- สถานการณ์การจัดการอาชีวอนามัย ความปลอดภัย และสิ่งแวดล้อมในการทำงานของบุคลากรโรงพยาบาลโคกโพธิ์ไชย จังหวัดขอนแก่น
Keywords:
Hospital, Occupational health safety and working environment managementAbstract
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาสภาพแวดล้อมในการทำงาน ระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับด้านการจัดการอาชีวอนามัย ความปลอดภัย และสิ่งแวดล้อมในการทำงาน และประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากรโรงพยาบาลโคกโพธิ์ไชย จังหวัดขอนแก่น
วิธีการ: การศึกษาเชิงวิเคราะห์แบบภาคตัดขวาง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่ามัธยฐาน ค่าสูงสุด และค่าต่ำสุด ใช้สถิติเชิงอนุมาน โดยวิธีการวิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุคูณ เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการจัดการอาชีวอนามัย ความปลอดภัย และสิ่งแวดล้อมในการทำงานต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากรโรงพยาบาลโคกโพธิ์ไชย จังหวัดขอนแก่น โดยใช้วิธีการวิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุคูณ กำหนดระดับนัยสำคัญ 0.05
ผลการวิจัย: ความคิดเห็นเกี่ยวกับการจัดการอาชีว อนามัย และความปลอดภัยในการทำงานของบุคลากร, ความคิดเห็นเกี่ยวกับการจัดการสิ่งแวดล้อมในการทำงานของบุคลากร และ ความคิดเห็นเกี่ยวกับประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากร ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยมีค่าเฉลี่ย 3.78, 3.73 และ 3.98 ตามลำดับหัวข้อ ความสัมพันธ์ระหว่างการจัดการอาชีวอนามัย และความปลอดภัยในการทำงานต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากร พบว่า การป้องกัน คือ องค์กรมีการเฝ้าระวังสุขภาพและการเฝ้าระวังอันตรายจากการทำงานของบุคลากรมีความสัมพันธ์ต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากร (p-value = 0.023) และความสัมพันธ์ระหว่างการจัดการสิ่งแวดล้อมในการทำงานต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากร พบว่า สิ่งแวดล้อมทางกายภาพ คือ องค์กรจัดให้มีแสงสว่างเพียงพอต่อการทำงานและองค์กรมีอากาศที่ถ่ายเทและอุณหภูมิที่เหมาะสมต่อการทำงานมีความสัมพันธ์ต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากร (p-value=0.022)
สรุป: การจัดการอาชีวอนามัย และความปลอดภัยในการทำงาน ด้านการป้องกัน และการจัดการสิ่งแวดล้อมในการทำงาน ด้านสิ่งแวดล้อมทางกายภาพ มีความสัมพันธ์ต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากร ดังนั้น ควรมีการแต่งตั้งผู้รับผิดชอบงานด้านอาชีวอนามัย ความปลอดภัย และสิ่งแวดล้อมในการทำงานที่มีความเชี่ยวชาญ ลงพื้นที่สำรวจปัญหาภายในโรงพยาบาลอย่างสม่ำเสมอ พร้อมทั้งดำเนินการแก้ไขปัญหา ติดตามผลอย่างต่อเนื่อง มีการประกาศนโยบายและ ข้อปฏิบัติให้บุคลากรทราบ และปฏิบัติอย่างเคร่งครัดเพื่อเป็นการป้องกัน และเฝ้าระวังอันตรายจากการปฏิบัติงาน
References
ฉัตร์ยุภา จิโนรส, ชวพรพรรณ จันทร์ประสิทธิ์, & วันเพ็ญ ทรงคำ. (2559). ปัจจัยคุกคามสุขภาพจากการทำงานและภาวะสุขภาพตามความเสี่ยงของพนักงานทำความสะอาด โรงพยาบาลระดับตติยภูมิ. พยาบาลสาร, 43, 57-69.
ณัฏฐาสิริ ยิ่งรู้, & ฉัตรปารี อยู่เย็น. (2555) ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งแวดล้อมในการทำงานและประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากรทางการแพทย์: กรณีศึกษาโรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช. ปทุมธานี: คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยี
ราชมงคลธัญญบุรี.
ณัฐภูมิ พงษ์เย็น, & ธานัท วรุณกูล. (2557). แนวทางการปรับปรุงปัจจัยทางด้านสิ่งแวดล้อมในโรงพยาบาลชุมชนเพื่อเพิ่มความพึงพอใจ. วารสารวิชาการการออกแบบสภาพแวดล้อม, 1(2), 49-62.
