ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับระยะปลอดเหตุการณ์โรคหลอดเลือดสมอง ในผู้ป่วยความดันโลหิตสูง โรงพยาบาลกันทรวิชัย อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม

ผู้แต่ง

  • หนึ่งฤทัย คำสอน -
  • สุพจน์ คำสะอาด
  • วรพงษ์ สุชาติสุนทร
  • นพิศพรรณ ทีบุตร

บทคัดย่อ

ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา: โรคหลอดเลือดสมอง (Stroke) เป็นปัญหาทางสาธารณสุขที่สำคัญและเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตและทุพพลภาพทั่วโลก ซึ่งโรคความดันโลหิตสูงเป็นปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคหลอดเลือดสมองที่สำคัญ การศึกษาระยะเวลาที่ป่วยเป็นโรคความดันโลหิตสูงกับการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง โดยนำระยะปลอดเหตุการณ์เข้ามาเกี่ยวข้องยังมีการศึกษาน้อยในพื้นที่อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม หรือแม้ในระดับประเทศ

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับระยะปลอดเหตุการณ์โรคหลอดเลือดสมอง (Disease Free-Stroke) ในผู้ป่วยความดันโลหิตสูง โรงพยาบาลกันทรวิชัย อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม

วิธีการศึกษา: การศึกษาเชิงวิเคราะห์จากเหตุไปหาผลแบบย้อนหลัง (Analytical Retrospective Cohort Study) ในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง โรงพยาบาลกันทรวิชัย อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2554 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2565 ติดตามผู้ป่วยทุกรายจนกระทั่งทราบสถานะของการเป็นโรคหลอดเลือดสมอง ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2566 วิเคราะห์ระยะปลอดเหตุการณ์โรคหลอดเลือดสมอง (Disease Free-Stroke) โดยวิธี Kaplan-Meier นำเสนอค่ามัธยฐานระยะปลอดเหตุการณ์และช่วงเชื่อมั่น 95% เปรียบเทียบระยะปลอดเหตุการณ์จำแนกตามลักษณะต่างๆ โดยใช้สถิติทดสอบ Log-rank test และหาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับระยะปลอดเหตุการณ์โรคหลอดเลือดสมองโดย Cox regression นำเสนอค่า Adjusted HR พร้อมช่วงเชื่อมั่น 95%

ผลการศึกษา: ผู้ป่วยความดันโลหิตสูง จำนวน 3,887 คน ได้รับวินิจฉัยเป็นโรคหลอดเลือดสมองครั้งแรก จำนวน 88 คน คิดเป็นอุบัติการณ์ 3.9 ต่อ 1000 คน-ปี (ช่วงเชื่อมั่น 95% = 3.2 ถึง 4.8) พบว่า ระยะปลอดเหตุการณ์โรคหลอดเลือดสมอง (Disease Free-Stroke) หลังการวินิจฉัยจากแพทย์ว่าเป็นโรคความดันโลหิตสูง ในระยะเวลา 1, 3, 5, 7, 9, และ 11 ปี เท่ากับ ร้อยละ 99.4 (ช่วงเชื่อมั่น 95%=99.1 ถึง 99.6), ร้อยละ 99.0 (ช่วงเชื่อมั่น 95%=98.7 ถึง 99.3), ร้อยละ 98.5 (ช่วงเชื่อมั่น 95%=98.0 ถึง 98.9), ร้อยละ 97.6 (ช่วงเชื่อมั่น 95%=96.9 ถึง 98.1), ร้อยละ 96.2 (ช่วงเชื่อมั่น 95%=95.2 ถึง 97.0) และร้อยละ 95.1 (ช่วงเชื่อมั่น 95%=93.4 ถึง 96.3) ตามลำดับ ผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของปัจจัยต่างๆ ต่อระยะปลอดเหตุการณ์โรคหลอดเลือดสมองเมื่อควบคุมผลกระทบจากตัวแปรที่เหลือในสมการสุดท้ายแล้ว พบว่า เพศ ระดับความดันโลหิตขณะหัวใจบีบตัวและประวัติโรคร่วม มีความสัมพันธ์กับระยะปลอดเหตุการณ์โรคหลอดเลือดสมองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value<0.05) โดยพบว่า ผู้ป่วยความดันโลหิตสูงเพศชายมีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดสมองเป็น 0.6 เท่า ของเพศหญิง (Adjusted HR=0.6, ช่วงเชื่อมั่น 95%=0.4 ถึง 0.9) ผู้ป่วยความดันโลหิตสูงที่มีระดับความดันโลหิตขณะหัวใจบีบตัว ≥140 mmHg มีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง เป็น 1.4 เท่า ของผู้ป่วยความดันโลหิตสูงที่มีระดับความดันโลหิตขณะหัวใจบีบตัว <140 mmHg (Adjusted HR=1.4, ช่วงเชื่อมั่น 95%= 1.2 ถึง 1.7) และผู้ป่วยความดันโลหิตสูงที่มีโรคร่วม มีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดสมองเป็น 2.1 เท่า ของผู้ป่วยความดันโลหิตสูงที่ไม่มีโรคร่วม (Adjusted HR=2.1, ช่วงเชื่อมั่น 95%=1.3 ถึง 3.3)

