รูปแบบการบริหารสำนักงานสาธารณสุขอำเภอเด่นชัยในสถานการณ์การระบาดของ โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 โดยใช้กระบวนการบริหารแบบ POLC

ผู้แต่ง

  • ประทวน กวางทอง สำนักงานสาธารณสุขอำเภอเด่นชัย อำเภอเด่นชัย จังหวัดแพร่

คำสำคัญ:

การบริหาร, โควิด 19, วัคซีน

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงปฏิบัติการนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการดำเนินงานตามรูปแบบการบริหารสำนักงานสาธารณสุขอำเภอเด่นชัยในสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด 19) โดยใช้กระบวนการบริหารแบบ POLC ดำเนินการในพื้นที่อำเภอเด่นชัย จังหวัดแพร่ กระบวนการวิจัยแบ่งออกเป็น 2 ระยะ ได้แก่ 1) ระยะเตรียมการ 2) ระยะดำเนินการวิจัย ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน (PAOR) คือ การวางแผน การดำเนินการตามแผน การสังเกตผลการพัฒนา และการสะท้อนผลการพัฒนา ซึ่งใช้รูปแบบการบริหารแบบ POLC เป็นกรอบดำเนินการ ประกอบด้วย การวางแผน การจัดโครงสร้างองค์การ การนำองค์กร และการควบคุม     การวิจัยเก็บข้อมูลด้วยหลายหลายวิธีร่วมกัน ได้แก่ การสังเกต การสัมภาษณ์ การใช้แผนที่ความคิด การบันทึก ศึกษาจากเอกสาร การใช้แบบสอบถาม และการประชุม วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณใช้ สถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ส่วนข้อมูลเชิงคุณภาพ ใช้การวิเคราะห์เนื้อหา

          ผลการวิจัยพบว่า อำเภอเด่นชัยขับเคลื่อนการฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด 19 ภายใต้การดำเนินการผ่านกระบวนการบริหาร ซึ่งแตกต่างกันไปตามบริบท เกิดการทำงานร่วมมือกันระหว่างภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ ชุมชน สถานพยาบาลในพื้นที่ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

References

สุนิทรา ตั้งซ้าย, เบญจวรรณ ตรีวงษ์, ชรินทร์ สุขประเสริฐ และณภัทณ์จันทร์ ด่านสวัสดิ์. การสำรวจความคิดเห็นเรื่องชีวิตวิถีใหม่ของนักศึกษากณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมหาวิทยาลัยราชภัฎวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมชูปถัมภ์. การประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีระหว่างสถาบัน ครั้งที่ 8 (ASTC 2021). ปทุมธานี : มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมภ์; 2564. หน้า 32-41.

สำนักสถิติแห่งชาติ. บทสรุปผู้บริหารความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 (วัคซีน). บทสรุปผู้บริหาร; 2564.

Allen, Louis A. Organization and Management. New York: McGraw-Hill; 1958.

Kemmis, S., & McTaggart, R. The Action Research Planner (3'ded.). Geelong, Australia: Deakin University Press; 1988.

Robert V. Krejcie & Daryle W. Morgan. Determining sample size for research activities. Educational and psychological measurement, 30;1970. p607-10.

งานระบาดวิทยา โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชเด่นชัย. ข้อมูลผู้ป่วยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 . โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชเด่นชัย; 2565

ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศ และดิจิทัลสุขภาพ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดแพร่. ข้อมูลการฉีดวัคซีนเดือนสิงหาคม 2565. สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดแพร่; 2565

เอื้อมพร คำสีดา. การจัดการคุณภาพที่บ้าน (work from home) ในช่วงการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ของกลุ่มคนวัยทำงานในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. (หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต), มหาวิทยาลัยรามคำแหง. 2563.เข้าถึงเมื่อ 15 สิงหาคม 2565. เข้าถึงได้จาก : http://www.vl-abstract.ru.ac.th/index.php/abstractData/viewIndex/177;

วงศ์ชนก สืบยบุล. ปัจจัยการบริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการทำงานของบุคลากรเทศบาลเมืองหนองปรือ อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี. สารนิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยบูรพา; 2559

วีรพนธ์ ศรีวิทยา. การบริหารจัดการและคุณภาพการให้บริการที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพ การทำงานของกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองอำเภอวัดโบสถ์ จังหวัดพิษณุโลก.วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์; 2562

Downloads

เผยแพร่แล้ว

03/23/2023

ฉบับ

บท

บทความวิจัย