ความสัมพันธ์ของปัจจัยทางการบริหารและบรรยากาศองค์การกับการปฏิบัติงานตามมาตรฐานงานบริการแพทย์แผนไทยของบุคลากรแพทย์แผนไทย ในโรงพยาบาลชุมชนเขตสุขภาพที่ 7

ผู้แต่ง

  • sahaphap khamhong -
  • นพรัตน์ เสนาฮาด
  • สุภารัตน์ ทัพโพธิ์

คำสำคัญ:

administrative factors, organization climate, Performance of Service Through Thai Traditional Medicine

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพื่อวิเคราะห์ระดับความสัมพันธ์ของปัจจัยทางการบริหารงานและบรรยากาศองค์การกับการปฏิบัติงานตามมาตรฐานงานบริการแพทย์แผนไทยของบุคลากรแพทย์แผนไทยในโรงพยาบาลชุมชน เขตสุขภาพที่ 7 

วิธีการ: การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสม (Mixed Method study) สุ่มตัวอย่างโดยใช้วิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิ (Stratified Random Sampling) ได้จำนวนตัวอย่าง 130 คน เก็บข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้แบบสอบถามและข้อมูลเชิงคุณภาพใช้แนวทางการสัมภาษณ์เชิงลึก จำนวน
12 คน ซึ่งแบบสอบถามได้ผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหา (Content Validity) จากผู้เชี่ยวชาญ 3 ท่านและวิเคราะห์ความเที่ยง (Reliability) ได้ค่าสัมประสิทธิ์อัลฟ่าของครอนบาช เท่ากับ 0.98 ดำเนินการเก็บข้อมูลระหว่าง วันที่ 16-31 มกราคม 2567 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและสถิติเชิงอนุมาน โดยกำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05

ผลการวิจัย: กลุ่มตัวอย่างได้รับการสนับสนุนปัจจัยทางการบริหารในการปฏิบัติงานเป็นประจำ ซึ่งอยู่ในระดับมาก โดยมีค่าเฉลี่ย 4.28 (S.D.=0.49) และมีการส่งเสริมบรรยากาศองค์การที่ดีในการปฏิบัติงานอยู่บ่อยครั้ง ซึ่งอยู่ในระดับมาก โดยมีค่าเฉลี่ย 4.27 (S.D.=0.51) ในด้านการปฏิบัติงานตามมาตรฐานงานบริการแพทย์แผนไทยพบว่ากลุ่มตัวอย่างมีการปฏิบัติตามมาตรฐานในแต่ละด้านอยู่บ่อยครั้งและเป็นประจำ ซึ่งผลการศึกษาอยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ย 4.49 (S.D.=0.37) ผลการศึกษาความสัมพันธ์ของปัจจัยทางการบริหารและบรรยากาศองค์การที่มีผลต่อการปฏิบัติงานตามมาตรฐานงานบริการแพทย์แผนไทย พบว่าภาพรวมปัจจัยทางการบริหาร และบรรยากาศองค์การมีความสัมพันธ์ระดับปานกลางกับการปฏิบัติงานตาม มาตรฐานงานบริการแพทย์แผนไทยของบุคลากรแพทย์แผนไทย ในโรงพยาบาลชุมชน เขตสุขภาพที่ 7 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
(r=0.570, 95% CI=0.441-0.676, P-value<0.001) และ (r=0.627, 95% CI=0.510-0.721,
P-value<0.001) ตามลำดับ

สรุป: ตัวแปร อิสระ 3 ตัว ได้แก่ บรรยากาศองค์การมิติความเสี่ยง มิติมาตรฐานการปฏิบัติงาน และมิติความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน สามารถร่วมกันพยากรณ์และมีผลต่อการปฏิบัติงานตามมาตรฐานงานบริการแพทย์แผนไทยของบุคลากรแพทย์แผนไทย ในโรงพยาบาลชุมชน เขตสุขภาพที่ 7 ได้ร้อยละ 54.4 (R2=0.544, P-value<0.001)

References

กระทรวงสาธารณสุข. (2562). สรุปผลการตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข ประจำปีงบประมาณ 2562 รอบที่ 1. กรุงเทพฯ: สำนักตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข กองตรวจราชการ.

กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข. (2562). สรุปผลการตรวจราชการกรณีปกติ กระทรวงสาธารณสุข รอบที่ 2 ปีงบประมาณ 2562 สาขาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ผสมผสาน. นนทบุรี: กลุ่มงานสนับสนุนเขตสุขภาพ กองวิชาการและแผนงาน.

กุลจิรา แซมสีม่วง, & ชนะพล ศรีฤาชา. (2561). บรรยากาศองค์การและปัจจัยบริหารที่มีผลต่อการปฏิบัติงานคุ้มครองผู้บริโภคด้านสาธารณสุข ของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดเพชรบูรณ์. วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ, 11(2), 487-495.

