พฤติกรรมการบริโภคเครื่องดื่มรสหวานของบุคลากรมหาวิทยาลัยนครพนม ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดนครพนม

ผู้แต่ง

  • กีรติกา บุษมงคล สาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น สาขาโภชนศาสตร์เพื่อสุขภาพ
  • พรพิมล ชูพานิข

คำสำคัญ:

พฤติกรรมการบริโภค, เครื่องดื่มรสหวาน, บุคลากรมหาวิทยาลัย

บทคัดย่อ

         

การวิจัยในครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวาง มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจพฤติกรรมการบริโภคเครื่องดื่มรสหวาน รวมถึงหาค่าความหวานของเครื่องดื่มรสหวานยอดนิยม 5 อันดับแรก กลุ่มตัวอย่างคือ บุคลากรมหาวิทยาลัยนครพนม เขตอำเภอเมือง จังหวัดนครพนม จำนวน 257 คน การวิจัยในครั้งนี้แบ่งออกเป็น 2 ระยะ ระยะที่ 1) สำรวจพฤติกรรมการบริโภคเครื่องดื่มรสหวาน โดยให้อาสาสมัครตอบแบบสอบถามออนไลน์ ระยะที่ 2) นำข้อมูลที่เก็บได้ในระยะที่ 1 มาจัดลำดับเครื่องดื่มรสหวานยอดนิยมออกเป็น 5 อันดับสำหรับหาค่าความหวานของเครื่องดื่ม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา นำเสนอด้วยจำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและสวนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างบริโภคเครื่องดื่มรสหวาน ≥ 3 วันต่อสัปดาห์ ร้อยละ 84.0 และบริโภคเครื่องดื่มรสหวาน 1 แก้วต่อวัน ร้อยละ 94.6  โดยเครื่องดื่มรสหวานที่นิยมบริโภค
5 อันดับแรก ได้แก่ ชาเขียวเย็น ชาเขียวปั่น แบล็คคอฟฟี่น้ำผึ้ง ชาไทยเย็น และมัทฉะฮันนี่ ตามลำดับ ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการบริโภคเครื่องดื่มรสหวานที่กลุ่มตัวอย่างตอบเห็นด้วยมากถึงมากที่สุด คือ ราคาเครื่องดื่มรสหวานมีอิทธิพลต่อการบริโภคหรือตัดสินใจซื้อ ร้อยละ 72.3 รองลงมาคือ รสชาติความอร่อยของเครื่องดื่มรสหวานทำให้ต้องบริโภคหรือหาซื้อเครื่องดื่มรสหวานมาบริโภคเป็นประจำ ร้อยละ 64.5 กลุ่มตัวอย่างมีทัศนคติว่าการซื้อเครื่องดื่มรสหวานมาบริโภคเป็นเรื่องง่ายและสะดวก ร้อยละ 59.4 และกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีความรู้เกี่ยวกับการบริโภคเครื่องดื่มรสหวานในระดับไม่ดี ร้อยละ 70.4 ปริมาณน้ำตาลของเครื่องดื่มรสหวานที่นิยมบริโภค 5 อันแรกเฉลี่ยอยู่ระหว่าง 24.0-57.5 กรัม หรือประมาณ 6-14.4 ช้อนชา ดังนั้น ควรจัดหาแนวทางหรือมาตรการในการส่งเสริมให้มีการจำหน่ายเครื่องดื่มที่มีปริมาณน้ำตาลน้อยที่จำหน่ายภายในและรอบบริเวณมหาวิทยาลัย รวมถึงควรมีการส่งเสริมให้ความรู้และปรับเปลี่ยนทัศนคติที่ถูกต้องในการเลือกบริโภคเครื่องดื่มรสหวาน

Author Biography

พรพิมล ชูพานิข

อาจารย์ที่ปรึกษา หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารสาธารณสุข การส่งเสริมสุขภาพ โภชนาการ        คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

References

เอกสารอ้างอิง

ธีระ กุลสวัสดิ์. (2558). การหาคุณภาพของเครื่องมือในการวิจัย. ชลบุรี: คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.

