ความสัมพันธ์ระหว่างการมาตรวจตามนัดแพทย์ต่อการควบคุมระดับน้ำตาลเฉลี่ยสะสมในเลือดในผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2
บทคัดย่อ
โรคเบาหวานเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญ เนื่องจากทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ มากมาย รวมถึงการเสียชีวิตก่อนวัยอันควร การมาตรวจตามนัดแพทย์สม่ำเสมอเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อการควบคุมระดับน้ำตาลเฉลี่ยสะสมในเลือดของผู้ป่วยโรคเบาหวาน การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินความสัมพันธ์ของการมาตรวจตามนัดแพทย์ต่อการควบคุมระดับน้ำตาลเฉลี่ยสะสมในเลือดในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 รูปแบบการวิจัยเป็นการวิเคราะห์แบบภาคตัดขวาง โดยใช้ข้อมูลทุติยภูมิจากฐานข้อมูลของเวชระเบียนโรงพยาบาลสระใคร อำเภอสระใคร จังหวัดหนองคาย ในรอบ 1 ปี (ระหว่างเดือนมกราคม ถึง ธันวาคม พ.ศ. 2566) กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้เป็นผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 จำนวนทั้งหมด 1,021 คน วิเคราะห์หาความสัมพันธ์ของการมาตรวจตามนัดแพทย์และปัจจัยร่วมอื่น ได้แก่ เพศ อายุของผู้ป่วย ดัชนีมวลกาย และระยะเวลาที่ป่วยเป็นเบาหวาน ต่อการควบคุมระดับน้ำตาลเฉลี่ยสะสมในเลือด ด้วยสถิติการถดถอยพหุโลจิสติก นำเสนอผลด้วยค่า Odd ratios พร้อมด้วยค่าช่วงเชื่อมั่นร้อยละ 95 และ p-value
ผลการศึกษาพบว่า ผู้ป่วยส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 70.13 มีอายุเฉลี่ย 60.61±10.01 ปี ผู้ป่วยเกือบครึ่งหนึ่ง (ร้อยละ 47.50) มีประวัติการมาตรวจตามนัดแพทย์ไม่สม่ำเสมอในรอบ 1 ปี และผู้ป่วยไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลเฉลี่ยสะสมในเลือดได้ ร้อยละ 75.32 จากการวิเคราะห์ความสัมพันธ์พบว่า ผู้ป่วยที่มาตรวจตามนัดแพทย์ไม่สม่ำเสมอในรอบ 1 ปี มีโอกาสที่จะควบคุมระดับน้ำตาลเฉลี่ยสะสมในเลือดไม่ได้ 5.33 เท่า (95% CI: 3.74 ถึง 7.59; p-value<0.001) เมื่อเทียบกับผู้ป่วยที่มาตรวจตามนัดแพทย์อย่างสม่ำเสมอ
สรุป การมาตรวจตามนัดแพทย์ที่ไม่สม่ำเสมอมีผลต่อการควบคุมระดับน้ำตาลเฉลี่ยสะสมในเลือดของผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ดังนั้น ควรหาแนวทางหรือมาตรการสำหรับการติดตามรักษา โดยเฉพาะอย่างยิ่งการมาตรวจตามนัดแพทย์อย่างสม่ำเสมอของผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 เพื่อลดปัญหาหรือชะลอการเกิดภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นตามมาได้
References
กองโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. (2565). จำนวนและอัตราตายด้วย 5 โรคไม่ติดต่อ (NCD) ปี 2560 2564. ค้นเมื่อ 13 ตุลาคม 2566, จาก http://www.thaincd.com/2016/mission/documents.php?tid=32&gid=1-020
กาญจนา ปัญญาเพ็ชร์, นิภา มหารัชพงศ์, & ยุวดี รอดจากภัย. (2564). ปัจจัยที่สัมพันธ์กับความสามารถในการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 โรงพยาบาลเขาพนม จังหวัดกระบี่. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข, 31(3), 151-163.
