ความสัมพันธ์ระหว่างโรคเบาหวานกับการกลับเป็นซ้ำของผู้ป่วยวัณโรค จังหวัดยโสธร: การศึกษาย้อนหลังแบบจับคู่
คำสำคัญ:
วัณโรค การกลับเป็นซ้ำ เบาหวานบทคัดย่อ
ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา พบอุบัติการณ์การกลับเป็นวัณโรคซ้ำ (Relapse) มีแนวโน้มสูงขึ้น ส่งผลต่อการเสียชีวิตจากวัณโรคที่เพิ่มขึ้น และผู้ป่วยวัณโรคที่มีโรคร่วมมีความเสี่ยงที่จะเสียชีวิตระหว่างการรักษา โดยเฉพาะผู้ป่วยวัณโรคที่มีโรคเบาหวานจะมีโอกาสเสียชีวิตและมีความเสี่ยงที่จะกลับเป็นวัณโรคซ้ำหลังการรักษาเสร็จสิ้น แต่อย่างไรก็ตามข้อมูลการศึกษาความสัมพันธ์โรคเบาหวานกับการกลับมาเป็นซ้ำของผู้ป่วยวัณโรคในประเทศไทยยังมีน้อย
วัตถุประสงค์ เพื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างโรคเบาหวานกับการกลับเป็นซ้ำของผู้ป่วยวัณโรค จังหวัดยโสธร
วิธีการดำเนินการวิจัย การศึกษาแบบ Matched case-control study อัตราส่วนระหว่าง case ต่อ control คือ 1 : 1 ตัวแปรในการจับคู่ ได้แก่ เพศ อายุ (±3 ปี) และเวลาที่สิ้นสุดการรักษาครั้งแรก (เดือนเดียวกัน) รวบรวมข้อมูลด้วยแบบคัดลอกจากฐานข้อมูลทะเบียนรักษาวัณโรคโรงพยาบาลของรัฐในจังหวัดยโสธร (National Tuberculosis Information Program, NTIP) และฐานข้อมูลด้านการแพทย์และสุขภาพ (43 แฟ้ม) ระหว่างวันที่ 1 มกราคม 2558 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2566 โดยมีกลุ่มศึกษา (ผู้ป่วยวัณโรคกลับเป็นซ้ำ) จำนวน 264 คน และกลุ่มควบคุม (ผู้ป่วยวัณโรคไม่กลับเป็นซ้ำ) จำนวน 264 คน วิเคราะห์ความสัมพันธ์โดยใช้สถิติ Multivariable conditional logistic regression นำเสนอด้วยค่า Adjusted Odds Ratio (Adjusted OR) และช่วงความเชื่อมั่น 95%
ผลการศึกษา โรคเบาหวานมีความสัมพันธ์กับการกลับเป็นซ้ำของผู้ป่วยวัณโรค อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value 0.001) เมื่อควบคุมผลกระทบจากตัวแปรอื่นๆ ในสมการสุดท้าย แล้วพบว่า ผู้ป่วยวัณโรคที่ป่วยเป็นโรคเบาหวาน มีโอกาสกลับเป็นวัณโรคซ้ำ 3.09 เท่า เมื่อเทียบกับผู้ป่วยวัณโรคที่ไม่ป่วยเป็นโรคเบาหวาน (Adjusted OR=3.09, 95% CI: 1.60-5.95)
สรุป โรคเบาหวานมีความสัมพันธ์กับการกลับเป็นซ้ำของผู้ป่วยวัณโรค ดังนั้น เพื่อลดอัตราการกลับเป็นซ้ำของผู้ป่วยวัณโรค ควรมีการเฝ้าระวังวัณโรคกลับเป็นซ้ำในกลุ่มที่มีประวัติเคยป่วยเป็นวัณโรคและปัจจุบันป่วยเป็นโรคเบาหวาน ให้ได้รับการคัดกรองทุกปีสามารถช่วยให้ผู้ป่วยได้รับการวินิจฉัยและการรักษาที่เหมาะสมก่อนที่วัณโรคจะลุกลาม มีการประเมินสถานะสุขภาพของผู้ป่วยเบาหวานและการติดตามผลการรักษาเป็นระยะจะทำให้ปรับแผนการรักษาให้เหมาะสม สามารถลดความเสี่ยงของการเกิดวัณโรคซ้ำได้
References
กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. (2558). แนวทางการบริหารจัดการผู้ป่วยวัณโรคดื้อ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. (2564). รายงานการดำเนินงานวัณโรคของประเทศไทย ปี พ.ศ. 2559-2563. กรุงเทพฯ: อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์.