สรุปและข้อเสนอแนะ: ระยะปลอดเหตุการณ์โรคหลอดเลือดสมองหลังการวินิจฉัยโรคความดันโลหิตสูงลดลงตามระยะเวลาการป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูง ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับระยะปลอดเหตุการณ์โรคหลอดเลือดสมอง ได้แก่ เพศ ระดับความดันโลหิตขณะหัวใจบีบตัวและประวัติโรคร่วม ดังนั้นบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขควรตระหนักและคำนึงถึงปัจจัยดังกล่าว โดยให้ผู้ป่วยควบคุมระดับความดันโลหิต รวมถึงเฝ้าระวังการเกิดภาวะแทรกซ้อนไปยังสมองจากการมีโรคร่วมอย่างเข้มงวดต่อไป

References

กนกภรณ์ อินทวี. (2566) . อัตรารอดชีพของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่มารับการรักษาในโรงพยาบาลแก้งสนามนาง อ.แก้งสนามนาง จ.นครราชสีมา. วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต กลุ่มวิชาวิทยาการระบาด บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

กองยุทธศาสตร์และแผนงาน กระทรวงสาธารณสุข. (2559). สถิติสาธารณสุข พ.ศ. 2558. กรุงเทพฯ: สยามเจริญพาณิชย์

กองยุทธศาสตร์และแผนงาน สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข. (2560). ICD-10-TM Simplified Version 2017. กรุงเทพฯ: แสงจันทร์การพิมพ์.

กองโรคไมติดตอ/สำนักสื่อสารความเสี่ยงและพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. (2565). กรมควบคุมโรค รณรงค์วันโรคหลอดเลือดสมองโลก หรือวันอัมพาตโลก 2565 เน้นสร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับสัญญาณเตือนโรคหลอดเลือดสมองให้กับประชาชน. ค้นเมื่อ 1 กรกฎาคม 2566, จาก https://ddc.moph.go.th/brc/news.php?news=29284& deptcode=

กิ่งแก้ว ปาจรีย์. (2550). การฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง. กรุงเทพฯ: เอ็น.พี.เพรส.

เจียมจิต แสงสุวรรณ. (2544). โรคหลอดเลือดสมอง: การวินิจฉัยและการจัดการทางการพยาบาล. ขอนแกน: ศิริภัณฑออฟเซ็ท.

ชาญวิทย์ อนุเคราะห์วิทยา. (2566). โรคหลอดเลือดสมอง เส้นเลือดออกสมอง รักษาเร็ว รอด ปลอดอัมพาต. ศูนย์สมองและระบบประสาท โรงพยาบาลนครธน. ค้นเมื่อ 30 พฤศจิกายน 2566, จาก https://feji.us/uqdfxn

ณฐกร นิลเนตร, ชนัญญา จิระพรกุล, & เนาวรัตน์ มณีนิล. (2561). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเกิดโรคหลอดเลือดสมองของผู้ป่วยความดันโลหิตสูงในพื้นที่จังหวัดบึงกาฬ. วารสารสุขศึกษา, 41(1), 62-75.

ตวงทิพย์ บินไทยสงค์. (2557). การนำผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะเฉียบพลันส่งโรงพยาบาล. วารสารพยาบาลตำรวจ, 6(2), 225-282.

