สถานการณ์การดำเนินงานพัฒนาอนามัยสิ่งแวดล้อมในโรงพยาบาลตามเกณฑ์ GREEN & CLEAN Hospital เขตสุขภาพที่ 1 ปีงบประมาณ 2560-2564

The Situation of Environmental Health Development in Hospital Using GREEN & CLEAN Hospital Criteria in Health Region 1: Fiscal Years 2017-2021

ผู้แต่ง

  • นิราช นอรัตน์ ศูนย์อนามัยที่ 1 เชียงใหม่ กรมอนามัย
  • วิภู กฤษณุรักษ์ ศูนย์อนามัยที่ 1 เชียงใหม่ กรมอนามัย
  • นณธภัทร ธีระวรรธนะสิริ ศูนย์อนามัยที่ 1 เชียงใหม่ กรมอนามัย
  • อิฎฐวรา สำแดงสุข ศูนย์อนามัยที่ 1 เชียงใหม่ กรมอนามัย

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานการณ์การดำเนินงานพัฒนาอนามัยสิ่งแวดล้อมในโรงพยาบาลตามเกณฑ์  GREEN & CLEAN Hospital และศึกษาปัญหาและอุปสรรคการดำเนินงานในเขตสุขภาพที่ 1 รูปแบบการศึกษาเป็นวิจัยเชิงพรรณนา กลุ่มเป้าหมายคือโรงพยาบาลสังกัดกระทรวงสาธารณสุขในเขตสุขภาพที่ 1 จำนวน 107 แห่ง เป็นโรงพยาบาลชุมชน 89 แห่ง (ร้อยละ 83.18) โรงพยาบาลทั่วไป 8 แห่ง
(ร้อยละ 7.48 ) โรงพยาบาลสังกัดกรมวิชาการ 7 แห่ง (ร้อยละ 6.54) และโรงพยาบาลศูนย์ 3 แห่ง (ร้อยละ 2.8) ใช้ข้อมูลทุติยภูมิจากผลการประเมินการพัฒนาอนามัยสิ่งแวดล้อมในโรงพยาบาลตามเกณฑ์  GREEN & CLEAN Hospital ระหว่างปีงบประมาณ 2560-2564 และใช้ข้อมูลรายงานการตรวจราชการและนิเทศงานปี 2560-2563 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา

ผลการวิจัยพบว่า ตั้งแต่ปีงบประมาณ 2560 ถึงกันยายน 2564 โรงพยาบาลสังกัดกระทรวงสาธารณสุข ผ่านการประเมินระดับพื้นฐานและระดับดีร้อยละ 100 ระดับดีมากร้อยละ 93.46 และระดับดีมาก Plus ขึ้นไปร้อยละ 70.09 จังหวัดที่สามารถยกระดับการพัฒนาตามเกณฑ์ได้ถึงระดับดีมาก Plus ร้อยละ 100 คือ จังหวัดแพร่ และจังหวัดลำปาง เมื่อวิเคราะห์ข้อมูลแยกรายจังหวัดพบว่ามีบางจังหวัดไม่สามารถขับเคลื่อนให้ผ่านตามค่าเป้าหมายระดับดีมากขึ้นไปร้อยละ 90 ได้คือ จังหวัดพะเยา ร้อยละ 85.71 และจังหวัดน่าน
ร้อยละ 73.33