จรัสศรี อาจศิริ. (2564). ปัจจัยทางการบริหารที่มีผลต่อการบริการแพทย์แผนไทยตามเกณฑ์คุณภาพโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลติดดาวของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดหนองคาย. วารสารการพยาบาล สุขภาพ และการศึกษา, 4(2), 57-68.

จินตนา กีเกียง, & ประจักร บัวผัน. (2562). บรรยากาศองค์การและการสนับสนุนจากองค์การที่มีผลต่อการปฏิบัติงานตามบทบาทหน้าที่ของนักวิชาการสาธารณสุข ในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดเพชรบูรณ์. วารสารวิจัย มข. (ฉบับบัณฑิตศึกษา), 19(2), 154-165.

ชบาไพร สุวรรณชัยรบ, & สุวิทย์ อุดมพาณิชย์. (2563). บรรยากาศองค์การที่มีผลต่อคุณภาพชีวิตการทำงานของเจ้าพนักงาน

ทันตสาธารณสุขในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดสกลนคร. วารสารวิจัย มข. (ฉบับบัณฑิตศึกษา), 20(3), 145-157.

ณัฐพล โยธา, ประจักร บัวผัน, & สุรชัย พิมหา. (2562). ปัจจัยแห่งความสำเร็จและบรรยากาศองค์การที่มีผลต่อการทำวิจัยเพื่อแก้ปัญหาสาธารณสุขของนักวิชาการสาธารณสุขในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดขอนแก่น. วารสารวิจัย มข. (ฉบับบัณฑิตศึกษา), 19(1), 149-160.

ดัชนีวรรณ สัตย์ธรรม, & ชนะพล ศรีฤาชา. (2562). บรรยากาศองค์การและการสนับสนุนจากองค์การที่มีผลต่อการปฏิบัติงานตามเกณฑ์คุณภาพและผลงานบริการปฐมภูมิของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลจังหวัดชัยภูมิ. วารสารวิจัย มข. (ฉบับบัณฑิตศึกษา), 12(1), 41-50.

นัฐรินทร์ ช่างศรี, & ประจักร บัวผัน. (2564). ปัจจัยแห่งความสำเร็จและบรรยากาศองค์การที่มีผลต่อคุณภาพชีวิตการทำงานของนักวิชาการสาธารณสุขในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดสกลนคร. วารสารวิจัย มข. (ฉบับบัณฑิตศึกษา), 21(2), 166-178.

นิชาภา หลังแก้ว, & ชนะพล ศรีฤาชา. (2564). ศึกษาบรรยากาศองค์การและการสนับสนุนจากองค์การที่มีผลต่อการปฏิบัติงานตามเกณฑ์คุณภาพผลงานบริการของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดบุรีรัมย์. วารสารศูนย์อนามัยที่ 9, 15(38), 694-699.

นิลุบล ดีพลกรัง, ประจักร บัวผัน, & สุรชัย พิมหา. (2563). สุนทรียทักษะภาวะผู้นำและบรรยากาศองค์การที่มีผลต่อการปฏิบัติงานของทันตแพทย์ในโรงพยาบาลชุมชน จังหวัดนครราชสีมา. วารสารวิจัย มข. (ฉบับบัณฑิตศึกษา), 20(2), 72-83.

ประจักร บัวผัน. (2558). หลักการบริหารสาธารณสุข (พิมพ์ครั้งที่ 4). ขอนแก่น: คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ประจักร บัวผัน. (2559). การเขียนรายงานการวิจัยทางการบริหารสาธารณสุข. ขอนแก่น: คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัย ขอนแก่น.

ปิยะพงษ์ ศรีสองเมือง, & ประจักร บัวผัน. (2561). แรงจูงใจและบรรยากาศองค์การที่มีผลต่อการจัดการความรู้ของบุคลากรสำนักงานป้องกนควบคุมโรคที่ 7 จังหวัดขอนแก่น. วารสารวิจัยมข. (ฉบับบัณฑิตศึกษา), 18(2), 78-89.

พรรษา อินทะรัมย์, & ประจักร บัวผัน. (2565). บรรยากาศองค์การและปัจจัยแห่งความสำเร็จที่มีผลต่อการปฏิบัติงานของนักวิชาการสาธารณสุขในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดมหาสารคาม. วารสารวิจัย มข. (ฉบับบัณฑิตศึกษา), 22(2), 206-208.

ภนารัตน์ อวนพล, & ชนะพล ศรีฤาชา. (2564). คุณลักษณะส่วนบุคคลและบรรยากาศองค์การที่มีผลต่อความยึดมั่นผูกพันของพยาบาลวิชาชีพโรงพยาบาลศูนย์แห่งหนึ่ง ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ, 14(1), 455-456.

ระนอง เกตุดาว. (2559). บรรยากาศองค์กรที่มีผลต่อสมรรถนะหลักของบุคลากรของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุดรธานี. วารสารการแพทย์โรงพยาบาลอุดรธานี, 24(2), 169-171.