บุษกร สีหรัตนปทุม. (2563). การป้องกันโรคหลอดเลือดสมองขาดเลือดเฉียบพลันสำหรับวัยทำงานที่สูบบุหรี่ในสถานประกอบการเขตเมือง. วชิรเวชสารและวารสารเวชศาสตร์เขตเมือง, 64(6), 419-428.

ปิ่นจุฑา ทองจันทร์แก้ว, สมศักดิ์ เทียมเก่า, นันทพรรณ์ ชัยนิรันดร์, รัตนา อินทะผิว, ลักขณา มาตย์วิเศษ, & ศิริพร เทียมเก่า. (2565). ประสิทธิภาพการควบคุมความดันโลหิตด้วยยา labetalol ในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะเฉียบพลัน. วารสารประสาทวิทยาแห่งประเทศไทย, 39(2), 6-15.

พินิจ ลิ้มสุคนธ์. (2563) การดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง ไม่ให้กลับมาเป็นซํ้า. ค้นเมื่อ 30 พฤศจิกายน 2566, จาก https://feji.us/wp3wko

มาดี เหลืองทองเจริญ. (2565). พยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่มีภาวะโรคร่วม: กรณีศึกษาเปรียบเทียบ. วารสารวิจัยเพื่อการสงเสริมสุขภาพและคุณภาพชีวิต, 2(1), 74-85.

มิรันตี แพงงา,ชนัญญา จิรพรกุล, กมล ศรีสว่างวงศ์, & เนาวรัตน์ มณีนิล. (2565). ความสัมพันธ์ระหว่างระยะเวลาที่ป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูงกับการเกิดโรคหลอดเลือดสมองในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง อำเภอยางตลาด จังหวัดกาฬสินธุ์. วารสารวิชาการสาธารณสุขชุมชน, 8(2), 42-110.

วราวุธ กิตติวัฒนากุล, ธิติ ธิติศักดิ์สกุล, ธนพัทธ์ คำสุริย์, กฤษณะ ปริยวาที, & สุรกรานต์ ยุทธเกษมสันต์. (2565). แนวทางเวชปฏิบัติผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองแตกระยะเฉียบพลัน. ใน สมศักดิ์ เทียมเก่า (บรรณาธิการ). แนวทางเวชปฏิบัติโรคหลอดเลือดสมองทันยุค สำหรับแพทย์และทีมสุขภาพเขต 7 ครั้งที่ 1. (หน้า 21-32). ขอนแก่น: คลังนานาวิทยา.

วิไลพร พุทธวงศ์, วิริณธิ์ กิตติพิชัย, ทัศนีย์ ศิลาวรรณ, & โชคชัย หมั่นแสวงทรัพย์. (2014). ปัจจัยเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดสมองในผู้ป่วยความดันโลหิตสูง จังหวัดพะเยา. วารสารสาธารณสุขศาสตร์, 44(1), 30-44.

วุฒิชัย แป้นทอง, & รัตนา สายยศ. (2567). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง ในผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง โรงพยาบาลศรีณรงค์. วารสารศูนย์อนามัยที่ 9, 18(1), 193-208.

ศุภวรรณ มโนสุนทร. (2557). รายงานการพยากรณ์โรคหลอดเลือดสมอง. ค้นเมื่อ 30 พฤศจิกายน 2566, จาก http://www.interfetp thailand.net/forecast/fifiles/report_2014/report_2014_no20.pdf

สถาบันประสาทวิทยา กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. (2559). แนวทางการพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองสำหรับพยาบาลทั่วไป. กรุงเทพฯ: ธนาเพรส.

สมศักดิ์ เทียมเก่า. (2565). อุบัติการณ์โรคหลอดเลือดสมองในประเทศไทย. วารสารประสาทวิทยาแห่งประเทศไทย, 39(2), 39-46.

เอนกพงศ์ ฮ้อยคำ, ลัฆวี ปิยะบัณฑิตกุล, & วิริณธิ์ กิตติพิชัย. (2563). ปัจจัยทำนายการเกิดโรคหลอดเลือดสมองในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง จังหวัดขอนแก่น. วารสารวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ, 14(2), 82-92.

Aarnio, K., Haapaniemi, E., Melkas, S., Kaste, M., Tatlisumak, T., & Putaala, J. (2014). Long-term mortality after first-ever and recurrent stroke in young adults. Stroke, 45(9), 2670-2676.

