ปริมาณฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM2.5 และ PM10 กับความสัมพันธ์ของโรคที่มีความเกี่ยวเนื่องจากมลพิษทางอากาศในเขตจังหวัดสกลนคร

ผู้แต่ง

  • ไอรดา ไชยโยธา -
  • พรพรรณ สกุลคู

คำสำคัญ:

โรคจากมลพิษทางอากาศ, ฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM2.5, ฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM10,จังหวัดสกลนคร, วิเคราะห์ปริมาณฝุ่นละอองขนาดเล็ก

บทคัดย่อ

ในพื้นที่ภาคอีสานของประเทศไทยมีรายงานปัญหามลพิษ ค่า PM2.5 เกินมาตรฐาน โดยแหล่งกำเนิดฝุ่นละอองมาจากการเผาในที่โล่งพื้นที่เกษตรกรรม สถานประกอบการ โรงงาน และยานพาหนะคมนาคม ซึ่งส่งผลโดยเฉพาะจังหวัดสกลนครเป็นพื้นที่ที่มีเทือกเขากั้นจากภาคอื่น มีแอ่งโคราชและแอ่งสกลนคร จึงมีผลต่อการกระจายตัวของมลพิษทางอากาศ ซึ่งส่งผลกระทบทำให้มีอาการทางระบบทางเดินหายใจ จึงได้ศึกษาปริมาณฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM2.5 และ PM10 ในเขตจังหวัดสกลนครหาความสัมพันธ์ของ 4 โรค คือ โรคหอบหืด โรคปอดอักเสบ โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง และโรคหลอดเลือดสมองโดยใช้ข้อมูลคุณภาพอากาศ PM2.5, PM10 ข้อมูลจากสถานีตรวจวัดคุณภาพอากาศจังหวัดสกลนครของกรมควบคุมมลพิษและข้อมูลจากสถานีอุตุนิยมวิทยาจังหวัดสกลนคร ประกอบด้วย ความเร็วลม ทิศทางลมอุณหภูมิ ปริมาณฝน อุณหภูมิ ความชื้นสัมพันธ์ และจุดความร้อน หาความสัมพันธ์ของโรค 4 โรค จาก HDC สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสกลนครที่ส่งผลมาจากมลพิษทางอากาศและปริมาณฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM2.5 และ PM10 โดยศึกษาวิจัยตั้งแต่วันที่ 23 มิถุนายน 2564 – 31 ธันวาคม 2565 โดยใช้สถิติแบบกระจายตัวแบบปัวซองค์ (Poisson Distribution) ซึ่งเป็นการวิเคราะห์การถดถอยแบบอนุกรมเวลา (Time-series Regression Design) ระยะสั้น ผลการศึกษาพบว่าการศึกษาจำนวนผู้ป่วยที่มารับการ มีทั้งหมด 18 อำเภอ ระยะเวลา 554 วัน มีผู้ป่วยเข้ามารับการรักษาทั้งโรค 4 จากมลพิษทางอากาศทั้งหมดจำนวน 20,787 คน เฉลี่ย 50.76 คนต่ออำเภอต่อ 554 วัน จากการวิเคราะห์การถดถอยแบบปัวส์ซองค์ พบว่าปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการมารับการรักษาด้วยโรคหอบหืด โรคปอดอักเสบ โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง และโรคหลอดเลือดสมอง โดยการวิเคราะห์แบบตัวแปรเชิงพหุ (Multivariable analysis Asthma) พบว่า PM10 (µg/m3) ก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซต์ (ppb) ไนโตรเจนไดออกไซด์ (ppb) คาร์บอนมอนอกไซด์ (ppm) และก๊าซโอโซน (ppb) มีความสัมพันธ์ต่อการมารับการรักษาด้วยโรคหอบหืด โรคปอดอักเสบ      โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง และโรคหลอดเลือดสมอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value<0.05)    เมื่อควบคุมปัจจัยความเข้มข้นสารมลพิษทางอากาศ พบว่า PM2.5 (µg/m3) ไม่ได้เป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการมารับการรักษาทั้ง 4 โรคที่เกี่ยวเนื่องจากมลพิษทางอากาศ (OR<1,95%CI) แต่ PM10 (µg/m3) เป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการมารับการรักษาทั้ง 4 โรคที่เกี่ยวเนื่องจากมลพิษทางอากาศเป็น (OR=1.02,95%CI)  ควรมีการวางแผนและกำหนดมาตรการในการควบคุมป้องกัน และติดตามเฝ้าระวังปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM2.5, PM10 และความเข้มข้นของสารมลพิษทางอากาศที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพ และควรมีการแจ้งเตือนสถานการณ์รวมถึงสื่อสารผลกระทบและแนวทางการปฏิบัติตนการดูแลสุขภาพของประชาชน ควรมีการเพิ่มจุดในการเฝ้าระวัง PM2.5, PM10 และความเข้มข้นของสารมลพิษทางอากาศในพื้นที่ต่างๆ ให้ครอบคลุม รวมถึงวางแผนเตรียมความพร้อมด้านการแพทย์และสาธารณสุข และแผนเตรียมความพร้อมของแต่ละภาคส่วนครอบคลุมทุกด้าน เพื่อลดระดับฝุ่นละอองขนาดเล็ก ด้วยแผนการและมาตรการที่ดำเนินการต่อเนื่องอย่างยั่งยืน เพื่อส่งผลดีต่อสุขภาพของประชาชน