ระบบคลังข้อมูลสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข. (2565). ร้อยละผู้ป่วยนอกที่ได้รับบริการการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก. ค้นเมื่อ 10 ธันวาคม 2566, จากhttps://hdcservice.moph.go.th/hdc/main/index.php

ศรัณยา พันธุ์โยธา, & ประจักร บัวผัน. (2564). ปัจจัยทางการบริหารและบรรยากาศองค์การที่มีผลต่อการปฏิบัติงานตามบทบาทหน้าที่ของนักวิชาการสาธารณสุขในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขขภาพตาบลจังหวัดขอนแก่น. วารสารวิจัย มข. (ฉบับบัณฑิตศึกษา), 21(2), 158-159.

สถาบันการแพทย์แผนไทย กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก. (2560). คู่มือสำหรับผู้บริหารงานด้านการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ผสมผสาน. ค้นเมื่อ 9 มกราคม 2566, จาก https://www.dtam.moph.go.th/images/download/dl0027-15112560-02.pdf.

สถาบันการแพทย์แผนไทย กรมการแพทยแผนไทยและการแพทย์ทางเลือก. (2565). มาตรฐานโรงพยาบาลสงเสริมและสนับสนุนการแพทยแผนไทยและการแพทยผสมผสาน (รพ.สส.พท.) ฉบับปรับปรุงใหม ภายใต้สถานการณการแพรระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19). นนทบุรี: กรมการแพทยแผนไทยและการแพทยทางเลือก.

สำเริง จันทรสุวรรณ, & สุวรรณ บัวทวน. (2547). ระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์. ขอนแก่น: ภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

สำนักงานเขตสุขภาพที่ 7. (2566). ขอมูลแพทยแผนไทยในโรงพยาบาลชุมชน เขตสุขภาพที่ 7 ปงบประมาณ 2566. ขอนแกน: สำนักงานเขตสุขภาพที่ 7.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2561). ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี พ.ศ. 2561-2580 (ฉบับประกาศราชกิจจานุเบกษา). ค้นเมื่อ 17 ธันวาคม 2565, จาก https://drive.google.com/file/d/1XSBMp8OCsauJqECOB-XZLB91-cRrNsEV/view

สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธาณสุข. (2559). แผนยุทธศาสตรชาติระยะ 20 ป (ดานสาธารณสุข).

ค้นเมื่อ 9 พฤศจิกายน 2565, จากhttps://waa.inter.nstda.or.th/stks/pub/2017/20171117MinistryofPublicHealth.pdf

สำนักบริหารการสาธารณสุข สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. (2559). แผนพัฒนาระบบบริการสุขภาพ. ค้นเมื่อ 7 มีนาคม 2566, จาก http://phdb.moph.go.th/main/index/detail/29296

สุขสันต์ สลางสิงห์, & ชนะพล ศรีฤาชา. (2562). บรรยากาศองค์การและการสนับสนุนจากองค์การที่มีผลต่อความสุขในการทำงานของนักวิชาการสาธารณสุขในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดมุกดาหาร. วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ, 12(3), 608-610.

สุดารัตน์ โคตรธนู, & ชนะพล ศรีฤาชา. (2560). บรรยากาศองค์การที่มีความสัมพันธ์์กับการปฏิบัติงานด้านการดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรังตามมาตรฐานหน่วยบริการปฐมภูมิของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล เครือข่ายบริการสุขภาพมัญจาคีรี-โคกโพธิ์ไชย จังหวัดขอนแก่น. วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ, 10(1), 184-188.

สุรชัย พิมพา, & ประจักร บัวผัน. (2558). ปัจจัยมีผลต่อการสื่อสารในการปฏิบัติงานของผู้อํานวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตําบลในจังหวดขอนแก่น. วารสารวิจัย มข. (ฉบับบัณฑิตศึกษา), 15(3), 79-88.

เสาวณีย์ ม่วงนิล, นครินทร์ ประสิทธิ์, สุรชัย พิมหา, นพรัตน์ เสนาฮาด, สุพัฒน์ กองศรีมา, ศรัณยา พันธุ์โยธา, และคณะ. (2566). สุนทรียทักษะภาวะผู้นำและบรรยากาศองค์การที่มีผลต่อการปฏิบัติงานตามมาตรฐานโรงพยาบาลส่งเสริมและสนับสนุนการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ผสมผสานของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลจังหวัดขอนแก่น. วารสารศูนย์อนามัยที่ 9, 17(3), 942-945.

Cohen, J. (1988). Statistical power analysis for the behavioral sciences (2nd ed.). New Jersey: Lawrence Erlbaum Associates.

Elifson, K. W., Runyon, R. P., & Haber, A. (1990). Fundamentals of social statistics (2nd ed.) New York: McGraw-Hill.

Likert, R. (1967). The human organization: Its management and values. New York: McGraw-Hill.

Litwin, G. H., & Stringer, R. A. (1968). Motivation and organization climate. Boston: Harvard University.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-10-17