อุบัติการณ์และแนวทางการพัฒนาระบบการคัดกรองภาวะพร่องไทรอยด์ฮอร์โมนในทารกแรกเกิด ในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ เชียงใหม่
บทคัดย่อ
ภาวะพร่องไทรอยด์ฮอร์โมน ยังเป็นปัญหาของพื้นที่ภาคเหนือ และเป็นสาเหตุสำคัญของการเกิดพัฒนาการล่าช้า ปัญญาอ่อนที่สามารถป้องกันและแก้ไขได้ถ้าได้รับการวินิจฉัย และรักษาอย่างทันท่วงที ดังนั้นระบบการตรวจคัดกรองภาวะพร่องไทรอยด์ในทารกแรกเกิดทุกรายจึงมีความสำคัญ ทำให้ทารกกลุ่มเสี่ยงได้รับการวินิจฉัยและรักษาอย่างรวดเร็ว เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตและเป็นประชากรที่มีคุณภาพต่อไป
วัตถุประสงค์
เพื่อศึกษาอุบัติการณ์ อัตราการเรียกกลับ (recall rate) อัตราการกลับมาตรวจยืนยัน (response rate) ของภาวะพร่องไทรอยด์ฮอร์โมนแต่กำเนิดในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ เชียงใหม่ ศึกษาสาเหตุ การรักษา การติดตามผลการรักษาทารกพร่องไทรอยด์ฮอร์โมนแต่กำเนิด รวมถึงปัญหาและอุปสรรคในการตรวจคัดกรองภาวะพร่องไทรอยด์ฮอร์โมนแต่กำเนิด เพื่อหาแนวทางในการพัฒนาระบบการคัดกรองและรักษาภาวะพร่องไทรอยด์ฮอร์โมนในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ เชียงใหม่
วิธีการศึกษา
ศึกษาแบบติดตามข้อมูลย้อนหลัง (Retrospective Study) โดยรวบรวมข้อมูลจากผลการตรวจคัดกรองและเวชระเบียนผู้ป่วยที่มีผลการตรวจคัดกรองไทรอยด์ฮอร์โมนผิดปกติ ในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ เชียงใหม่ ตั้งแต่เดือน ตุลาคม 2551 ถึง กันยายน 2557 รวมระยะเวลาในการศึกษา 6 ปี
ผลการศึกษา
มีจำนวนทารกเกิดมีชีพทั้งสิ้นจำนวน 8,219 ราย ได้รับการตรวจคัดกรองภาวะพร่องไทรอยด์ฮอร์โมนเป็นจำนวน 8,197 ราย คิดเป็นอัตราความครอบคลุมร้อยละ 99.73 มีทารกที่มีผลการคัดกรองผิดปกติ (TSH>25 มิลลิยูนิตต่อลิตร) ต้องกลับมาตรวจซ้ำจำนวน 18 ราย คิดเป็นอัตราการเรียกกลับ ร้อยละ 0.22 และอัตราการกลับมาตรวจยืนยัน คิดเป็นร้อยละ 100 จากผลการตรวจยืนยัน พบว่าเป็นโรคพร่องไทรอยด์ฮอร์โมนแต่กำเนิดจริง 5 ราย ร้อยละ 27.78 จากการตรวจติดตามพบทารก 5 รายนี้ เป็น permanent primary congenital hypothyroidism จำนวน 3 ราย transient hypothyroidism 2 ราย โดยพบเป็นจากยารักษาไทรอยด์ของมารดา จำนวน 1 ราย คิดเป็นอุบัติการณ์ของภาวะพร่องไทรอยด์ฮอร์โมนถาวรเท่ากับ 1:2,729 อัตราส่วนหญิงต่อชายเท่ากับ 2:1 โดยระยะเวลาที่กลับมารับการตรวจยืนยันเฉลี่ย 14±6.164 วัน อายุเฉลี่ยในการเริ่มรักษา 14±6.164 วัน ขนาดของ ยาที่ใช้รักษาเฉลี่ย 8.64±1.036 ไมโครกรัมต่อกิโลกรัมต่อวัน หลังให้การรักษาระดับ FT4 และ TSH กลับมาอยู่ ในเกณฑ์ภายในเวลาเฉลี่ย 53±39.693 วัน และ 59±43.994 วัน ตามลำดับ
สรุป
พบอุบัติการณ์ภาวะพร่องไทยรอยด์ฮอร์โมนแต่กำเนิดในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ เชียงใหม่ สูงกว่าอุบัติการณ์ในประเทศไทยจากการศึกษาปัญหาและอุปสรรคในการตรวจคัดกรองภาวะพร่องไทรอยด์ฮอร์โมนแต่กำเนิด จึงได้พัฒนาจัดทำแนวทางระบบการคัดกรองภาวะพร่องไทรอยด์ฮอร์โมนในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ เชียงใหม่เพื่อให้เด็กที่เป็นโรคไดรับการวินิจฉัยโดยเร็ว ไดผลการรักษาที่ดีและเติบโตเป็นทรัพยากรมนุษยที่มีคุณภาพของประเทศ โดยระบบการตรวจคัดกรองจะประสบความสำเร็จ ทุกฝ่ายจะต้องให้ความสำคัญกับระบบการ คัดกรองและทำงานประสานเชื่อมโยงกันเป็นอย่างดี
References
2. Roberts HE, Moore CA, Ferhoft PM, Brown AL, Khoury MJ. Population study of congenital hypothyroidism and associated birth defects, Atlanta 1972-1992. Am J Med Genet 1997 ;71: 29-32.