References

กรมควบคุมมลพิษ. (2549). รวมกฎหมายเกี่ยวกับมลพิษทางเสียงและความสั่นสะเทือน. ค้นเมื่อ 7 สิงหาคม 2565, จาก https://www.pcd.go.th/publication/4581

กรมควบคุมมลพิษ. (2554). รู้รอบทิศ มลพิษทางอากาศ บทเรียน แนวคิด และการจัดการ. กรุงเทพฯ: กชกรพับลิชชิง.

กรมควบคุมมลพิษ. (2562). แผนปฏิบัติการขับเคลื่อนวาระแห่งชาติ การแก้ไขปัญหาด้านฝุ่นละออง. จดหมายข่าวพิทักษ์สิ่งแวดล้อม, 2(3), 4.

กรมควบคุมมลพิษ. (2563). เขตควบคุมมลพิษ. ค้นเมื่อ 12 พฤษภาคม 2565, จาก http://www.pcd.go.th/info_serv/pczs/

pczDetail.cfm

กรมควบคุมโรค. (2561). คู่มือการเฝ้าระวังผลกระทบต่อสุขภาพจากปัญหาหมอกควันสำหรับบุคลากรสาธารณสุข. ค้นเมื่อ 12 พฤษภาคม 2565, จาก https://www.ddc.moph.go.th/uploads/files/c185f0a99c257b61db1cc99ec71eddf4.pdf

กระทรวงสาธารณสุข. (2564). การป่วยด้วยโรคจากมลพิษทางอากาศ. ค้นเมื่อ 7 สิงหาคม 2565, จาก https://hdcservice.moph.go.th/

hdc/reports/page

กลุ่มเฝ้าระวังฝุ่น จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. (2562). เรียนรู้อยู่กับฝุ่น PM2.5. ค้นเมื่อ 11 ธันวาคม 2566, จาก https://www.chula.

ac.th/wp-content/uploads/2019/10/chula-pm25-booklet-1.pdf

ช่อกรวิภา ปุนณศิริ, เบญจวรรณ ธวัชสุภา, ณัฎฐกานต์ ฉัตรวิไล ,ทิพย์กมล ภูมิพันธ์, & นายอาทิตย์ โพธิ์ศร. (2565). รายงานการศึกษาผลกระทบและคาดการณ์ผลกระทบต่อสุขภาพจากมลพิษทางอากาศและการพัฒนาดัชนีสุขภาพอันเนื่องมาจากคุณภาพอากาศของประเทศไทย. ค้นเมื่อ 12 พฤษภาคม 2565, จาก https://hia.anamai.moph.go.th/th/research/download/

?did=208776&id=90702&reload=

ที่ทำการปกครองจังหวัดสกลนคร. (2559). สภาพทั่วไปและข้อมูลพื้นฐานของจังหวัดสกลนคร. สกลนคร: ที่ทำการปกครองจังหวัดสกลนคร.