ใบเฟิร์น แก้วจำปาสี. (2563). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริโภคกาแฟสด ในอำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี. วิทยานิพนธ์หลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารธุรกิจ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง.

พัชญา บุญชยาอนันต์. (2565). Non-nutritive sweeteners: Should be used or not. ค้นเมื่อ 21 ธันวาคม 2566, จาก https://cimjournal.com/confer-update/non-nutritive-sweeteners/

พิชศาล พันธุ์วัฒนา. (2562). พฤติกรรมการบริโภคอาหารของคนเมืองวัยทำงานในกรุงเทพมหานคร. วารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 ขอนแก่น, 26(2), 93-96.

พิมพ์นภาณัท ศรีดอนไผ่, ปิยณัฐ ศรีดอนไผ่, ประภาศรี ภูวเสถียร, & ประไพศรี ศิริจักรวาล. (2562). ปริมาณน้ำตาลในเครื่องดื่มรสหวานที่จำหน่ายในและรอบมหาวิทยาลัย: กรณีศึกษามหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตศาลายา. วารสารสาธารณสุขศาสตร์, 62(1), 5-6.

ศุภณัฐ ลีฬหาวงศ์. (2557). การศึกษาพฤติกรรมการบริโภคผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มชาและกาแฟของผู้บริโภคในเขตตำบลสะบารัง อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี. การศึกษาอิสระปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สำหรับนักบริหาร วิทยาลัยบัณฑิตศึกษาด้านการจัดการ มหาวิทยาลัยศรีปทุม.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2564). การสำรวจพฤติกรรมด้านสุขภาพของประชากร พ.ศ. 2564. กรุงเทพฯ: กองสถิติพยากรณ์ สำนักงานสถิติแห่งชาติ.

สำนักบริหารอ้อยและน้ำตาล กระทรวงอุตสาหกรรม. (2565). ปริมาณการจำหน่ายน้ำตาลเพื่อการบริโภคภายในประเทศ ไตรมาสที่ 4 ปี 2565. ค้นเมื่อ 21 ธันวาคม 2566, จาก http://www.sugarzone.in.th/sale/TIMAT465.pdf

อรุณ จิราวัฒน์กุล. (2557). สถิติในชั้นออกแบบงานวิจัยในหอสมุดส่วนกลางมหาวิทยาลัยมหามกุฎราชวิทยาลัย สถิติงานวิจัยเลือกใช้อย่างไรให้เหมาะสม. กรุงเทพฯ: วิทยพัฒน์.

อุรุวรรณ แย้มบริสุทธิ์, ปิยณัฐ ศรีดอนไผ่, & พิมพ์นภาณัท ศรีดอนไผ่. (2560). การสำรวจทัศนคติ ความรู้และพฤติกรรมผู้บริโภคในการบริโภคเครื่องดื่มรสหวาน และทัศนคติต่อนโยบายการลดปริมาณน้ำตาลในเครื่องดื่ม. วารสารวิจัยนโยบายอาหารและโภชนาการ เพื่อการสร้างเสริมสุขภาพ, 23(1), 1-123.

Best (1977). Research in Education. New Jersey: Prentice Hall Inc.

Bloom, B. S., Hastings, J. T., & Madaus, G. F. (1971). Handbook on formative and summative evaluation of student learning. New York: McGraw-Hill Book.

Bowling, A., & Browne, P. D. (1991). Social networks, health, and emotional well-being among the oldest old in London. Journal of Gerontology, 46(1), 20-32.

National Statistical Office. (2013). The survey of food consumption 2013. Nonthaburi: National Statistical Office.

National Statistical Office. (2017). The survey of food consumption 2017. Nonthaburi: National Statistical Office.

White, A. H., James, S. A., Paulson, S. W., & Beebe, L. A. (2018). Sugar sweetened beverage consumption among adults with children in the home. Frontiers in nutrition, 5(34), 1-7.

World Health Organization [WHO]. (2015). Guideline Sugars intake for adults and children. Geneva: World Health Organization.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-07-19