การวิเคราะห์การดำเนินงานตามมาตรการด้านการส่งเสริมสุขภาพตามแผนยุทธศาสตร์ ด้านส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคสู่ความเป็นเลิศเขตสุขภาพที่ 7 ของศูนย์อนามัยที่ 7 ขอนแก่น

ผู้แต่ง

  • อรพินท์ ภาคภูมิ ศูนย์อนามัยที่ 1 ขอนแก่น

คำสำคัญ:

แผนยุทธศาสตร์การดำเนินงานการส่งเสริมสุขภาพ, การวิจัยเชิงเอกสาร, ศูนย์อนามัยที่ 7 ขอนแก่น

บทคัดย่อ

งานวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงเอกสาร (Documentary research) ซึ่งมีหลักเกณฑ์ในการคัดเลือกแผนงาน/ โครงการที่เกี่ยวข้อง5 กลุ่มวัยที่มีความสอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์การดำเนินงานการส่งเสริมสุขภาพทุกกลุ่มวัย วิเคราะห์ข้อมูลจากแผนงาน/โครงการ ซึ่งเป็นข้อมูลเป็นระดับปฐมภูมิ (Primary Data) และทุติยภูมิ(Secondary Data)เพื่อวิเคราะห์หาความสอดคล้องเชื่อมโยงกับปัจจัยที่เกี่ยวข้องและแนวโน้มของแผนงาน/ โครงการ/ ตามกลุ่มวัยของศูนย์อนามัยที่ 7 ขอนแก่น ที่ดำเนินการในช่วง 3 ปี คือ พ.ศ. 2560-2562 ที่ผ่านมา ตามแผนยุทธศาสตร์ส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคสู่ความเป็นเลิศ พ.ศ. 2560-2564 (ระยะ 5 ปีแรก) เขตสุขภาพที่ 7 ของศูนย์อนามัยที่ 7 ขอนแก่นและการสัมภาษณ์ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการจัดทำแผนงาน/ โครงการในศูนย์อนามัยที่ 7 ขอนแก่น จำนวน 7 คน นำเสนอเนื้อหาเชิงพรรณนา

ผลการวิจัยพบว่า แผนยุทธศาสตร์การดำเนินงานการส่งเสริมสุขภาพทุกกลุ่มวัยของศูนย์อนามัยที่ 7 ขอนแก่น ก่อนการดำเนินงานมีการประชุมจัดทำแผนร่วมกับเขตสุขภาพที่ 7 โดยร่วมกันวิเคราะห์สภาพปัญหาเพื่อกำหนดเป็นประเด็นสำคัญของเขตสุขภาพ และการสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินงานแก้ไขปัญหาการส่งเสริมสุขภาพทุกกลุ่มวัย ซึ่งปัญหาที่พบในระดับเขต พบในกลุ่มอนามัยแม่และเด็กเป็นส่วนใหญ่และได้กำหนดให้เป็นประเด็นในการตรวจราชการและนิเทศงานในระดับเขตสุขภาพ หลังดำเนินการตามมาตรการและแผนยุทธศาสตร์ส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคสู่ความเป็นเลิศ พบว่า แผนงาน/ โครงการในทุกกลุ่มวัย
มีการบูรณาการร่วมกับศูนย์วิชาการ/เครือข่ายที่เกี่ยวข้องมากขึ้น แต่ยังไม่เนียนเป็นเนื้อเดียวกัน บางมาตรการเป็นการกำหนดเป็นประเด็นเฉพาะเพื่อต้องการดำเนินการหรือทราบผลงานในช่วงเฉพาะเท่านั้น ข้อเสนอแนะ ผู้บริหารในระดับเขตสุขภาพควรมีการทบทวนแผนยุทธศาสตร์ให้เกิดการบูรณาการที่ชัดเจนมากขึ้น ควรมีการกำกับติดตามและปรับแผนยุทธศาสตร์เป็นระยะ

References

1. สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข.แผนยุทธศาสตร์ชาติ ระยะ 20 ปีด้านสาธารณสุข. กระทรวงสาธารณสุข. นนทบุรี. 2560.
2. สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. แผนยุทธศาสตร์ของสำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2559-2563. กระทรวงสาธารณสุข. นนทบุรี. 2559.
3. สำนักงานเขตสุขภาพที่ 7. แผนยุทธศาสตร์ส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคสู่ความเป็นเลิศ พ.ศ.2560-2579 เขตสุขภาพที่ 7. (เอกสารประกอบการประชุม). ขอนแก่น. 2559.
4. Scott, J. A Matter of Record, Documentary Sources in Social Research. Cambridge:Policy Press. 1990.
5. Scott, J. Social Research and Documentary Sources. Sage Benchmarks in Social Research Methods, Documentary Research Volume 1. SAGE Publication. 2006.
6. สุมาภรณ์ แซ่ลิ้ม. การศึกษาจัดกลุ่มประเทศในเอเชียตามลักษณะการพัฒนาทางด้านสุขภาพรองรับเป้าหมายแผนยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปี ด้านสาธารณสุข พ.ศ.2560-2579. วารสารกรมการแพทย์. 43(6); พฤศจิกายน-ธันวาคม 2561. 101-112. 2561
7. จันทร์โสดา พรทิพย์ และภัทรธิดา ผลงาม. ยุทธศาสตร์การพัฒนาแม่หญิงลาวในสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว. วารสารสังคมศาสตร์และมนุษย์ศาสตร์. 46(1); 290-321. 2563.
8. รัชยา รัตนะถาวร.รูปแบบการนำนโยบายส่งเสริมสุขภาพไปปฏิบัติในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย. 5(3); กันยายน-ธันวาคม 2558. 280-293.2558.
9. รัชนี ลักษิตานนท์. การประเมินรูปแบบการให้บริการคุมกำเนิดเพื่อป้องกันการตั้งครรภ์ซ้ำในวัยรุ่น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ศูนย์อนามัยที่ 5 ราชบุรี. วารสารช่อพะยอม. 30(2); มิถุนายน-ตุลาคม 2562. 205-216.2562.
10. สุณี วงศ์คงคาเทพ, วิภา ด่านธำรงกูล, อำนวย ภูภัทรพงศ์, ชัยรัตน์ จันทร์ตรี, กุลพร สุขุมาลตระกูล, และสุพิชชา วงศ์จันทร์. การประเมินผลการนำสู่การปฏิบัติของสามมาตรการเชิงนโยบายของการส่งเสริมสุขภาพกลุ่มวัยทำงานในระหว่าง ปี 2556-2560. [ออนไลน์]. 2561. ค้นเมื่อวันที่ 3 มีนาคม 2564. สืบค้นจาก https://kb.hsri.or.th/dspace/handle/11228/5006
11. พิชญาพร พีรพันธุ์ และประสพชัย พสุนนท์. การวิจัยเชิงเอกสารเพื่อสังเคราะห์รูปแบบการบริการสุขภาพสำหรับผู้สูงอายุในประเทศไทย. วารสารร่มพฤกษ์ มหาวิทยาลัยเกริก. 38(3); กันยายน-ธันวาคม 2563. 51-64.2563.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

09/08/2021