ธนภรณ์ พรรณราย. (2565). ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของบุคลากรองค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลา. สารนิพนธ์ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
ธานินทร์ สุทธิกุญชร. (2543). ประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงาน: ศึกษาเฉพาะกรณี ฝ่ายการพนักงาน บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน). วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐศาสตร์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
นันทิดา โหวดมงคล. (2560). ความหมายและหลักการของการดำเนินงานด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย. นครปฐม: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม. (เอกสารที่ไม่มีการตีพิมพ์).
บรรจง ทองงอก. (2560). ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งแวดล้อมในการทำงานและประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากรโรงพยาบาล
พระนารายณ์มหาราช. วารสารโรงพยาบาลสิงห์บุรี, 26(1), 1-12.
พระราชบัญญัติควบคุมโรคจากการประกอบอาชีพและโรคจากสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2562. (2562, 22 พฤษภาคม). ราชกิจจานุเบกษา, 136(67ก), 215-235.
พระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 2554. (2554, 17 มกราคม). ราชกิจจานุเบกษา, 128(4ก), 5-25.
พรทิภา ซาบุตร. (2557). ความสัมพันธ์ของภาวะสุขภาพจิต สิ่งแวดล้อมในการทำงาน และความสามารถในการทำงานของพยาบาลวิชาชีพในโรงพยาบาลสังกัดกระทรวงสาธารณสุข จังหวัดปทุมธานี. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย ฉบับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 8(1), 171-183.
ศิริอนันต์ จูฑะเตมีย์. (2529). ความเครียดหรือสนุกกับงาน. พยาบาลสาร, 13, 53–55.
สถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล (องค์การมหาชน). (2565). มาตรฐานโรงพยาบาลและบริการสุขภาพ ฉบับที่ 5 (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: ก.การพิมพ์ เทียนกวง.
สำนักโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. (2554). การประเมินความเสี่ยงจากการทำงานของบุคลากรในโรงพยาบาล (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
สำนักอนามัยสิ่งแวดล้อม กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. (2554). คู่มือมาตรฐานการสุขาภิบาล และความปลอดภัยในโรงพยาบาล (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: สำนักงานกิจการ โรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก.
สำนักอนามัยสิ่งแวดล้อม กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. (2557). คู่มือมาตรฐานการสุขาภิบาล และความปลอดภัยในโรงพยาบาล (พิมพ์ครั้งที่ 5). นครปฐม: โรงพิมพ์สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ.
สำนักอนามัยสิ่งแวดล้อม กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. (2564). คู่มือสถานที่ทำงานน่าอยู่ น่าทำงาน เสริมสร้างคุณภาพชีวิต และความสุขของคนทำงาน. [ม.ป.ท.: ม.ป.พ.].
สุนทรี กิจการ. (2560). ปัจจัยสิ่งแวดล้อมที่มีผลต่อความสุขในการปฏิบัติงานของบุคลากรโรงพยาบาล ศรีสังวร จังหวัดสุโขทัย. วารสารโรคและภัยสุขภาพสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 3 จังหวัดนครสวรรค์, 11(2), 38-48.
สุนิสา ชายเกลี้ยง, วรวรรณ ภูชาดา, & รัชติญา นิธิธรรมธาดา. (2559). สิ่งคุกคามในสภาพแวดล้อมการทำงานและความเสี่ยงทางการยศาสตร์ของทันตบุคลากร. วารสารสาธารณสุขมหาวิทยาลัยบูรพา, 11(1), 99-110.
สุปราณี บัวขาว. (2561). การบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมทางกายภาพและความปลอดภัยส่งผลต่อการสร้างแรงจูงใจในการทำงานของบุคลากร โรงพยาบาลหนองบัวลำภู. วารสารการแพทย์โรงพยาบาลอุดรธานี, 26(3), 176-184.
สุวรรณีหงส์ วิจิตร, โสรยา สุภาผล, & เพ็ญพิชชา โพธากุล. (2564). ปัจจัยสภาพแวดล้อมในการทำงานและปัจจัยการทำงานเป็นทีมที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการทำงานของพนักงานโรงพยาบาลศุภมิตร จังหวัดสุพรรณบุรี. คณะบริหารธุรกิจและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ.
อะเคื้อ อุณหเลขกะ, & สุขาดา เหลืองอาภาพงศ์. (2556). การป้องกันอุบัติเหตุจากเข็มและของมีคมของโรงพยาบาลในประเทศไทย. พยาบาลสาร, 40, 130-142.
Downloads
Published
How to Cite
Issue
Section
License
Copyright (c) 2025 Faculty of Public Health, Khon Kaen University

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.