ปัจจัยแห่งความสำเร็จและบรรยากาศองค์การที่มีผลต่อการปฏิบัติงานป้องกันควบคุมโรคติดต่อของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดขอนแก่น
บทคัดย่อ
การวิจัยเชิงวิเคราะห์แบบภาคตัดขวางครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยแห่งความสำเร็จและบรรยากาศองค์การที่มีผลต่อการปฏิบัติงานป้องกันควบคุมโรคติดต่อของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดขอนแก่น ประชากรที่ศึกษา คือ เจ้าหน้าที่สาธารณสุขที่ปฏิบัติงานป้องกันควบคุมโรคติดต่อในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดขอนแก่น จำนวน 248 คน ใช้วิธีการสุ่มอย่างเป็นระบบ ได้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 139 คน เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถามสำหรับเก็บข้อมูลเชิงปริมาณ และแนวทางการสัมภาษณ์เชิงลึกสำหรับเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพ จำนวน 12 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ สถิติเชิงพรรณนา และสถิติเชิงอนุมาน กำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 ผลการศึกษา พบว่า ระดับปัจจัยแห่งความสำเร็จ ระดับบรรยากาศองค์การ และระดับการปฏิบัติงานป้องกันควบคุมโรคติดต่อ ภาพรวมอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ย 4.25 (S.D.=0.47), 4.30 (S.D.=0.47) และ 4.33 (S.D.=0.44) ตามลำดับ และพบว่าตัวแปรอิสระทั้ง 3 ตัวแปร ได้แก่ บรรยากาศองค์การมิติความรับผิดชอบ บรรยากาศองค์การมิติมาตรฐานการปฏิบัติงาน และปัจจัยแห่งความสำเร็จด้านการลงมือปฏิบัติงานในพื้นที่ที่มีความพร้อมและสมัครใจในการมีส่วนร่วม สามารถร่วมกันในการพยากรณ์และมีผลต่อการปฏิบัติงานป้องกันควบคุมโรคติดต่อของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดขอนแก่น ได้ร้อยละ76.7 (R2=0.767, p-value<0.001)
References
กระทรวงสาธารณสุข. (2558). ตัวชี้วัดระดับการพัฒนาเครือข่ายสุขภาพระดับอำเภอที่เชื่อมโยงระบบบริการปฐมภูมิกับชุมชนและท้องถิ่นอย่างมีคุณภาพ. นนทบุรี: กระทรวงสาธารณสุข.
กระทรวงสาธารณสุข. (2564). แผนปฏิบัติราชการกระทรวงสาธารณสุข ปี 2565. นนทบุรี: กองยุทธศาสตร์และแผนงาน สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข.
กองระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. (2563). มาตรฐานและแนวทางปฏิบัติงานทีมเฝ้าระวังสอบสวนควบคุมโรคและภัยสุขภาพ ปี 2563. กรงเทพฯ: แคนนา กราฟฟิค.
เกรียงไกร ทองทา, & ประจักร บัวผัน. (2566). ปัจจัยทางการบริหารและปัจจัยแห่งความสำเร็จที่มีผลต่อการบริหารจัดการวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดอุดรธานี. วารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 ขอนแก่น, 30(3), 13-25.
จักรกฤษณ์ อาสาสะนา, ประจักร บัวผัน, มกราพันธุ์ จูฑะรสก, & ธนมณฑชนก พรพมพินิจ. (2566). ปัจจัยทางการบริหารและปัจจัยแห่งความสำเร็จที่มีผลต่อการปฏิบัติงานของทีมหมอครอบครัวในเขตอำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี. วารสารวิจัย มข. (ฉบับบัณฑิตศึกษา), 23(2), 184-197.
ชาญณรงค์ นัยเนตร, & ประจักร บัวผัน. (2566). ปัจจัยทางการบริหารและปัจจัยแห่งความสำเร็จที่มีผลต่อการปฏิบัติงานป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด 19) ของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดหนองบัวลำภู. วารสารวิจัย มข. (ฉบับบัณฑิตศึกษา), 23(2), 211-223.