American Association of Neurological Surgeons. (2022). Cerebrovascular disease. Retrieved July 29, 2022, from https://www.aans.org/en/Patients/Neurosurgical-Conditions-and-Treatments/ Cerebrovascular-Disease

Chang, W. W., Fei, S. Z., Pan, N., Yao, Y. S., & Jin, Y. L. (2022). Incident Stroke and Its Influencing Factors in Patients With Type 2 Diabetes Mellitus and/or Hypertension: A Prospective Cohort Study. Frontiers in Cardiovascular Medicine, 9, e770025.

Feigin, V. L., Brainin, M., Norrving, B., Martins, S., Sacco, R.L., Hacke, W., et al. (2022). World Stroke Organization (WSO): Global Stroke Fact Sheet 2022. International Journal of Stroke, 17(1), 18-29.

Hagos Gufue, Z., Gizaw, N.F., Ayele, W., Yifru, Y. M., Hailu, N. A., Welesemayat, E. T., et al. (2020). Survival of stroke patients according to hypertension status in Northern Ethiopia: Seven years retrospective cohort study. Vascular Health and Risk Management, 16, 389-401.

Han, D. S., Pan, S. L., Chen, S. Y., Lie, S. K., Lien, I. N., & Wang, T. G. (2008). Predictors of long-term survival after stroke in Taiwan. Journal of rehabilitation medicine, 40(10), 844-849.

Hardie, K., Hankey, G., Jamrozik, K., Broadhurst, R. & Anderson, C. (2003). Ten-year survival after first-ever stroke in the perth community stroke study. Stroke, 34(8), 1842-1846.

HDC Report. [n.d.]. Retrieved September 30, 2023, from https://pnb.hdc.moph.go.th/hdc/reports/report.php? &cat_id=6a1fdf282fd28180eed7d1cfe0155e11&id=b717285d1ebab38e6cf30ca2846317cd

Klungel, O. H., Kaplan, R. C., Heckbert, S. R., Smith, N. L., Lemaitre, R. N., Longstreth, W. T., Jr, et al. (2000). Control of blood pressure and risk of stroke among pharmacologically treated hypertensive patients. Stroke, 31(2), 420-424.

Li, A. L., Ji, Y., Zhu, S., Hu, Z. H., Xu, X. J., Wang, Y. W., et al. (2022). Risk probability and influencing factors of stroke in followed-up hypertension patients. BMC Cardiovascular Disorders, 22(1), 328.

Li, L., Scott, C. A., & Rothwell, P. M. (2022). Association of younger vs older ages with changes in incidence of stroke and other vascular events, 2002-2018. JAMA, 328(6), 563–574.

Mekonen, H. H., Birhanu, M. M., Mossie, T. B., & Gebreslassie, H. T. (2020). Factors associated with stroke among adult patients with hypertension in Ayder Comprehensive Specialized Hospital, Tigray, Ethiopia, 2018:

A case-control study. PloS One, 15(2), e0228650.

Misgana, S., Asemahagn, M. A., Atnafu, D. D., & Anagaw, T. F. (2023). Incidence of stroke and its predictors among hypertensive patients in Felege Hiwot comprehensive specialized hospital, Bahir Dar, Ethiopia, a retrospective follow-up study. European Journal of Medical Research, 28(1), 227.

Rodríguez-Rubio, H. A., López-Rodríguez, R., Ramos-Escalante, J., Bonilla-Suastegui, A., Balcázar-Padrón, J. C., Rodríguez-Hernández, L. A., et al. (2023). Risk factors associated with neurological and extra-neurological complications and mortality in patients with stroke. Cureus, 15(6), e40706.

Romain, G., Mariet, A. S., Jooste, V., Duloquin, G., Thomas, Q., Durier, J., et al. (2020). Long-term relative survival after stroke: The Dijon Stroke Registry. Neuroepidemiology, 54, 498-505.

Smajlović, D., Kojić, B., & Sinanović, O. (2006). Five-year survival-after first-ever stroke. Bosnian Journal of Basic Medical Sciences, 6(3), 17-22.

Weimar, C., Diener, H. C., Alberts, M. J., Steg, P. G., Bhatt, D. L., Wilson, P. W., et al. (2009). The Essen stroke risk score predicts recurrent cardiovascular events: a validation within the REduction of Atherothrombosis for Continued Health (REACH) registry. Stroke, 40(2), 350-354.

World Health Organization. (2014). Global status report on noncommunicable diseases 2014. Geneva: WHO.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-10-17