3. Charoensiriwatana W,Janejai N,Boonwanich W et al.Neonatal screening program in Thailand.Southeast Asian J Trop Med Public Health.2003;34 suppl3:94-100
4. Techasena W, Ngamsitthilerk P, Charoensawadi R et al. Result of screening or congenital hypothyroidism : preliminary report. Thai J Pediatr 1994; 33: 268-77. 24. Roizen NJ. Etiology of hearing loss
5. Simone Albers, Harvey L. Levy. Newborn Screening. In : H. William Taeusch, Roberta A. Ballard, Christine A. Gleason, Editors. Avery’s Diseases of The Newborn. 8th Ed. Philadelphia : Elsevier Saunders ; 2005 ; 338-48.
6. พัฒน์ มหาโชคเลิศวัฒนา. ภาวะพร่องไทรอยด์ฮอร์โมน. ใน : เปรมฤดี ภูมิถาวร, สุวัฒน์ เบญจพลพิทักษ์, กาญจนา ตั้งนรารัชชกิจ, สุเทพ วาณิชย์กุล, สุรางค์ เจียมจรรยา, บรรณาธิการ. กุมารเวชศาสตร์สำหรับนักศึกษาแพทย์เล่ม 1. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพมหานคร:บริษัท ธนาเพลส จำกัด; 2552. 342-8.
7. Allen DB, Farrell PM. Newborn screening : principles and practice. Adv Pediatr 1999;43;231-70
8. กระทรวงสาธารณสุข. โครงการ/กิจกรรมและตัวชี้วัด ในการขับเคลื่อนนโยบายรัฐมนตรีว่าการกระทรวง สาธารณสุข ข้อที่6 โดยคณะกรรมการบริหารนโยบาย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ชุดที่ 4. 2555. [cited 2013 Feb 12] Available from http:// bps.ops.moph.go.th/แนวทางขับเคลื่อนนโยบาย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข/8. นโยบายข้อที่ 6.doc )
9. ดวงฤดี วัฒนศิริชัยกุล.การตรวจคัดกรองโรคในมารดา และทารกแรกเกิด วารสารกุมารเวชศาสตร์ 2555; 51: 6-20.
10. วิยะดา เจริญศิริวัฒน์. Neonatal TSH Screening Experience in Thailand. ใน สมจิตร์จารุรัตน ศิริกุล, เปรมฤดีภูมิถาวร, วิชิต สุพรศิลป์ชัย, สุภาพ อรุณภาคมงคล, บรรณาธิการ. Pediatric Endocrinology : Practical Issues for Pediatricians. กรุงเทพฯ: บียอนด์เอ็นเทอร์ไพรซ์; 2554. หน้า 136-42.
11. เกวลี อุณจักร. Congenital hypothyroidism : Screening early intervention. ใน : สุทธิพงศ์ วัชรสินธุ, สมจิตร จารุรัตนศิริกุล, สุภาวดี ลิขิตมาศกุล, บรรณาธิการ. Guidelines for Management & Case Illustration in Pediatric Endocrinology. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์เท็กซ์ แอนด์ เจอร์นัลพับลิเคชั่น จำกัด ; 2545. 70-84.
12. เกวลี อุณจักร. การคัดกรองโรคพร่องธัยรอยด์ฮอร์โมนแต่กำเนิด. ใน: พัฒน์ มหาโชคเลิศวัฒนา, จิตติวัฒน์ สุขประสงค์สิน, สุภาวดี ลิขิตมาศกุล, ขวัญใจ ธนกิจจารุ, บรรณาธิการ. Endocrinology for Pediatricians. กรุงเทพมหานคร : ชัยเจริญ ; 2543 ; 149-57.
13. Kaye CI, Accurso F, La Franchi S, et al. Introduction to the newborn screening fact sheets. Pediatrics 2006; 118: 1304-12.
14. Thaithumyanon P, Srivuthana S, Poshyachinda M. Neonatal screening for hypothyroidism at a university hospital in Thailand. Southeast Asian J Trop Med Public Health 1999; 30: 25-7.
15. Mahachoklertwattana P, Puapradit W, Siripoonya P, Chareonpol O, Tuwasetthakul P, Rajatanavin R. Five-year thyrotropin screening for congenital hypothyroidism in Ramathibodi Hospital. J Med Assoc Thai 1999; 82: S27-S32.
16. Ratrisawadi V, Horpaopan S, Chotigeat U, et al. Neonatal screening program in Rajavithi Hospital, Thailand. Southeast Asian J Trop Med Public Health 1999; 30: 28-32.
17. Wasant P, Liammongkolkul S, Srisawat C. Neonatal screening for congenital hypothyroidism and phenylketonuria at Siriraj Hospital, Mahidol University, Bangkok, Thailand-a pilot study. Southeast Asian J Trop Med Public Health 1999; 30: 2: 33-7.
18. Panamonta O, Tuksapun S, Kiatchoosakun P, et al. Newborn screening for congenital hypothyroidism in Khon Kaen University Hospital, the first three years, a preliminary report. J Med Assoc Thai. 2003; 86: 932-7.
19. Songkunnatham S. Newborn screening for congenital hypothyroid in Sisaket Province during year 2003-2007. Thai J Pediatr 2009; 48: 34-41.
20. Suparat S, Somlak T.Newborn screening for congenital hypothyroidism in Chonburi Hospital during year 2006-2009. Thai J Pediatr 2013; 52: 27-35.
21. Stephen Lafranchi. Hypothyroidism ; In : Behrman RE, Kliegman RM, Jenson HB, Editors. Nelson Textbook of Pediatrics. 18th ED. Philadelphia : W.B. Saunders, 2007 : 2319-27