การขับเคลื่อนส่งเสริมสุขภาพเด็กวัยเรียนโดยใช้ค่ากลาง ตามกลวิธีโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพในตำบลบูรณาการ เขตสุขภาพที่ 1

ผู้แต่ง

  • ไพรชล ตันอุด ศูนย์อนามัยที่ 1 เชียงใหม่

คำสำคัญ:

ค่ากลางวัยเรียน ค่ากลางวัยเรียนในตำบลบูรณาการ

บทคัดย่อ

         การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาสถานการณ์การขับเคลื่อนการส่งเสริมสุขภาพเด็กนักเรียนโดยใช้ค่ากลางวัยเรียน ปัจจัยที่ส่งผลต่อการขับเคลื่อนการส่งเสริมสุขภาพโดยใช้ค่ากลางวัยเรียน จัดทำข้อเสนอเชิงนโยบายโดยใช้ค่ากลางเป็นเครื่องมือพัฒนาตำบลบูรณาการ(5) วิธีการศึกษาเป็นเชิงคุณภาพ เครื่องมือเป็นแบบสัมภาษณ์ แบบสังเกต ในพื้นที่ตำบลบูรณาการหนึ่ง และตำบลบูรณาการสอง ประชากรคือบุคลากรสาธารณสุข การศึกษา พระ ผู้นำชุมชน นักเรียน เลือกผู้ให้ข้อมูลหลักแบบเจาะจง จำนวน 84 คน วิเคราะห์ข้อมูลตามวัตถุประสงค์นำเสนอข้อมูลแบบพรรณนา ระยะเวลา 10 เดือน

         การศึกษาพบว่า การนำค่ากลางวัยเรียนไปขับเคลื่อนการส่งเสริมสุขภาพนักเรียน พื้นที่ตำบลบูรณาการหนึ่ง ระดับจังหวัดสนับสนุนให้ระดับอำเภอ ตำบล ใช้ได้ชัดเจน นำค่ากลางวัยเรียนไปใช้ได้ครบประเด็นคือ การเฝ้าระวังและคัดกรอง การใช้มาตรการทางด้านสังคม การจัดการสุขภาพของกลุ่มวัย การจัดสภาวะแวดล้อม การสื่อสารเปลี่ยนพฤติกรรม การปรับปรุงแผนงาน/โครงงาน สอดคล้องกับกลวิธีโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ1ในทุกประเด็น โดยคณะกรรมการศึกษา ผู้ปกครอง เจ้าหน้าที่สาธารณสุข ร่วมกันนำค่ากลางวัยเรียนไปยังโรงเรียน ส่วนพื้นที่ตำบลบูรณาการสอง ระดับจังหวัดชี้แจงนโยบายสู่การปฏิบัติระดับอำเภอ ตำบล ไม่ชัดเจนการนำค่ากลางวัยเรียนไปใช้ไม่ครบในประเด็น การจัดการสุขภาพของกลุ่มวัย การสื่อสารเปลี่ยนพฤติกรรม พื้นที่ตำบลบูรณาการหนึ่งมีปัจจัยความสำเร็จคือการถ่ายระดับจากจังหวัดสู่อำเภอตำบลชัดเจน การมีส่วนร่วมของบ้าน วัด โรงเรียนและภาคีเครือข่าย ชมรมศิษย์เก่า และมีข้อจำกัดเรื่องงบประมาณการดำเนินงาน ส่วนพื้นที่ตำบลสองมีข้อจำกัดเรื่องการมีส่วนร่วมของบ้าน วัด โรงเรียน ภาคีเครือข่าย สรุปว่าค่ากลางวัยเรียนกับกลวิธีโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพมีความคล้ายกัน ความสำเร็จมาจากความร่วมมือจากชุมชนเป็นสำคัญ การส่งเสริมสุขภาพนักเรียนควรเป็นบทบาทของโรงเรียนมี บ้าน วัด ภาคีเครือข่ายให้การสนับสนุน

 

References

1. กรมอนามัย. กระทรวงสาธารณสุข. แนวทางการดำเนินงานโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ. กรุงเทพ : โรงพิมพ์ชุมชนสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด; 2545.
2. กระทรวงสาธารณสุขและกระทรวงศึกษาธิการ. เกณฑ์มาตรฐานการประเมินโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ.กรุงเทพ : โรงพิมพ์ชุมชนสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด; 2545.
3. กรมสุขภาพจิต. กระทรวงสาธารณสุข. คู่มือสำหรับช่วยเหลือนักเรียนที่มีปัญหาสุขภาพจิต. กรุงเทพ : โรงพิมพ์ ร.ส.พ; 2541.
4. ดำรง บุญยืน. แนวคิดโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ. กรุงเทพ : โรงพิมพ์ชุมชนสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด; 2542.
5. ทรงพล วิชัยขัทคะ. การเสริมสร้างศักยภาพของชุมชนในการส่งเสริมสุขภาพ. กรมพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย.กรุงเทพฯ; 2545. (อัดสำเนา)
6. สำนักอนามัยสิ่งแวดล้อม กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. คู่มือการอนามัยสิ่งแวดล้อมในโรงเรียน. พิมพ์ครั้งที่ 3 กรุงเทพฯ : สำนักกิจการโรงพิมพ์ องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึกษา; 2552.
7. สำนักส่งเสริมสุขภาพ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. คู่มือแนวทางการดำเนินงานโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ ฉบับปี 2556 พิมพ์ครั้งที่ 1. : กรุงเทพฯ : ศูนย์สื่อและสิ่งพิมพ์แก้วเจ้าจอม; 2556
8. สำนักอนามัยสิ่งแวดล้อม กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. คู่มือการอนามัยสิ่งแวดล้อมในโรงเรียน. พิมพ์ครั้งที่ 3 กรุงเทพฯ : สำนักกิจการโรงพิมพ์ องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก; 2552.
9. สำนักส่งเสริมสุขภาพ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. คู่มือแนวทางการดำเนินงานโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ ฉบับปี 2556 พิมพ์ครั้งที่ 1. : กรุงเทพฯ : ศูนย์สื่อและสิ่งพิมพ์แก้วเจ้าจอม; 2556

Downloads

เผยแพร่แล้ว

08/06/2020

ฉบับ

บท

บทนิพนธ์ต้นฉบับ