ความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะเซลล์มะเร็งกับการรอดชีพของผู่ป่วยมะเร็งไทรอยด์ที่ได้รับการรักษาในโรงพยาบาลเลย จังหวัดเลย ระหว่างปี พ.ศ. 2560–2565

ผู้แต่ง

  • moltira sukkharee -

บทคัดย่อ

มะเร็งไทรอยด์เป็นมะเร็งของต่อมไร้ท่อที่พบมากที่สุดทั่วโลกและในประเทศไทย มีแนวโน้มสูงขึ้นในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย อีกทั้งยังไม่มีการศึกษาอัตรารอดชีพมะเร็งไทรอยด์ในจังหวัดเลย การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบอัตรารอดชีพมะเร็งไทรอยด์ตามลักษณะเซลล์มะเร็ง หลังการได้รับวินิจฉัยในโรงพยาบาลเลย จังหวัดเลย ระหว่าง ปี พ.ศ. 2560-2565 เป็นการศึกษาเชิงวิเคราะห์ (Retrospective cohort study) ในผู้ป่วยมะเร็งไทรอยด์ที่ได้รับการบันทึกลงในฐานข้อมูลทะเบียนมะเร็งโรงพยาบาลเลย (Loei Hospital-Based Cancer Registry, LHBCR) และได้รับการวินิจฉัยมะเร็งไทรอยด์ระหว่างวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2560 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2565 ติดตามผู้ป่วยทุกรายจนกระทั่งทราบสถานะสุดท้ายของการมีชีวิต หรือจนสิ้นสุดการศึกษา ณ วันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2566 วิเคราะห์อัตรารอดชีพโดยวิธี Kaplan-Meier นำเสนอค่ามัธยฐานการรอดชีพ พร้อมช่วงความเชื่อมั่น 95% วิเคราะห์หาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยต่างๆ กับการรอดชีพโดยสถิติ Log-rank test นำเสนอค่าความเสี่ยงต่อการตาย (Crude Hazard ratio, Crude HR) พร้อมช่วงเชื่อมั่น 95% และวิเคราะห์หาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยต่าง ๆ กับการรอดชีพโดยคำนึงผลกระทบจากปัจจัยอื่นนำเสนอค่าความเสี่ยงต่อการตาย (Adjusted Hazard ratio, Adjusted HR) โดยการใช้ Cox’s Proportion Hazard Model ผลการศึกษาพบว่าผู้ป่วยมะเร็งไทรอยด์ จำนวน 99 คน ระยะเวลาติดตาม 348.9 คน-ปี เสียชีวิต 13 คน คิดเป็นอัตราตาย 3.73 ต่อ 100 คน-ปี (95% CI; 2.16 ถึง 6.42) อัตรารอดชีพในระยะเวลา 1, 3 และ 5 ปี พบร้อยละ 95.0 (95% CI: 88.29 ถึง 97.87), ร้อยละ 90.8 (95% CI: 82.13 ถึง 95.34) และร้อยละ 90.8 (95% CI: 82.13 ถึง 95.34) เมื่อจำแนกตามเชลล์มะเร็ง พบว่าชนิด Anaplastic Thyroid Cancer, ATC ในระยะเวลา 1 ปี, 3 ปี และ5 ปี ร้อยละ 50.0 (95% CI: 5.78 ถึง 84.5), ร้อยละ 50.0 (95% CI: 5.78 ถึง 84.5) และร้อยละ 50.0 (95% CI: 5.78 ถึง 84.5) เมื่อควบคุมผลกระทบจากตัวแปร เพศ และอายุ แล้วพบว่าผู้ป่วยมะเร็งไทรอยด์ที่มีลักษณะเซลล์มะเร็งชนิด Follicular Thyroid Cancer, Anaplastic thyroid cancer มีโอกาสเสี่ยงต่อการตายเป็น 6.72 เท่า (Adjusted HR=6.72, 95% CI; NA), 4.59 เท่า (Adjusted HR=4.59, 95% CI; NA) เมื่อเทียบกับชนิด Papillary Thyroid Cancer โดยสรุปลักษณะเซลล์มะเร็งมีความสัมพันธ์กับการรอดชีพ ดังนั้นการรักษามะเร็งไทรอยด์ควรให้ความสำคัญกับชนิดของเซลล์มะเร็งร่วมกับวิธีการรักษา