กองยุทธศาสตร์และแผนงาน สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. (2560). International Statistical Classification of Diseases and Related Health Problems. กรุงเทพฯ: แสงจันทร์การพิมพ์.
กองยุทธศาสตร์และแผนงาน สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. (2566). สถิติสาธารณสุข 2565. นนทบุรี: กระทรวงสาธารณสุข.
กองโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. (2566). โรคเบาหวานและวัณโรค. ค้นเมื่อ 31 มกราคม 2567, จาก http://www.thaincd.com/2016/mediadetail.php?id=14530&tid=&gid=1-015-009
ธนวัฒน์ ชาชิโย. (2566). โภชนาการสำหรับผู้ป่วยวัณโรคปอด. ค้นเมื่อ 2 มิถุยายน 2567, จาก https://www.gj.mahidol.ac.th/
main/knowledge-2/tuberculosis-nutrition/.
มนูญ ลีเชวงวงศ์. (2562). ฝุ่นพิษ-วัณโรค ความท้าทายของสาธารณสุขไทย. ค้นเมื่อ 25 พฤศจิกายน 2566, จาก https://dmh.go.th/
news-dmh/view.asp?id=29523.
มัณฑนา สินทรัพย์ นนท์ธิยา หอมขำ และพรทิพย์ จอมพุก. (2565). อุบัติการณ์และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการกลับมาเป็นซ้ำของผู้ป่วยวัณโรค ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร. วารสารการแพทย์และวิทยาศาสตร์สุขภาพ, 29, 83-96.
วีระเดช พิศประเสริฐ. (2020). การวินิจฉัยภาวะทุพโภชนาการโดย Global Leadership Initiative on Malnutrition (GLIM). วารสารโภชนบำบัด, 28(1), 2-9.
สำนักวัณโรค กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. (2557). แนวทางเวชปฏิบัติการรักษาวัณโรคในเด็กพ.ศ. 2557. กรุงเทพฯ:
โรงพิมพ์สมาคมโรคติดเชื้อแห่งประเทศไทย.
สำนักวัณโรค กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. (2561). แนวทางการควบคุมวัณโรคประเทศไทย พ.ศ. 2561. กรุงเทพฯ: อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์.
Bestrashniy, J.R.B.M., Nguyen, V.N., Nguyen, T.L., Pham, T.L., Nguyen, T.A., Pham, D.C., et al. (2018). Recurrence of tuberculosis among patients following treatment completion in eight provinces of Vietnam: A nested case-control study. International Journal of Infectious Diseases, 74, 31-37.
Cudahy, P.G.T., Wilson, D., & Cohen, T. (2020). Risk factors for recurrent tuberculosis after successful treatment in a high burden setting: A cohort study. BMC Infectious Diseases, 20(1), 789.
Eksombatchai, D., Jeong, D., Mok, J., Jeon, D., Kang, H.Y., Kim, H.J., et al. (2023). Sex differences in the impact of diabetes mellitus on tuberculosis recurrence: a retrospective national cohort study. International Journal of Infectious Diseases, 127, 1-10.
Faustini, A., Hall, A.J., Mantovani, J., Sangalli, M., Perucci, C.A. (2008). Treatment outcomes and relapses of pulmonary tuberculosis in Lazio, Italy, 1999-2001: A six-year follow-up study. International Journal of Infectious Diseases, 12(6), 611-621.
Gadoev, J., Asadov, D., Harries, A.D., Parpieva, N., Tayler-Smith, K., Isaakidis, P., et al. (2017). Recurrent tuberculosis and associated factors: A five-year countrywide study in Uzbekistan. PloS One, 12(5), e0176473.
Giridharan, P., Selvaraju, S., Rao, R., Rade, K., Thiruvengadam, K., Asthana, S., et al. (2023). Recurrence of pulmonary tuberculosis in India: Findings from the 2019-2021 nationwide community-based TB prevalence survey. PloS One, 18(12), e0294254.
Hung, C.L., Chien, J.Y., & Ou, C.Y. (2015). Associated factors for tuberculosis recurrence in Taiwan: A nationwide nested case-control study from 1998 to 2010. PloS One, 10(5), e0124822.
