ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตายของประชาชนวัยทำงาน จังหวัดเชียงใหม่
คำสำคัญ:
ความเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตาย, ความฉลาดทางจิตวิญญาณ, คุณภาพชีวิต, ประชาชนวัยทำงาน, จังหวัดเชียงใหม่บทคัดย่อ
ปัจจุบัน การฆ่าตัวตายเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญ ซึ่งสถิติเสียชีวิตจากการฆ่าตัวตาย มีอัตราสูงกว่าเกณฑ์ที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนดไว้และมีแนวโน้มสูงขึ้น โดยเฉพาะในประชาชนกลุ่มวัยทำงาน ซึ่งหากบุคคลที่มีความฉลาดทางจิตวิญญาณ จะสามารถตระหนักรู้ ไตร่ตรอง ควบคุมภาวะทางจิตวิญญาณอย่างมีสติ ทำให้เผชิญและแก้ไขปัญหาได้อย่างเหมาะสม รวมถึงการมีคุณภาพชีวิต ที่สมบูรณ์ทั้งด้านสุขภาพ ร่างกายและจิตใจ จะสามารถดำรงชีวิตให้อยู่ภายใต้สภาวะทางสังคม เศรษฐกิจ สภาพแวดล้อมต่างๆ ได้ การศึกษาวิจัยครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความฉลาดทางจิตวิญญาณ คุณภาพชีวิต ความเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตายและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตายของประชาชนวัยทำงาน โดยการศึกษาแบบภาคตัดขวางศึกษาในกลุ่มประชาชนวัยทำงาน จังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 472 คน ดำเนินการเก็บข้อมูลระหว่างเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2566 – เดือนมกราคม พ.ศ. 2567 ซึ่งใช้แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบสอบถามความฉลาดทางจิตวิญญาณ แบบสอบถามคุณภาพชีวิตและแบบคัดกรองผู้ที่เสี่ยงต่อการฆ่าตัวตาย (Suicidal Ideation Screening Scale 9 : SU-9) ดำเนินการวิเคราะห์สถิติเชิงพรรณา ได้แก่ ค่าความถี่ (Frequency) ร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) และวิเคราะห์ความสัมพันธ์ด้วยค่าไคสแควร์ (Chi-square) ด้วยโปรแกรมวิเคราะห์สถิติสำเร็จรูป
ผลการศึกษา พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีระดับความฉลาดทางจิตวิญญาณโดยรวมอยู่ในระดับสูง มีระดับคุณภาพชีวิตโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง และมีความเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตาย ร้อยละ 28.81 สำหรับปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตายของประชาชนวัยทำงานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ คือ เพศ อายุ ระดับการศึกษา รายได้ พฤติกรรมสุขภาพ ความสัมพันธ์กับบุคคลรอบข้าง การถูกทำร้ายร่างกายและการสูญเสียบุคคลในครอบครัว การพยายามฆ่าตัวตายหรือการฆ่าตัวตายสำเร็จของสมาชิกในครอบครัว ความฉลาดทางจิตวิญญาณ และคุณภาพชีวิต ดังนั้น ควรมีการคัดกรองความเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตายและการติดตามอย่างต่อเนื่องในกลุ่มประชาชนวัยทำงาน
References
จรรยารักษ์ มีวงษ์สม. (2563). สถานการณ์การฆ่าตัวตายในภูมิภาคของประเทศไทย ช่วงปี พ.ศ.2555-2559. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชานิติวิทยาศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
จันทร์ทิพย์ อินทวงศ์, นัยนา พันโกฏิ และมนัสดาว แนวพนา. (2561). ภาวะสุขภาพ คุณภาพชีวิต และความสุขของประชาชน ในพื้นที่รอบเขตประกอบการอุตสาหกรรม จังหวัดระยอง. กรมอนามัย ส่งเสริมให้คนไทย สุขภาพดี, ตุลาคม - ธันวาคม 2561, 76-86.
จีระนันท์ คำแฝง. (2563). พฤติกรรมการฆ่าตัวตายสําเร็จของประชาชนอําเภอเขื่องในจังหวัดอุบลราชธานี. วารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 10, 18(2), 7-18.
ทองปักษ์ ดอนประจำ, & พงศธร ทวีธนวาณิชย์. (2564). ภาวะสุขภาพตามความเสี่ยงจากการทำงานและคุณภาพชีวิตของเกษตรกรผู้ปลูกพริก จังหวัดศรีสะเกษ. ศรีสะเกษ; สาขาวิชาสาธารณสุขชุมชน คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏ
ศรีสะเกษ.
ธนาคารแห่งประเทศไทย. (2563). รายงานภาวะเศรษฐกิจไทย ปี 2563. ค้นจาก https://www.bot.or.th/Thai/MonetaryPolicy/ EconomicConditions/AnnualReport/Pages/default.aspx
ธมนรดา โอภาสฐิติยศ. (2557). การเสริมสร้างพลังอำนาจเพื่อป้องกันการฆ่าตัวตายของชาวเขาเผ่ากระเหรี่ยงที่มีภาวะเครียด ในเขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านสบหาร ตำบลบ้านกาศ อำเภอแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน. วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.
