กลุ่มอาการเมแทบอลิกในผู้ติดเชื้อเอชไอวี/ผู้ป่วยเอดส์ที่เข้ารับการรักษา ที่โรงพยาบาลเสนา
คำสำคัญ:
กลุ่มอาการเมแทบอลิก, ยาต้านไวรัส, ผู้ติดเชื้อเอชไอวี ผู้ป่วยเอดส์บทคัดย่อ
การวิจัยนี้เป็นการศึกษาเชิงพรรณนาแบบศึกษาข้อมูลย้อนหลัง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความชุกของกลุ่มอาการเมแทบอลิกและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเกิดกลุ่มอาการเมแทบอลิกในผู้ติดเชื้อเอชไอวี/ผู้ป่วยเอดส์ที่ได้รับการรักษาด้วยยาต้านไวรัสกลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ติดเชื้อเอชไอวี จำนวน 400 ราย ที่ได้รับ การรักษาด้วยยาต้านไวรัส ที่โรงพยาบาลเสนา เก็บข้อมูลระหว่างเดือนมกราคม - มีนาคม 2561 เก็บรวบรวมข้อมูลโดยให้กลุ่มตัวอย่างตอบแบบสอบถามและรวบรวมข้อมูลจากเวชระเบียน โดยใช้เครื่องมือ 3 ชุด ได้แก่ แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคลและประวัติการรักษา แบบบันทึกข้อมูล ทางคลินิก แบบบันทึกการรักษาด้วยยาต้านไวรัส วิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนาได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และใช้ Odds Ratio ในการทดสอบความสัมพันธ์กับกลุ่มอาการ เมแทบอลิก การวินิจฉัยกลุ่มอาการเมแทบอลิกใช้เกณฑ์ของ National Cholesterol Education Program - Adult Treatment Panel III (NCEP- ATPIII)
ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีค่าความชุกของกลุ่มอาการเมแทบอลิก เท่ากับร้อยละ 32.25 อาการทางเมแทบอลิกที่พบได้มากที่สุดคือ ระดับไขมันเอชดีแอลต่ำ (ร้อยละ 43.50) รองลงมา ได้แก่ ความดันโลหิตสูง (ร้อยละ 40.25) ระดับไตรกลีเซอไรด์ในเลือดสูง (ร้อยละ38.25) รอบเอวเกิน (ร้อยละ34.50) และระดับน้ำตาลในเลือดสูง (ร้อยละ14.75) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับกลุ่มอาการเมแทบอลิก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติได้แก่เพศหญิง (OR=1.6; 95%CI=1.08-2.53; p=.030) อายุ≥45 ปี (OR=1.6; 95%CI=1.13-2.63; p=.023) ค่าดัชนีมวลกาย ≥25กก./ม2 (OR=4.5; 95%CI=2.07-4.89; p=.001) ค่าจำนวนซีดีสี่ ≥400 เซลล์/มม3 (OR=1.9; 95%CI=1.26-3.10; p=.006) สูตรยาต้านไวรัสที่มี ddI, d4T, EFV หรือ PIs (OR=1.9; 95%CI=1.14-3.42; p=.018) และระยะเวลาที่รักษาด้วยยาต้านไวรัส ≥12 เดือน (OR=2.6; 95%CI=1.15-6.77; p=.032) ผลการวิจัยครั้งนี้พบว่า ความชุกของกลุ่มอาการเมแทบอลิก ในผู้ติดเชื้อเอชไอวีที่ได้รับการรักษาด้วยยาต้านไวรัส สูงกว่าความชุกในการศึกษาที่ผ่านมา ดังนั้นพยาบาลควรมีการวางแผนการป้องกันการเกิดกลุ่มอาการเมแทบอลิก และมีแผนการติดตาม กลุ่มอาการเมแทบอลิกในผู้ปวยกลุ่มนี้อย่างต่อเนื่อง โดยดูแลส่งเสริมให้ผู้ติดเชื้อเอชไอวีที่ได้รับการรักษาด้วยยาต้านไวรัส มีพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพที่เหมาะสมเพื่อป้องกันการเกิดกลุ่มอาการเมแทบอลิก ซึ่งเป็นปัจจัยเสี่ยงของโรคหัวใจและหลอดเลือด
References
Deerochanawong C. Metabolic syndrome [Internet].2006 [update 2006 Sep14; cited 2017 Jun 5] Available form: http://hpe4.anamai.moph.go.th/hpe4/data/ms/ms/Chanchaihtm
Grundy, S.M., Brewer, H.B., Jr, Cleeman, J.I., Smith, S.C., Claude, Jr.,& Lenfant, C. (2004). Definition of Metabolic Syndrome. Journal of the American Heart Association, 109, 433-438
Bureau of Non communicable diseases, Department of Disease Control. Ministry of Public Health. A practical guide for health behavioral modification to reduce multiple risk factors cardiovascular disease. Bangkok: Agricultural Cooperative Federation of Thailand 2010; 1:28.