Jo, K.W., Yoo, J.W., Hong, Y., Lee, J.S., Lee, S.D., Kim, W.S., et al. (2014). Risk factors for 1-year relapse of pulmonary tuberculosis treated with a 6-month daily regimen. Respiratory Medicine, 108(4), 654-659.
Kim, L., Moonan, P.K., Yelk Woodruff, R.S., Kammerer, J.S., & Haddad, M.B. (2013). Epidemiology of recurrent tuberculosis in the United States, 1993-2010. The International Journal of Tuberculosis and Lung Disease, 17(3), 357-360.
Lee, C.S., Ho, C.H., Liao, K.M., Wu, Y.C., & Shu, C.C. (2023). The incidence of tuberculosis recurrence: Impacts of treatment duration of and adherence to standard anti-tuberculous therapy. Journal of Infection and Public Health, 16(11), 1778-1783.
Lee, P.H., Lin, H.C., Huang, A.S., Wei, S.H., Lai, M.S., & Lin, H.H. (2014). Diabetes and risk of tuberculosis relapse: Nationwide nested case-control study. PloS One, 9(3), e92623.
Moosazadeh, M., Bahrampour, A., Nasehi, M., & Khanjani, N. (2015). The incidence of recurrence of tuberculosis and its related factors in smear-positive pulmonary tuberculosis patients in Iran: A retrospective cohort study. Lung India, 32(6), 557-560.
Mujtaba, MA. Richardson, M. Shahzad, H. Javed, MI. Raja, GK. Shaiq, PA., et al. (2022). Demographic and clinical determinants of tuberculosis and TB recurrence: A double-edged retrospective study from Pakistan. Journal of Tropical Medicine.
Nagu, T.J., Mboka, M.A., Nkrumbih, Z.F., Shayo, G., Mizinduko, M.M., Komba, E.V., et al. (2021). Clinical and imaging features of adults with recurrent pulmonary tuberculosis: A prospective case-controlled study. International journal of infectious diseases, 113(Suppl 1), S33-S39.
Qiu, B., Wu, Z., Tao, B., Li, Z., Song, H., Tian, D., et al. (2022). Risk factors for types of recurrent tuberculosis (reactivation versus reinfection): A global systematic review and meta-analysis. International journal of infectious diseases, 116, 14-20.
Rosser, A., Richardson, M., Wiselka, M.J., Free, R.C., Woltmann, G., Mukamolova, G.V., et al. (2018). A nested case-control study of predictors for tuberculosis recurrence in a large UK Centre. BMC Infectious Diseases, 18(1), 94.
Ruan, Q.L., Yang, Q.L., Sun, F., Liu, W., Shen, Y.J., Wu, J., et al. (2022). Recurrent pulmonary tuberculosis after treatment success: a population-based retrospective study in China. Clinical microbiology and infection, 28(5), 684-689.
Schlesselman J. J. (1982). Case-control studies: Design, conduct analysis. New York: Oxford University Press.
Shen, X., Yang, C., Wu, J., Lin, S., Gao, X., Wu, Z., et al. (2017). Recurrent tuberculosis in an urban area in China: Relapse or exogenous reinfection?. Tuberculosis, 103, 97-104.
Tian, P.W., Wang, Y., Shen, Y.C., Chen, L., Wan, C., Liao, Z.L., et al. (2014). Different risk factors of recurrent pulmonary tuberculosis between Tibetan and Han populations in Southwest China. European Review for Medical and Pharmacological Sciences, 18(10), 1482-1486.
World Health Organization [WHO]. (2020). Cause-specific mortality, 2000-2019. Retrieved February 1, 2024, from https://www.who.int/data/gho/data/themes/mortality-and-global-health-estimates/ghe-leading-causes-of-death
World Health Organization [WHO]. (2021). Global Tuberculosis Report 2021. Geneva: WHO.
World Health Organization [WHO]. (2023). Global Tuberculosis Report 2023. Geneva: WHO.
Youn, H.M., Shin, M.K., Jeong, D., Kim, H.J., Choi, H., & Kang, Y.A. (2022). Risk factors associated with tuberculosis recurrence in South Korea determined using a nationwide cohort study. PloS One, 17(6), e0268290.
Zhdanov, V. Bilenko, N. & Mor, Z. (2017). Risk Factors for Recurrent Tuberculosis among Successfully Treated Patients in Israel, 1999-2011. Original Articles, 19(4), 237-241.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2025 คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.