พงษ์เทพ ผลประเสริฐ, ศุภรดา คณารักสมบัติ, และนุชนาพร พิจารณ์. (2559). การศึกษาปัจจัยทางอุตุนิยมวิทยาและสารมลพิษต่อแบบจำลองปริมาณฝุ่นละอองขนาดเล็กกว่า 10 ไมโครเมตรโดยระบบภูมิศาสตร์. ค้นเมื่อ 7 สิงหาคม 2565, จาก http://resrarch.bkkthon.ac.th/ abstrac/ab_27102559101755.pdf

พิพิธภัณฑ์วิยาศาสตร์แห่งชาติ. (2564). มลพิษทางอากาศ. ค้นเมื่อ 28 ตุลาคม 2565, จาก https://www.nsm.or.th/nsm/th/

node/5659

โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์. (2564ก). โรคปอดอักเสบ. ค้นเมื่อ 7 สิงหาคม 2565, จาก https://www.bumrungrad.com/th/

conditions/pneumonitis

โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์. (2564ข). โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง. ค้นเมื่อ 7 สิงหาคม 2565, จาก https://www.bumrungrad.com/th/

conditions/chronic-obstructive-pulmonary-disease

โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์. (2564ค). โรคหลอดเลือดสมอง. ค้นเมื่อ 7 สิงหาคม 2565, จาก https://www.bumrungrad.com/

th/stroke

วันวิสา เสถียรพันธ์. (2554). กรณีศึกษาประสิทธิภาพการดูแลโรคหืดในเด็ก. ค้นเมื่อ 28 ตุลาคม 2565, จาก https://hpc11.go.th/

information/7.1/3.9/38.pdf

เวิร์คพอยท์ทูเดย์. (2565). GISTDA พบจุดความร้อน 259 จุด ‘สกลนคร’ ครองแชมป์ ขณะที่ PM2.5 ในพื้นที่ตอนบนของประเทศยังน่าเป็นห่วง เช้านี้เป็นสีเหลือง-แดง. ค้นเมื่อ 1 พฤศจิกายน 2566, จาก https://workpointtoday.com/gistda-hot-pm25/

สาวิตรี ภมร. (2564). คุณลักษณะของฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM10 และ PM2.5 และความสัมพันธ์ของโรคที่เกี่ยวข้องกับมลพิษทางอากาศ ในพื้นที่เขตสุขภาพที่ 4. สระบุรี: สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 4 จังหวัดสระบุรี.

สำนักงานเขตสุขภาพที่ 8. (2564). สรุปรายงานตรวจราชการเขตสุขภาพที่ 8. อุดรธานี: สำนักงานเขตสุขภาพที่ 8.

สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ. (2564). ดัชนีคุณภาพอากาศ. ค้นเมื่อ 22 พฤศจิกายน 2565, จาก https://pm2_5.nrct.go.th/

definition

สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดสกลนคร. (2565). ฝุ่น PM2.5 ยังคงเกินค่ามาตรฐานในหลายพื้นที่ของ 34 จังหวัด. ค้นเมื่อ 1 พฤศจิกายน 2566, จาก https://www.reo08.mnre.go.th/ th/news/detail/117727

สำนักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์. (2564). ข้อมูลพื้นฐานจังหวัดสกลนคร. ค้นเมื่อ 1 พฤศจิกายน 2566, จาก https://www.opsmoac.go.th/sakonnakhon-dwl-files-441491791916

องค์การอนามัยโลกประจำประเทศไทย. (2562). มลพิษทางอากาศคืออะไร. ค้นเมื่อ 21 ตุลาคม 2566, จาก https://www.who.int/

docs/default-source/thailand/air-pollution/briefing-on-air-pollution-th-thai.pdf?sfvrsn=408572d4_2

Gurgueira, S.A., Lawrence, J., Coull, B., Murthy, G.G., & González-Flecha, B. (2002). Rapid increases in the steady-state concentration of reactive oxygen species in the lungs and heart after particulate air pollution inhalation. Environmental Health Perspectives, 110(8), 749-755.