ปฎาวุฒิ สุจินดามณีชัย. (2556). การยอมรับตนเองและบุคลิกภาพห้าองค์ประกอบที่พยากรณ์ความฉลาดทางจิตวิญญาณของครูโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 10 จังหวัดสมุทรสาคร. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.
ประภาส อุครานันท์, อภิชัย มงคล, ทวี ตั้งเสรี, วัชนี หัตถุพนม, ไพรวัลย์ ร่มซ้าย, & ไพลิน ปรัชญคุปต์. (2555). การพัฒนาแบบคัดกรอง ผู้ที่เสี่ยงต่อการฆ่าตัวตาย (SU-9). วารสารวิชาการสาธารณสุข, 21(6), 1093-1104.
ปิ่นปินัทธ์ สิริพัฒนกูล. (2557). ความเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตายของผู้ใช้แรงงานในโรงงานขนาดกลาง เขตนิคมอุตสาหกรรม จังหวัดระยอง. วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
พรพิมล พงษ์โหมด. (2560). คุณภาพชีวิตในการทำงาน ความเหนื่อยหน่ายในงานและความตั้งใจลาออกของพยาบาลแผนกวิกฤตโรงพยาบาลรัฐแห่งหนึ่ง. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
พัชรพรรณ ชื่นสงวน. (2554). ความสัมพันธ์ระหว่างเชาวน์จิตวิญญาณ ความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองและความสุขารทำงานของพนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน). วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
พัชรี พรมทับ. (2551). ความเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตายในชาวไทยภูเขาและปัจจัยที่เกี่ยวข้อง. วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตร
มหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวช บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัย เชียงใหม่.
มาโนช หล่อตระกูล. (2553). การฆ่าตัวตาย: การรักษาและการป้องกัน. กรุงเทพฯ: โครงการตำรามาธิบดี คณะแพทย์สาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล.
เมวดี ศรีมงคล. (2561). ปัจจัยที่สัมพันธ์กับความฉลาดทางจิตวิญญาณของนักศึกษาพยาบาล. วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตร
มหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวช บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยบูรพา.
ศูนย์เฝ้าระวังป้องกันการฆ่าตัวตาย โรงพยาบาลจิตเวชขอนแก่นราชนครินทร์. [ม.ป.ป.]. รายงานการฆ่าตัวตายของประเทศไทย.
ค้นจาก https://suicide.dmh.go.th/report/suicide/main.asp?ndead=1
สมบัติ สกุลพรรณ์. (2564). การพยายาลผู้มีพฤติกรรมการฆ่าตัวตาย. เชียงใหม่: คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
สราวลี แซงแสวง. (2559). คุณภาพชีวิตในการทำงานและความสมดุลของชีวิตในการทำงานของพนักงานระดับปฏิบัติการเจนเนอเรชั่น X และเจนเนอเรชั่น Y. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชานโยบายสังคม บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัย
ธรรมศาสตร์.
สุวัฒน์ มหัตนิรันดร์กุล และคณะ. (2540). เปรียบเทียบแบบวัดคุณภาพชีวิตขององค์การอนามัยโลก ทุก100 ตัวชี้วัดและ26ตัวชี้วัด. เขียงใหม่: โรงพยาบาลสวนปรุง.
หทัยทิพย์ เจริญศรี. (2559). ความชุกของความเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตายและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับความเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตายของประชากร อำเภอบ้านตาก จังหวัดตาก. วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัย
ขอนแก่น.
อัญชลี ศุภวิทยาภินันท์. (2552). ความสัมพันธ์ระหว่างเชาวน์ด้านจิตวิญญาณ ความสุข และพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์กร : กรณีศึกษาโรงพยาบาลเอกชนแห่งหนึ่งในจังหวัดนครปฐม. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
Castro, S., Pastene, C., Vásquez, N., Galleguillos, P., Salas, M., & Alvarado, R. (2024). Factors associated with suicide risk and attempts in healthcare students: A cross-sectional study. Medwave, 24(5), e2756.
Claveria, O. (2022). Global economic uncertainty and suicide: Worldwide evidence. Social Science & Medicine, 305, e115041.
World Health Organization. (2019). Suicide worldwide in 2019: global health estimates. Retrieved from https://www.who.int/ news-room/fact-sheets/detail/suicide
Yang, J. M., Kim, J. H., Kim, M. S., Hong, J. S., Gu, B. H., Park, J. H., et al. (2024). Association between alcohol use disorder and suicidal ideation using propensity score matching in Chungcheongnam-do, South Korea. Healthcare, 12(13), e1315. https://doi.org/10.3390/healthcare12131315.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2025 คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.