References

กองยุทธศาสตร์และแผนงาน สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. (2564). สถิติสาธารณสุข พ.ศ. 2564. นนทบุรี: กองยุทธศาสตร์และแผนงาน กระทรวงสาธารณสุข.

โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์. (2566). โรคมะเร็งไทรอยด์. ค้นเมื่อ 22 เมษายน 2024, จาก https://www.bumrungrad.com/th/ conditions/thyroid-cancer

ศิริพร คำสะอาด. (2561). ชีวสถิติ. ขอนแก่น: ภาควิชาชีวสถิติและประชากรศาสตร์ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

สำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ. (2564). รายงานการศึกษาสาเหตุการตายของประชากรไทย พ.ศ. 2560-2562. สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข

สืบวงศ์ จุฑาภิสิทธิ์. (2559). มะเร็งต่อมไทรอยด์ ไม่น่ากลัวอย่างที่คิด. กรุงเทพฯ: ภาควิชาศัลยศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล.

หน่วยมะเร็ง โรงพยาบาลเลย. (2561). ทะเบียนมะเร็งระดับโรงพยาบาล ปี 2560-2561. เลย: โรงพยาบาลเลย.

อยุทธินี สิงหโกวินท์. (2565). มะเร็งต่อมไทรอยด์ ภัยเงียบที่รู้ได้จากการตรวจสุขภาพ. โรงพยาบาลพญา ค้นเมื่อ 22 เมษายน 2567, จาก https://www.phyathai.com/th/article

Bible, K. C., Kebebew, E., Brierley, J., Brito, J. P., Cabanillas, M. E., Clark, T. J., et al. (2021). 2021 American Thyroid Association Guidelines for Management of Patients with Anaplastic Thyroid Cancer. Thyroid, 31(3), 337-386.

Douglas, E. H., Rhoads, A., Thomas, A., Aloi, J., Suhl, J., Lycan, T., Jr, et al. (2020). Incidence and survival in reproductive-aged women with differentiated thyroid cancer: United States SEER 18 2000-2016. Thyroid, 30(12), 1781-1791.

Ferlay, J., Colombet, M., Soerjomataram, I., Parkin, D. M., Piñeros, M., Znaor, A., & Bray, F. (2021). Cancer statistics for the year 2020: An overview. International journal of cancer, 10.1002/ijc.33588.

Global Cancer Observatory [GCO]. (2020). Cancer today Data visualization tools for exploring the global cancer burden in 2020. Retrieved July 15, 2023, from https://gco.iarc.fr/today

Khayamzadeh, M., Khayamzadeh, M., Tadayon, N., Salmanian, R., Zham, H., Razzaghi, Z., et al. (2011). Survival of thyroid cancer and social determinants in Iran, 2001-2005. Asian Pacific journal of cancer prevention, 12(1), 95–98.

Rojanamatin, J., Ukranun, W., Supaattagorn, P., Chiawiriyabunya, I., Wongsena, M., Chaiwerawattana, A., et al. (2021). Cancer in Thailand Vol.X, 2016-2018. Bangkok: Bangkok Medical Publisher

Shi, R. L., Qu, N., Lu, Z. W., Liao, T., Gao, Y., & Ji, Q. H. (2016). The impact of marital status at diagnosis on cancer survival in patients with differentiated thyroid cancer. Cancer medicine, 5(8), 2145–2154.

Tangjaturonrasme, N., Vatanasapt, P., & Bychkov, A. (2018). Epidemiology of head and neck cancer in Thailand. Asia-Pacific Journal of Clinical Oncology, 14(1), 16–22.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-10-17