Nation Health Security Office. Number of HIV infected patients were received antiretroviral Therapy and registered in national AIDS program of nation health security Office [Internet]. 2013 [update 2012 Nov 30; cited 2013 Dec 24]. Available form: http://www.napdlnhso.go.th/NAPWebReport/.
Bureau of AIDS, Tuberculosis and STDs department of disease control. Thailand national Guidelines on HIV/AIDS treatment and prevention 2017. Bangkok: Agricultural Cooperative Federation of Thailand;2007. p. 33-137.
National Cholesterol Education Program Expert Panel. Executive summary of the third report of the national cholesterol education program (NCEP) expert panel on detection, evaluation, and treatment of high blood cholesterol in adults (Adult Treatment Panel III): Final report JAMA. 2001; 285: 2486-2497.
Pie Y W, Hung CC, Liu WC, H sich C Y, Sun H Y, Lu C L, et al. Metabolic syndrome among HIV-Infected Taiwanese patients in the era of highly active antiretroviral therapy: prevalence and associated factors. J Antimicrob Chemother.2012;67:100-9.
Bergerson B M, Schumacher A, Sandvik l, Bruun JN, Birkeland K. Important differences in components of the metabolic syndrome between HIV–patient with and without highly active antiretroviral therapy and healthy controls. Scand J Infect Dis. 2006; 38:68 2-9.
Aekplalakorn W.The fourth Thai national health examination survey B.E.2552.4thed. Bangkok: The Graphic System Limited; 2009.p.166-167.
Plubboodee P. Prevalence of metabolic syndrome in HIV Infected patients Treated with Non - nucleoside reverse transcriptase Inhibitors (NNRTIs) based highly active antiretroviral therapy [dissertation]. University Prince of Songkhla; 2011. 83p.
Homkham N. (2554). Changes of fat levels within 2 years of follow up in Thai patients HIV infection after antiretroviral therapy [abstract]. In: National Symposium on AIDS 13; 2011 Mach 29-31; Impact Mungthongthanee Bangkok, Thailand; p. 126.
Jerico C, Gimino J L, Knobel H, Saballs P, Montero M, Lopez-Colomes J l, et al. Metabolic syndrome among HIV–Infected patients. Diabetes Care.2005; 28: 144-9.
Jantarapakdee J. The prevalence of metabolic syndrome in HIV-infected Thai people in the project MTCT-Plus [abstract]. In: National Symposium on AIDS 13; 2011 Mach 29-31; Impact Mungthongthanee Bangkok, Thailand; p. 131.
Sobieszczyk ME, Hoover DR, Anastos K, Muligan K, Tan T, Shi Q, et al. Prevalence and predictors of metabolic syndrome among HIV-Infected and HIV-uninfected woman in the women's Interagency HIV study. JA Acquir Immune Defic Syndr. 2008; 48:272-80.
Samaras K, Wand H, Law M, Emery S, Cooper D, Carr A. Prevalence of metabolic Syndrome in HIV-infected patients receiving highly active antiretroviral therapy using International diabetes foundation and adult treatment panel III criteria: associations with Insulin resistance, disturbed body fat compartmentalization, elevated C- reactive protein, and corrected hypoadiponectinemia. Diabetes Care.2007; 30:113-9.
Kiertiburanakul S. Side effect of antiretroviral drugs management. In: Sasisopin Kiertiburanakul, editor. Ambulatory care of HIV–infected patients. Bangkok: Beyond Enterprise Price Limited; 2014. p. 108-137.
Boonchong N, Dawvongyad N, Moolasarn S. Dyslipidemia status in HIV- infected/AIDS patients receiving an antiretroviral agent (GPO- VIRS). Thai Pharmaceutical and Health Science Journal.2008; 3:19-29.
Downloads
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของโรงพยาบาลสิงห์บุรี
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับโรงพยาบาลสิงห์บุรี และบุคคลากรท่านอื่นๆในโรงพยาบาลฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว