวคำโคก กลุ่มการพยาบาล โรงพยาบาลปากช่องนานา

คำสำคัญ:

การพยาบาล, มะเร็งลำไส้ใหญ่อุดตัน, ภาวะช็อค

บทคัดย่อ

มะเร็งลำไส้ใหญ่อุดตันถือเป็นภาวะวิกฤตที่ต้องได้รับการแก้ไขเร่งด่วน การที่ผู้ป่วยมีภาวะลำไส้ อุดตันจากมะเร็ง มักจะมีภาวะเสี่ยงต่อการขาดสารน้ำและเกลือแร่ต่างๆ หรือมีลำไส้รั่ว แตกทะลุ และส่งผลให้เกิดภาวะช็อค ไตวายเฉียบพลัน และเสียชีวิตได้

กรณีศึกษาผู้ป่วยชายไทย อายุ 65 ปี ปวดทั่วท้อง ท้องอืดตึง ไม่ถ่ายอุจจาระ ก่อนมาโรงพยาบาล 4 วันแพทย์วินิจฉัย Colonic obstruction R/O CA Colon ทำผ่าตัด Explor - lap with Sigmoid colostomy ในระยะก่อนผ่าตัด ให้การพยาบาลแก้ไขภาวะช็อคเนื่องจากความไม่สมดุลของสารน้ำและเกลือแร่ ส่งเสริมเพิ่มประสิทธิภาพการหายใจ บรรเทาอาการปวดท้อง และลดความวิตกกังวลของผู้ป่วยก่อนการผ่าตัด หลังผ่าตัดยังเสี่ยงต่อภาวะช็อคซ้ำ ได้ให้การพยาบาลควบคุมสารน้ำ บริหารยาเพื่อแก้ไขภาวะช็อค จนปลอดภัย หลังผ่าตัด 6 วัน ให้การดูแลก่อนและหลังการส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่เพื่อวินิจฉัยเพิ่มเติม พบก้อนมะเร็งที่ทวารหนัก และส่งตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ช่องท้องพบการลุกลามของมะเร็ง ในระหว่างดูแลผู้ป่วย เสี่ยงต่อการติดเชื้อที่บาดแผล ให้การบำบัดความปวดและดูแลบาดแผลอย่างถูกวิธี ไม่พบการติดเชื้อ วางแผนจำหน่ายโดยสอนการดูแล Colostomy ผู้ป่วยและญาติจนปฏิบัติได้ สามารถจำหน่ายผู้ป่วยได้รวมระยะเวลาที่รักษาในโรงพยาบาลจำนวน 12 วัน จากการติดตามผลการรักษาไม่พบภาวะแทรกซ้อน

บทบาทของพยาบาลที่ปฏิบัติงานในหอผู้ป่วยศัลยกรรมมีส่วนสำคัญอย่างมากในการดูแลรักษาพยาบาลผู้ป่วยในระยะวิกฤต ทั้งระยะก่อนช็อค ระยะช็อค และระยะหลังช็อค เพราะแต่ละระยะสามารถทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตได้ ภาวะแทรกซ้อนที่พบบ่อยได้แก่ ไตวายเฉียบพลัน ภาวะหายใจล้มเหลว แผลติดเชื้อ ดังนั้นพยาบาลต้องมีความรู้และพัฒนาทักษะ ความชำนาญในการดูแลผู้ป่วยเพื่อที่จะนำไปสู่การปฏิบัติการพยาบาลที่สอดคล้องกับปัญหาของผู้ป่วยแต่ละคนได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเกิดคุณภาพทางการพยาบาล

บทความมีการแก้ไข บทความแก้ไข

References

Siegel RL., Miller KD., Jemal A. Cancer statistics, 2015. CA Cancer J Clin; 2015; 65(1): 5-29.

สถาบันมะเร็งแห่งชาติ กลุ่มงานเทคโนโลยีสารสนเทศ. สถิติโรคมะเร็งประจำปี พ.ศ.2561กรุงเทพมหานคร: สถาบันมะเร็งแห่งชาติ; 2561.

งานสถิติมะเร็ง. สถิติโรคมะเร็งประจำปี พ.ศ.2562. โรงพยาบาลปากช่องนานา; 2562.

อำนาจ ศรีรัตนบัลล์. โรคลำไส้การวินิจฉัย และการรักษา. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2553.

บุศรา ชัยทัศน์. การดูแลผู้ป่วยโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ และทวารหนักที่ผ่าตัดเปิดทวารเทียม : บทบาทพยาบาลเฉพาะทางบาดแผล ออสโตมีและควบคุมการขับถ่ายไม่ได้. วารสารสภากาชาดไทย; 2559; 9(1): 19-33.

Downloads

Additional Files

เผยแพร่แล้ว

26-04-2020