He, X., Zhang, H., Ma, Y., Bai, W., Zhang, Z., Lu, K., et al. (2010). Lung deposition and extrapulmonary translocation of nano-ceria after intratracheal instillation. Nanotechnology, 21(28), e285103.

Kilinc, E., Van Oerle, R., Borissoff, J. I., Oschatz, C., Gerlofs-Nijland, M. E., Janssen, N. A., et al. (2011). Factor XII activation is essential to sustain the procoagulant effects of particulate matter. Journal of Thrombosis and Haemostasis, 9(7), 1359-1367.

Meier, R., Cascio, W. E., Ghio, A.J., Wild, P., Danuser, B., & Riediker, M. (2014). Associations of short-term particle and noise exposures with markers of cardiovascular and respiratory health among highway maintenance workers. Environmental Health Perspectives, 122(7), 726-732.

Queensland Government. (2023). Tapered element oscillating microbalance. Retrieved November 11, 2023, from https://www.qld.gov.au/environment/ management/monitoring/air/air-monitoring/measuring/

oscillating-microbalance

Simkhovich, B. Z., Kleinman, M. T., & Kloner, R. A. (2008). Air pollution and cardiovascular injury epidemiology, toxicology, and mechanisms. Journal of the American College of Cardiology, 52(9), 719-726.

Sun, Y., Zhang, Y., Chen, C., Sun, Q., Wang, Y., Du, H., et al. (2022). Impact of Heavy PM2.5 Pollution Events on Mortality in 250 Chinese Counties. Environmental Science & Technology, 56(12), 8299-8307.

United States Environmental Protection Agency [USEPA]. (2003). The particle pollution report: Current understanding of air quality and emissions through 2003. Retrieved November 11, 2023, from https://www.epa.gov/sites/default/files/ 2017-11/documents/pp_report_2003.pdf

United States Environmental Protection Agency [USEPA]. (2022). What are the air quality standards for PM. Retrieved November 11, 2023, from https://www3. epa.gov/region1/airquality/pm-aq-standards.html

Van Eeden, S. F., Tan, W. C., Suwa, T., Mukae, H., Terashima, T., Fujii, T., et al. (2001). Cytokines involved in the systemic inflammatory response induced by exposure to particulate matter air pollutants (PM(10)). American Journal of Respiratory and Critical Care Medicine, 164(5), 826-830.

Wold, L. E., Simkhovich, B. Z., Kleinman, M. T., Nordlie, M. A., Dow, J. S., Sioutas, C., et al. (2006). In vivo and in vitro models to test the hypothesis of particle-induced effects on cardiac function and arrhythmias. Cardiovascular Toxicology, 6(1), 69-78.

Zhang, D., Wang, W., Xi, Y., Bi, J., Hang, Y., Zhu, Q., et al. (2023). Wildland fires worsened population exposure to PM2.5 pollution in the contiguous United States. Environmental Science & Technology, 57(48), 19990-19998.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2025-02-24

How to Cite

ไชยโยธา ไ., & สกุลคู พ. . (2025). ปริมาณฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM2.5 และ PM10 กับความสัมพันธ์ของโรคที่มีความเกี่ยวเนื่องจากมลพิษทางอากาศในเขตจังหวัดสกลนคร. วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 17(4), 14–23. สืบค้น จาก https://he01.tci-thaijo.org/index.php/kkujphr/article/view/272453