บรรยากาศองค์การและปัจจัยทางการบริหารที่มีผลต่อความยึดมั่นผูกพันองค์การของบุคลากรในกลุ่มงานบริการด้านปฐมภูมิและองค์รวมในโรงพยาบาลชุมชน จังหวัดขอนแก่น
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวาง (Cross-sectional descriptive research) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบรรยากาศองค์การและปัจจัยทางการบริหารที่มีผลต่อความยึดมั่นผูกพันองค์การของบุคลากรในกลุ่มงานบริการด้านปฐมภูมิและองค์รวมในโรงพยาบาลชุมชน จังหวัดขอนแก่น ประชากรที่ศึกษา คือ บุคลากรในกลุ่มงานบริการด้านปฐมภูมิและองค์รวมในโรงพยาบาลชุมชนจำนวน 276 คน ใช้วิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิ ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 151 คน เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถามสำหรับเก็บข้อมูลเชิงปริมาณ และใช้แนวทางการสัมภาษณ์เชิงลึกสำหรับเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพ จำนวน 12 คน ดำเนินการเก็บข้อมูลระหว่างวันที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2567 ถึง 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2567 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ สถิติเชิงพรรณนา ประกอบด้วย การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่ามัธยฐาน ค่าต่ำสุด และค่าสูงสุด และสถิติเชิงอนุมาน หาค่าสถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุเชิงเส้นแบบขั้นตอน โดยกำหนดระดับนัยสําคัญทางสถิติที่ 0.05
ผลการศึกษาพบว่า ระดับบรรยากาศองค์การ ระดับปัจจัยทางการบริหาร และระดับความยึดมั่นผูกพันองค์การของบุคลากรในกลุ่มงานบริการด้านปฐมภูมิและองค์รวมในโรงพยาบาลชุมชน จังหวัดขอนแก่น ภาพรวมอยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.01 (S.D.=0.63), 3.85 (S.D.=0.69) และ 4.14 (S.D.=0.68) ตามลำดับ โดยพบว่าภาพรวมของบรรยากาศองค์การมีความสัมพันธ์ระดับสูง (r=0.831, p-value<0.001, 95% CI 0.775-0.874) และปัจจัยทางการบริหารมีความสัมพันธ์ระดับสูง (r=0.846, p-value<0.001, 95% CI 0.792-0.886) กับความยึดมั่นผูกพันองค์การของบุคลากรในกลุ่มงานบริการด้านปฐมภูมิและองค์รวมในโรงพยาบาลชุมชน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ทั้งนี้ ตัวแปรทั้ง 4 ตัวแปร ประกอบด้วย บรรยากาศองค์การมิติความเป็นอันหนึ่งอันหนึ่งอันเดียวกัน ปัจจัยทางการบริหารด้านเวลา ปัจจัยทางการบริหารด้านเทคโนโลยี และปัจจัยทางการบริหารด้านงบประมาณ มีผลและสามารถร่วมกันในการพยากรณ์ความยึดมั่นผูกพันองค์การของบุคลากรในกลุ่มงานบริการด้านปฐมภูมิและองค์รวมในโรงพยาบาลชุมชน จังหวัดขอนแก่น ได้ร้อยละ 75.4 (R2=0.754, p-value<0.001) ดังนั้น สรุปได้ว่าบรรยากาศองค์การและปัจจัยทางการบริหารมีความสำคัญต่อความยึดมั่นผูกพันองค์การของบุคลากรในกลุ่มงานบริการด้านปฐมภูมิและองค์รวมในโรงพยาบาลชุมชน จังหวัดขอนแก่น
References
กระทรวงสาธารณสุข. (2565). นโยบายและทิศทางการดำเนินงาน กระทรวงสาธารณสุขประจำปี 2566. นนทบุรี: สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข.
กาญจนา พิทักษ์วาณิชย์, & ประจักร บัวผัน. (2559). บรรยากาศองค์การและปัจจัยทางการบริหารที่มีผลต่อการจัดการความรู้ของบุคลากร โรงพยาบาลบัวใหญ่ อำเภอบัวใหญ่จังหวัดนครราชสีมา. วารสารวิจัย มข. (ฉบับบัณฑิตศึกษา), 16(1), 90-103.
กุลจิรา แซมสีม่วง, & ชนะพล ศรีฤาชา. (2561). บรรยากาศองค์การและปัจจัยทางการบริหารที่มีผลต่อการปฏิบัติงานคุ้มครองผู้บริโภคด้านสาธารณสุขของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลจังหวัดเพชรบูรณ์. วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ, 11(2),. 487-495.
