ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้การเจ็บป่วย และการสนับสนุนทางสังคมต่อพฤติกรรมสุขภาพในผู้ที่เข้าเกณฑ์ภาวะเมตาบอลิกซินโดร

ผู้แต่ง

  • มนตรี ภมร กลุ่มงานส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค สำนักงานสาธารณสุขอำเภออินทร์บุรี

คำสำคัญ:

การรับรู้การเจ็บป่วย, การสนับสนุนทางสังคม, พฤติกรรมสุขภาพ, ภาวะเมตาบอลิกซินโดรม

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้การเจ็บป่วย และการสนับสนุนทางสังคม กับพฤติกรรมสุขภาพของผู้ที่เข้าเกณฑ์ภาวะเมตาบอลิกซินโดรม กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ที่เข้าเกณฑ์ภาวะเมตาบอลิกซินโดรมที่มารับบริการที่คลินิกโรคเรื้อรัง ในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ อำเภออินทร์บุรี จังหวัดสิงห์บุรี จำนวน 197 ราย สุ่มตัวอย่างโดยวิธีการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ ในการวิจัย ประกอบด้วย แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคล แบบสัมภาษณ์พฤติกรรมสุขภาพ แบบสัมภาษณ์ การรับรู้การเจ็บป่วย และแบบสัมภาษณ์การสนับสนุนทางสังคม วิเคราะห์ข้อมูลด้วย การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์หาความสัมพันธ์ โดยใช้สถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ ของเพียร์สัน

ผลการวิจัย พบว่า การรับรู้การเจ็บป่วย และการสนับสนุนทางสังคม มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมสุขภาพของผู้ที่เข้าเกณฑ์ภาวะเมตาบอลิกซินโดรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r = .535, .478, p < .01 ตามลำดับ) จากผลการวิจัยมีข้อเสนอแนะ ให้ทีมบุคลากรทางสุขภาพนำไปเป็นข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนารูปแบบการส่งเสริมสุขภาพของผู้ที่เข้าเกณฑ์ภาวะเมตาบอลิกซินโดรม โดยการสร้างเสริมการรับรู้ การเจ็บป่วย และการสนับสนุนทางสังคม

References

ชัยวัน เจริญโชคทวี. ภาวะเมแทโบลิกซินโดรมและความเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดของบุคลากรคณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล. วชิรเวชสาร. 2012: 3; 183-191

International Diabetes Federation. The IDF consensus worldwide definition of the metabolic syndrome. 2014. [Cited 21 April 2020]. Available from: http://www.idf.org/metabolic-syndrome.

วิชัย เอกพลากรและคณะ. การสำรวจสุขภาพประชาชนไทยโดยการตรวจร่างกาย ครั้งที่ 4. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. กรุงเทพมหานคร: เดอะกราฟิโกซิสเต็มส์. 2553.

สิริลักษณ์ วินิจฉัย. ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้การเจ็บป่วย พฤติกรรมการรับประทาน อาหารและการออกกำลังกายของผู้ป่วยที่เข้าเกณฑ์อ้วนลงพุง. วิทยานิพนธ์ พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยบูรพา. 2554.

ผาสุก มั่นคง. ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้การเจ็บป่วย บุคลิกภาพที่เข้มแข็ง และการสนับสนุนทางสังคมต่อพฤติกรรมสุขภาพในผู้ที่เข้าเกณฑ์ภาวะเมตาบอลิกซินโดรม. วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตร มหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยบูรพา. 2557.

Salwa, A. “Effect of lifestyle intervention on health behaviors, weight and blood glucose Level among patients with diabetes mellitus”. Journal of Nursing Education and Practice. 2014: 4; 75-87.

Leventhal, H. The common sense model of illness representation: Theoretical and practical considerations. Social Distress and the Homeless. 1996: 5(1); 11-38.

House, J. S. Work stress and social support. Massachusetts: Addison-Wesley. 1981.

International Diabetes Federation. The IDF consensus worldwide definition of the metabolic syndrome. 2006. [Cited 21 April 2020]. Available from: http://www.idf.org/metabolic-syndrome.

Polit, D. F., & Hungler, B. P. Nursing research: Principle and Method (6th ed.). Philadelphia: Lippincott, 1999: 416-417.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

29-12-2020