กุสุมา กังหลี. (2557). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้เป็นเบาหวานชนิดที่ 2 โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า.วารสารพยาบาลทหารบก, 15(3), 256-268.
คะนึงนุช แจ้งพรมมา, & พัทธนันท์ คงทองม. (2561). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับระดับ HbA1c ของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 โรงพยาบาลพระยืน จังหวัดขอนแก่น. วารสารมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 10(19), 1-13.
ณัฐนนท์ พีระภาณุรักษ์ม. (2564). ความสัมพันธ์ของวิถีชีวิตและการปรับตัวตามแผนการรักษาของผู้ป่วยเบาหวาน ในคลินิกโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง โรงพยาบาลศรีเมืองใหม่ ตําบลนาคํา อําเภอศรีเมืองใหม่ จังหวัดอุบลราชธานี. วารสารสาธารณสุขมูลฐานภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, 36(2), 115-131
ธีรเดช ชนะกุล. (2565). ปัจจัยที่สัมพันธ์กับความสามารถในการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 โรงพยาบาลเขาพนม จังหวัดกระบี่. วารสารศาสตร์สาธารณสุขและนวัตกรรม, 2(3), 1-17.
ปกาสิต โอวาทกานนท์. (2554). ผลการดูแลรักษาเบาหวานและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลใน เลือดของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ในโรงพยาบาลทรายมูล. ศรีนครินทร์เวชสาร, 26(4),339-49.
พงษ์รัตน์ ไกรพรม. (2566). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ไม่พึ่งอินซูลิน ที่มารับบริการ ที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลโนนสมบูรณ์ อำเภอเมืองบึงกาฬ จังหวัดบึงกาฬ. ผลงานวิจัยและแลกเปลี่ยนความรู้ด้านการสาธารณสุข R2R BKPHO. ค้นเมื่อ 13 ตุลาคม 2566, จาก https://bkpho.moph.go.th/ssjweb/bkresearch/require/
files/post-doc/20231221121847.pdf
ยวิษฐา สุขวาสนะ. (2564). ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล ความรอบรู้ด้านสุขภาพ พฤติกรรมการดูแลตนเองกับการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2. ราชาวดีสาร วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุรินทร, 11(1), 52.
โรงพยาบาลสระใคร. (2566). รายงานข้อมูลผู้ป่วยโรคเบาหวาน อำเภอสระใคร จังหวัดหนองคาย. หนองคาย: โรงพยาบาล. (เอกสารอัดสำเนา).
ฤทธิรงค์บูรพันธ์ และนิรมล เมืองโสม. (2556). ปัจจัยที่มีผลต่อการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้ของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 โรงพยาบาลสร้างคอมจังหวัดอุดรธานี. วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 6(3), 102-109.
วริสรา สุวีระ และเสาวนันท์ บำเรอราช. (2557). การผิดนัดและตัวชี้วัดทางคลินิกของผลการดูแลในผู้ป่วย เบาหวานในหน่วยบริการปฐมภูมิสามเหลี่ยมโรงพยาบาลศรีนครินทร์. ศรีนครินทร์เวชสาร, 29 (5), 449-454.
วิชัย เอกพลากร. (บก.). (2563). รายงานการสำรวจสุขภาพประชาชนไทยโดยการตรวจร่างกาย ครั้งที่ 6 พ.ศ. 2562-2563. กรุงเทพฯ: อักษรกราฟฟิค แอนด์ ดีไซน์
วิชัย เอกพลากร. (บรรณาธิการ). (2557). รายงานการสำรวจสุขภาพประชาชนไทยโดยการตรวจร่างกาย ครั้งที่ 5 พ.ศ. 2557. นนทบุรี: สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข.
สมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทย ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมาร. (2566). แนวทางเวชปฏิบัติสำหรับโรคเบาหวาน 2566. กรุงเทพฯ: ศรีเมืองการพิมพ์.
สำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ. (2566). รายงานภาระโรคและการบาดเจ็บของประชากรไทย พ.ศ.2562. นนทบุรี: แฮนดี เพรส.
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดหนองคาย. (2566). สถานะสุขภาพการป่วยด้วยโรคไม่ติดต่อที่สำคัญ. ค้นเมื่อ 2 สิงหาคม 2566, จาก https://wwwnko.moph.go.th/main_new/
Alaofè, H., Hounkpatin, W. A., Djrolo, F., Ehiri, J., & Rosales, C. (2021). Knowledge, attitude, practice and associated factors among patients with type 2 diabetes in Cotonou, Southern Benin. BMC Public Health, 21(1), 1-11.
Alebachew Woldu, M., Diriba Wami, C., Likisa, J., Temesgen, G., Tesfaye, G., & Dinsa, H. (2014). Factors associated with poor glycemic control among patients with type 2 diabetes mellitus in Ambo Hospital, Ambo; Ethiopia. Endocrinology & Metabolic Syndrome, 3(4), 1-6.
Al-Rasheedi A. A. (2014). The Role of Educational Level in Glycemic Control among Patients with Type II Diabetes Mellitus. International Journal of Health Sciences, 8(2), 177-187.
Dantas, L. F., Fleck, J. L., Cyrino Oliveira, F. L., & Hamacher, S. (2018). No-shows in appointment scheduling: A systematic literature review. Health Policy, 122(4), 412-421.
GBD 2021 Diabetes Collaborators (2023). Global, regional, and national burden of diabetes from 1990 to 2021, with projections of prevalence to 2050: A systematic analysis for the Global Burden of Disease Study 2021. Lancet, 402(10397), 203-234.
Hwang, A. S., Atlas, S. J., Cronin, P., Ashburner, J. M., Shah, S. J., He, W., et al. (2015). Appointment “no-shows” are an independent predictor of subsequent quality of care and resource utilization outcomes. Journal of General Internal Medicine, 30(10), 1426-1433.
IDF Diabetes Atlas. (2021). Diabetes around the world 2021. Retrieved April 28, 2023, from https://diabetesatlas.org/
regional-factsheets/
Karter, A. J., Parker, M. M., Moffet, H. H., Ahmed, A. T., Ferrara, A., Liu, J. Y., et al. (2004). Missed appointments and poor glycemic control: an opportunity to identify high-risk diabetic patients. Medical care, 42(2), 110-115.
Nuti, L. A., Lawley, M., Turkcan, A., Tian, Z., Zhang, L., Chang, K., et al. (2012). No-shows to primary care appointments: subsequent acute care utilization among diabetic patients. BMC Health Services Research, 12, 304.
Ogez, D., Bourque, C. J., Péloquin, K., Ribeiro, R., Bertout, L., Curnier, D., et al. (2019). Definition and improvement of the concept and tools of a psychosocial intervention program for parents in pediatric oncology: A mixed-methods feasibility study conducted with parents and healthcare professionals. Pilot and Feasibility Studies, 5, 20
Patrick, N. B., Yadesa, T. M., Muhindo, R., & Lutoti, S. (2021). Poor Glycemic Control and the Contributing Factors Among Type 2 Diabetes Mellitus Patients Attending Outpatient Diabetes Clinic at Mbarara Regional Referral Hospital, Uganda. Diabetes, Metabolic Syndrome and Obesity, 14, 3123-3130.
Sun, H., Saeedi, P., Karuranga, S., Pinkepank, M., Ogurtsova, K., Duncan, B. B., et al. (2022). IDF Diabetes Atlas: Global, regional and country-level diabetes prevalence estimates for 2021 and projections for 2045. Diabetes Research and Clinical Practice, 183, 109119.
Yahaya, J. J., Doya, I. F., Morgan, E. D., Ngaiza, A. I., & Bintabara, D. (2023). Poor glycemic control and associated factors among patients with type 2 diabetes mellitus: A cross-sectional study. Scientific Reports, 13(1), 9673.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2025 คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.