รูปแบบการดูแลสุขภาพประชาชนด้วยสมุนไพรพื้นบ้าน ตำบลแก่งเลิงจาน อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม
บทคัดย่อ
การศึกษารูปแบบการดูแลสุขภาพประชาชนด้วยสมุนไพรพื้นบ้าน ตำบลแก่งเลิงจาน อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม มีวัตถุประสงค์ในการวิจัย 1) ศึกษาบริบทชุมชนในการดูแลสุขภาพด้วยสมุไพรพื้นบ้าน 2) สร้างรูปแบบการดูแลสุขภาพด้วยสมุนไพรพื้นบ้านตำบลแก่งเลิงจาน และ 3) สรุปและคืนข้อมูลรูปแบบการดูแลสุขภาพตำบลแก่งเลิงจาน เป็นวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม ระยะที่ 1 ศึกษาบริบทพื้นที่ด้วยการ ประชุมกลุ่ม โดยกลุ่มเป้าหมายจำนวน 30 คน และรวบรวมข้อมูลจากแบบสอบถาม กลุ่มเป้าหมาย จำนวน 30 คน ระยะที่ 2 ดำเนินการสร้างรูปแบบ โดยประชุมกลุ่ม กลุ่มเป้าหมาย จำนวน 30 คน และระยะที่ 3 ระยะประเมินผล กลุ่มเป้าหมาย 30 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ การแจงแจงความถี่ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ โดยการจำแนกประเภทข้อมูล ประมวลความเชื่อมโยงและสร้างข้อสรุป
ผลการวิจัย ระยะที่ 1 พบว่า ประชาชนมีความเข้าใจในการใช้สมุนไพรเพื่อการดูแลสุขภาพแต่การประชาสัมพันธ์ยังไม่มีระบบหรือช่องทางที่ชัดเจน ด้านงบประมาณ พบว่า ควรมีการวางแผนงานพัฒนาแปรรูปการใช้สมุนไพรให้เป็นระบบเกิดความยั่งยืน ประชาชนในชุมชนมีความรู้เรื่องสมุนไพร โดยภาพรวมอยู่ในระดับดี มีค่าคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 8.9 (S.D. = 0.7) ร้อยละ 96.7 ระยะที่ 2 สร้างรูปแบบการดูแลสุขภาพด้วยสมุนไพรพื้นบ้านตำบลแก่งเลิงจาน พบว่า รูปแบบที่ได้ประกอบด้วยกิจกรรม อบรมให้ทบทวนองค์ความรู้การใช้สมุนไพร การสร้างสื่อประชาสัมพันธ์และต่อยอดการจำหน่ายสินค้าในชุมชน อบรมให้ความรู้กฎหมายด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพและอบรมการสร้างผลิตภัณฑ์สมุนไพรธรรมชาติ
สรุป รูปแบบการดูแลสุขภาพด้วยสมุนไพรพื้นบ้านตำบลแก่งเลิงจาน ควรเกิดจากการมีส่วนร่วมในการดำเนินงานจาก ภาครัฐ ได้แก่ องค์การบริหารส่วนตำบล ควรสนับสนุนการอบรมให้ความรู้ประชาชนอย่างต่อเนื่อง รวมถึงสนับสนุนงบประมาณแก่ชุมชนด้วย โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ควรดำเนินดูแลสุขภาพและส่งเสริมให้ความรู้ในการใช้สมุนไพรอย่างเหมาะสม ภาคชุมชน ได้แก่ ผู้นำชุมชน ต้องประชาสัมพันธ์ข่าวสาร เชิญชวนให้ประชาชนร่วมกิจกรรม โดยร่วมกับปราชญ์ชาวบ้าน เพื่อส่งเสริมให้ความรู้เรื่องสมุนไพร ซึ่งจะได้เชื่อมโยงไปสู่การพัฒนาแปรรูปสมุนไพร และภาคประชาชนควรตระหนักถึงประโยชน์ของสมุนไพร เพื่อนำมาดูแลสุขภาพซึ่งเป็นการป้องกันการเกิดโรคและจะส่งผลให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีต่อไปได้
References
รัชยา เจียวก๊ก และสันติชัย แย้มใหม่. (2558). การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชน. Hatyai Journal 14(1), 79-95.
จินตวีร์ เกษมศุข (2561) แนวคิดการมีส่วนร่วมของประชาชนเพื่อการพัฒนาชุมชนที่ยังยืน. วารสารวิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ปีที่ 26 ฉบับที่ 50 มกราคม - เมษายน 2561.
สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข. วิจัยสมุนไพรไทย คานงัดสู่ความมั่นคงด้านสุขภาพ และยั่งยืนด้านเศรษฐกิจ. 2559.
สุภางค์ จันทวานิช. (2553). วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ. (พิมพ์คร้ังที่18). กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
กองการแพทย์ทางเลือก. (2564) พืชสมุนไพรเศรษฐกิจ สู่มาตรฐานการทำยา. กองการแพทย์ทางเลือก กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข.
Anderson, L. W., Krathwohl, D. R., & Bloom, B. S. (2001). A taxonomy for learning, teaching, and assessing: A revision of Bloom's taxonomy of educational objectives. Allyn & Bacon.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.