เชษฐกิตติ์ บุณพสิษฐโศธิน, & ชนะพล ศรีฤาชา. (2563). บรรยากาศองค์การที่มีผลต่อการปฏิบัติงานตามสมรรถนะเชิงวิชาชีพของพยาบาลวิชาชีพโรงพยาบาลระดับตติยภูมิแห่งหนึ่งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ, 14(1), 441-449.
ณัฐดนัย โคตรบรรเทา, มกราพันธุ์ จูฑะรสก, & ประจักร บัวผัน. (2566). ปัจจัยทางการบริหารและปัจจัยแห่งความสำเร็จที่มีผลต่อการปฏิบัติงาน คลินิกหมอครอบครัว หน่วยบริการปฐมภูมิและเครือข่ายหน่วยบริการปฐมภูมิ ของเจ้าหน้าที่สาธารณสุข ในจังหวัดนครราชสีมา. วารสารศูนย์อนามัยที่ 9, 17(2), 645-661.
ณัฐธิดา ประเสริฐรัมย์, มกราพันธุ์ จูฑะรสก, & ประจักร บัวผัน. (2566). ปัจจัยทางการบริหารและบรรยากาศองค์การที่มีผลต่อคุณภาพชีวิตการท างานของทันตบุคลากรในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดบุรีรัมย์. วารสารทันตาภิบาล, 34(1), 96-108.
นครินทร์ ประสิทธิ์, & ประจักร บัวผัน. (2561). แรงจูงใจและบรรยากาศองค์การที่มีผลต่อการปฏิบัติงานเฝ้าระวังสอบสวนเคลื่อนที่เร็วของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลจังหวัดนครราชสีมา. วารสารวิจัย มข. (ฉบับบัณฑิตศึกษา), 18(2), 65-77.
นรภัทร น้อยสุวรรณ์, & ประจักร บัวผัน. (2566). ปัจจัยทางการบริหารและปัจจัยแห่งความสำเร็จที่มีผลต่อคุณภาพชีวิตการทำงานของทันตบุคลากรในโรงพยาบาลชุมชน จังหวัดนครราชสีมา. วารสารทันตาภิบาล, 34(1), 71-83.
นัฐรินทร์ ช่างศรี, & ประจักร บัวผัน. (2564). ปัจจัยแห่งความสำเร็จและบรรยากาศองค์การที่มีผลต่อคุณภาพชีวิตการทำงาน ของนักวิชาการสาธารณสุขในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลจังหวัดสกลนคร. วารสารวิจัย มข. (ฉบับบัณฑิตศึกษา), 21(2), 166-178.
บุตธะนา สุมามาลย์, นิตยา เพ็ญศิรินภา, & พรทิพย์ กีระพงษ์. (2560). ความยึดมั่นผูกพันต่อองค์การของพยาบาลลูกจ้างชั่วคราว โรงพยาบาลชุมชน จังหวัดอุดรธานี. วารสารพยาบาลทหารบก, 18(1), 104-112.
ประจักร บัวผัน. (2558). หลักการบริหารสาธารณสุข (พิมพ์ครั้งที่ 4). ขอนแก่น: คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
ปรีชา พุกจีน. (2562). คุณภาพชีวิตในการทำงานที่มีความสัมพันธ์กับความผูกพันต่อองค์การของบุคลากรสาธารณสุขที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดปัตตานี. วารสารวิทยาศาสตร์สุขภาพและการสาธารณสุขชุมชน, 2(1), 23-37.
พรรษา อินทะรัมย์, & ประจักร บัวผัน. (2565). บรรยากาศองค์การและปัจจัยแห่งความสำเร็จที่มีผลต่อการปฏิบัติงาน ของนักวิชาการสาธารณสุขในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดมหาสารคาม. วารสารวิจัย มข. (ฉบับบัณฑิตศึกษา), 22(2), 201-212.
ไพวัล แก้วปะเสิด, ประจักร บัวผัน, & สุรชัย พิมหา. (2563). คุณลักษณะส่วนบุคคลและปัจจัยทางการบริหารที่มีผลต่อการปฏิบัติงนของพยาบาสวิชาชีพให้ภายในสุขเฉินของโรงพยาบาลรัฐเขตนครหลวงเวียงจันทน์. วารสารวิจัย มข. (ฉบับบัณฑิตศึกษา), 20(2), 96-107.
ภนารัตน์ อวนพล, & ชนะพล ศรีฤาชา. (2564). คุณลักษณะส่วนบุคคล และบรรยากาศองค์การที่มีผลต่อความยึดมั่นผูกพัน ของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลศูนย์แห่งหนึ่ง ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ, 14(1), 450-457.
วรรณศิริ ศรีทอง, & พิเศษ ชัยดิเรก. (2563). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความผูกพันต่อองค์การของพยาบาลโรงพยาบาลรัฐบาลในจังหวัดประจวบคีรีขันธ์. วารสารลวะศรี มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี, 4(2), 63-76.