ปัญหาและอุปสรรคของของการดำเนินงานที่พบในโรงพยาบาลบางจังหวัดที่ยังไม่สามารถดำเนินการได้ตามเป้าหมายที่กำหนด เนื่องจากโรงพยาบาลมีศักยภาพในการขับเคลื่อนการพัฒนาที่แตกต่างกันไปตามบริบทของพื้นที่ บางแห่งมีข้อจำกัดด้านกำลังคนที่ไม่เพียงพอ บางแห่งงบประมาณสนับสนุนได้รับการจัดสรรไม่เพียงพอต่อการบริหารจัดการ บางแห่งมีอาคารสถานที่ที่มีข้อจำกัดในการปรับปรุงพัฒนา และบางแห่งมีการสื่อสารภายในองค์กรที่มีประสิทธิภาพไม่เพียงพอต่อการขับเคลื่อนการดำเนินการ ส่งผลให้การยกระดับการพัฒนาโรงพยาบาลตามเกณฑ์ GREEN & CLEAN Hospital หลายโรงพยาบาลไม่ผ่านตามเกณฑ์มาตรฐาน ดังนั้น หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งในระดับส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค และระดับพื้นที่ ควรวิเคราะห์ผลการดำเนินงาน ปัจจัยที่ส่งผลกระทบและปัญหาอุปสรรคที่ส่งผลต่อการขับเคลื่อนโรงพยาบาล GREEN & CLEAN Hospital เพื่อปรับแนวทางและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในการดำเนินงานร่วมกัน เน้นการมีส่วนร่วมกับภาคีเครือข่ายชุมชนและท้องถิ่น และมีการขยายผลการดำเนินงานสู่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อเป็นการยกระดับการดำเนินงานพัฒนาโรงพยาบาลตามเกณฑ์ GREEN & CLEAN Hospital ให้มีการจัดการอนามัยสิ่งแวดล้อมที่ได้มาตรฐาน และสามารถรักษาคุณภาพการดำเนินงานได้อย่างต่อเนื่อง

References

สำนักอนามัยสิ่งแวดล้อม กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. แนวทางการดำเนินงาน GREEN & CLEAN Hospital.พิมพ์ครั้งที่ 3. นนทบุรี: โรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก; 2561.

กองบริหารการสาธารณสุข.คู่มือมาตรฐานโรงพยาบาลอาหารปลอดภัย Food Safety Hospital. พิมพ์ครั้งที่ 3. สมุทรสาคร: บอร์น

ทู บี พับลิชชิ่งจำกัด; 2561.

ศูนย์อนามัยที่ 1 เชียงใหม่. รายงานการตรวจราชการ เขตสุขภาพที่ 1 [อินเทอร์เน็ต]. เชียงใหม่: ศูนย์อนามัยที่ 1 เชียงใหม่; 2563 [เข้าถึงเมื่อ 18 สิงหาคม 2564]. เข้าถึงได้จาก: https://www.hpc1.go.th/hpc1/th/abouthpc1/indepartment/stategic/category/133-inspector1.html

สถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล. มาตรฐานโรงพยาบาลและบริการสุขภาพฉบับที่ 4 [อินเตอร์เน็ต]. ตุลาคม 2561 [เข้าถึงเมื่อ 20 มิถุนายน 2564]. เข้าถึงได้จาก https://www.ha.or.th › Contents

สำนักงานประกันคุณภาพ.โครงการการจัดการความรู้ปี 2563 : การแลกเปลี่ยนเรียนรู้และการถอดความรู้ [อินเตอร์เน็ต]. กันยายน 2563 [เข้าถึงเมื่อ 15 สิงหาคม 2564]; เข้าถึงได้จาก https://qdrm.ku. ac.th

อภิชาต พิมลไพบูลย์. ต้นทุนการจัดการมูลฝอยติดเชื้อในโรงพยาบาล. วารสารสมาคมเวชศาสตร์ป้องกันแห่งประเทศไทย[อินเตอร์เนต]. 2560 [เข้าถึงเมื่อ 10 สิงหาคม 2564]; ปีที่ 7: หน้าที่77-86. เข้าถึงได้จาก https://he01.tci-thaijo.org/index.php/scnet/article/view/84749; 2564.

อนุรัตน์ ไชยนุราช, ชมพูนุช สุภาพวานิช, กรรณิกา เรืองเดช ชาวสวนศรีเจริญ และพัชรินทร์ สมบูรณ์. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อกิจกรรมการดำเนินงานสาธารณสุขรวมใจรณรงค์ลดโลกร้อน ของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในเขตสุขภาพที่ 12. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้ [อินเตอร์เน็ต]. 2560 [เข้าถึงเมื่อ 10 สิงหาคม 2564]; ปีที่ 4:หน้าที่75-90. เข้าถึงได้จากhttps://he01.tci-thaijo.org/index.php/ scnet/issue/view/7813

Downloads

เผยแพร่แล้ว

11/10/2022

ฉบับ

บท

บทความวิจัย