ชูชัย ศุภวงศ์, สมศักดิ์ ชุณหรัศมิ์, ลัดดา ดำริการเลิศ, สุพัตรา ศรีวณิชากร, เกษม เวชสุทรานนท์, & ศุภกิจ ศิริลักษณ์. (2553). คู่มือการให้บริการของ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล. กรุงเทพฯ: ทีคิวพี.
ณัฐพล โยธา, ประจักร บัวผัน, & สุรชัย พิมหา. (2562). ปัจจัยแห่งความสำเร็จและบรรยากาศองค์การที่มีผลต่อการทำวิจัยเพื่อแก้ปัญหาสาธารณสุขของนักวิชาการสาธารณสุขในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดขอนแก่น. วารสารวิจัย มข. (ฉบับบัณฑิตศึกษา), 19(1), 149-160.
บุญชม ศรีสะอาด. (2553). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 8. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.
พรรษา อินทะรัมย์, & ประจักร บัวผัน. (2565). บรรยากาศองค์การและปัจจัยแห่งความสำเร็จที่มีผลต่อการปฏิบัติงานของนักวิชาการสาธารณสุขในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดมหาสารคาม. วารสารวิจัย มข. (ฉบับบัณฑิตศึกษา), 22(2), 201-212.
รัชตะ พลเดช, สุวิทย์ อุดมพาณิชย์, & ประจักร บัวผัน. (2566). ปัจจัยทางการบริหารและปัจจัยแห่งความสำเร็จที่มีผลต่อการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่หน่วยปฏิบัติการควบคุมโรคติดต่อ จังหวัดขอนแก่น. วารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 ขอนแก่น, 30(3), 159-170.
วีนัส พีชวณิชย์, สมจิต วัฒนาชยากุล, & เบญจมาศ ตุลยนิติกุล. (2547). สถิติพื้นฐานสำหรับนักสังคมศาสตร์. กรุงเทพฯ: เอ็กซเปอร์เน็ท.
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2565). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 พ.ศ. 2566-2570. กรุงเทพฯ: สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี.
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น. (2565). รายงานประจำปี 2565. ขอนแก่น: งานระบาดวิทยา กลุ่มงานควบคุมโรคติดต่อ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น.
สำนักงานราชบัณฑิตสภา. (2556). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554 (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: นานมีบุ๊คพับลิเคชั่นส์.
สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. (2561). กฎอนามัยระหว่างประทศ พ.ศ.2548. พิมพ์ครั้งที่ 5. นนทบุรี: สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค.
สำเริง จันทร์สุวรรณ, & สุวรรณ บัวทวน. (2547). ระเบียบวิจัยทางสังคมศาสตร์. ขอนแก่น: ภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
เสาวณีย์ ม่วงนิล, นครินทร์ ประสิทธิ์, สุรชัย พิมหา, นพรัตน์ เสนาฮาด, สุพัฒน์ กองศรีมา, ศรัณยา พันธุ์โยธา, & ณัฐกร นิลเนตร. (2566). สุนทรียทักษะภาวะผู้นำและบรรยากาศองค์การที่มีผลต่อการปฏิบัติงานตามมาตรฐานโรงพยาบาลส่งเสริมและสนับสนุนการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ผสมผสานของเจ้าหน้าที่สาธารณสุข ในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดขอนแก่น. วารสารศูนย์อนามัยที่ 9, 17(3), 942-945.
อภิญญา ปุ้งมา และประจักร บัวผัน. (2567). สุนทรียทักษะภาวะผู้นำและปัจจัยแห่ความสำเร็จที่มีผลต่อการปฏิบัติงานทีมเฝ้าระวังสอบสวนโรคเคลื่อนที่เร็ว (SRRT) ของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขใน โรงพยาบาลส่งเสริม สุขภาพตำบล จังหวัดขอนแก่น. วารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรค ที่ 7 ขอนแก่น, 31(1), 134-148.
Cohen, J. (1988). Statistical power analysis for the behavior sciences (2nd ed.). Hillsdale, NJ: Lawrence Erlbaum.
Elifson, K. W., Runyon, R. P., & Haber, A. (1990). Fundamentals of social statistics (2nd ed.). New York: McGraw-Hill.
Likert, R. (1967). The human organization: Its management and values. New York: McGraw-Hill.
Litwin, G. H., & Stringer, R. A. (1968). Motivation and Organizational Climate. Boston: Dvivision of Research Havard University.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.