วิริยา มูลพิศูจน์, สุวิทย์ อุดมพาณิชย์, & ประจักร บัวผัน. (2566). แรงจูงใจและปัจจัยแห่งความสำเร็จที่มีผลต่อความยึดมั่นผูกพันในองค์การของทันตบุคลากร ในจังหวัดร้อยเอ็ด. วารสารทันตาภิบาล, 34(1), 56-70.
วิศรุต รัตนธรรม, จารุวรรณ ธาดาเดช, ปิยธิดา ตรีเดช, & ปรารถนา สถิตวิภาวี. (2560). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความยึดมั่นผูกพันองค์การของบุคลากรสุขภาพ กรณีศึกษาโรงพยาบาลชลบุรี. วารสารโรงพยาบาลชลบุรี, 42(3), 197-204.
ศรัณยา พันธุ์โยธา, & ประจักร บัวผัน. (2564). ปัจจัยทางการบริหารและบรรยากาศองค์การที่มีผลต่อการปฏิบัติงานตามบทบาทหน้าที่ของนักวิชาการสาธารณสุข ในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลจังหวัดขอนแก่น. วารสารวิจัย มข. (ฉบับบัณฑิตศึกษา), 21(2), 152-165.
ศิรินภา โสมนาวัตร์, สุวิทย์ อุดมพาณิชย์, & ประจักร บัวผัน. (2566). ปัจจัยทางการบริหารและปัจจัยแห่งความสำเร็จที่มีผลต่อการควบคุมการติดเชื้อตามมาตรฐานในการปฏิบัติงานของทันตบุคลากร ในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล เขตสุขภาพที่ 8. วารสารทันตาภิบาล, 34(1), 84-95.
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2562). สรุปสาระสำคัญของแผนการปฏิรูปประเทศ. กรุงเทพฯ: สำนักนายกรัฐมนตรี.
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2565). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 พ.ศ. 2566-2570. กรุงเทพฯ: สำนักนายกรัฐมนตรี.
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น. (2565). ทิศทางการขับเคลื่อนงานด้านสาธารณสุข จังหวัดขอนแก่น ปีงบประมาณ 2566. ใน การประชุมสื่อสารถ่ายโอนนโยบายด้านสุขภาพ จังหวัดขอนแก่น ประจำปี 2566. (หน้า 24). ขอนแก่น: สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น.
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น. (2566). ข้อมูลบุคลากรโรงพยาบาลสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่นปีงบประมาณ 2566. ขอนแก่น: สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น. (เอกสารอัดสำเนา).
สำนักตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข. (2565). สรุปผลการตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 รอบที่ 2. นนทบุรี: กระทรวงสาธารณสุข.
สำเริง จันทรสุวรรณ, & สุวรรณ บัวทวน. (2547). ระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์. ขอนแก่น: ภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา คณะมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
สุพัตรา ถิ่นไผ่บูรณ์, ศรีบุษย์ ศรีไชยจรูญพง, & ชนะพล ศรีฤาชา. (2564). บรรยากาศองค์การและการสนับสนุนจากองค์การที่มีผลต่อคุณภาพชีวิตการทำงานของเจ้าหน้าที่สาธารณสุข ที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดกาฬสินธุ์. วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ, 14(1),. 431-440.
สุวิชัย ถามูลเลศ, & ประจักร บัวผัน. (2561). ปัจจัยการบริหารและปัจจัยแห่งความสำเร็จที่มีผลต่อการปฏิบัติงานเฝ้าระวังสอบสวนเคลื่อนที่เร็วของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดขอนแก่น. วารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 ขอนแก่น, 25(1), 23-34.
อรวรรณ สินค้า, & ชนะพล ศรีฤาชา. (2562). ปัจจัยทางการบริหาร และแรงจูงใจที่มีผลต่อการปฏิบัติงานการดูแลผู้สูงอายุระยะยาวของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดขอนแก่น. วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ, 13(1), 613-622.
Cohen, J. (1988). Statistical power analysis for the behavioral sciences (2nd ed.). New Jersey: Lawrence Erlbaum Associates.
Elifson, W. K. (1990). Fundamentals of social statistics (2nd ed.). Singapore: McGraw-Hill.
Likert, R. (1967). The human organization: Its management and value. New York: McGraw-Hill.
Litwin, G. H., & Stringer, R. A. (1968). Motivation and organization climate. Boston: Havard University.
Mowday, T. R., Streer, R. M., & Porter, L. W. (1979). The measurement of organizational Commitment. Journal of Vocational Behavior, 14(2), 224-247.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.