การตั้งครรภ์ซ้ำของวัยรุ่นในจังหวัดแห่งหนึ่งภาคเหนือประเทศไทย
บทคัดย่อ
การตั้งครรภ์ซ้ำส่งผลกระทบต่อสุขภาพของวัยรุ่นหลายด้าน ยังไม่เคยมีการศึกษาการตั้งครรภ์ซ้ำในวัยรุ่นโดยคำนึงถึงเวลาจนกระทั่งเกิดเหตุการณ์มาก่อน การศึกษาครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อประมาณค่าโอกาสปลอดการตั้งครรภ์ซ้ำและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการตั้งครรภ์ซ้ำของวัยรุ่นในจังหวัดแห่งหนึ่งเขตภาคเหนือประเทศไทย เป็นการศึกษาย้อนหลัง โดยใช้ข้อมูลจากฐานข้อมูลของกระทรวงสาธารณสุข พบ วัยรุ่นคลอดบุตรมีชีพระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม 2557 ถึง 30 กันยายน 2562 จำนวน 3,610 คน จากนั้นติดตามวัยรุ่นกลุ่มนี้เพื่อประเมินการตั้งครรภ์ซ้ำ โดยสิ้นสุดการติดตามในวันที่ 30 กันยายน 2564 วิเคราะห์ข้อมูลเพื่อประมาณค่าโอกาสปลอดการตั้งครรภ์ซ้ำด้วยวิธีของแคปลานและไมย์เออร์ และหาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการตั้งครรภ์ซ้ำด้วยการถดถอยค็อกซ์ โดยผลการศึกษาพบ โอกาสปลอดตั้งครรภ์ซ้ำของวัยรุ่นหลังคลอดบุตรมีชีพครรภ์แรกที่ 1, 2, 3, 4 และ 5 ปี เท่ากับ ร้อยละ 97.0 (95% CI : 96.4 ถึง 97.5), 93.2 (95% CI : 92.3 ถึง 93.9), 91.5 (95% CI : 90.6 ถึง 92.4), 90.6 (95% CI : 89.6 ถึง 91.6) และ 90.5 (95% CI : 82.0 ถึง 86.0) ตามลำดับ ที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการตั้งครรภ์ซ้ำอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ อายุ ระดับการศึกษา สถานภาพสมรส สถาพภาพการศึกษา และ วิธีคุมกำเนิด แม้โอกาสปลอดตั้งครรภ์ซ้ำของวัยรุ่นอยู่ในระดับสูง อย่างไรก็ตาม ยังคงมีการตั้งครรภ์ซ้ำซึ่งเป็นปัญหาที่ต้องได้รับการแก้ไขโดยเฉพาะอย่างยิ่งการแนะนำให้วัยรุ่นคุมกำเนิดแบบกึ่งถาวร
References
กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. (2564). กรมอนามัย เผย วัยรุ่น อายุต่ำกว่า 20 ปี ฝังยาคุมกำเนิด-ห่วงอนามัย ฟรี ได้ทุกสิทธิ - อนามัยมีเดีย. สื่อมัลติมีเดียกรมอนามัย. ค้นเมื่อ 1 กรกฎาคม 2566, จาก https://multimedia.anamai.moph.go.th/news/201164-2/
กระทรวงสาธารณสุข. (2565). HDC - Dashboard. ค้นเมื่อ 10 ธันวาคม 2565, จาก https://hdcservice.moph.go.th/
hdc/reports/page.php?cat_id=1ed90bc32310b503b7ca9b32af425ae5
กิตติยา พิมพาเรือ, ศิริพร คำสะอาด, สุพจน์ คำสะอาด, & ฉลองพล สารทอง. (2564). การเปรียบเทียบการถดถอยลอจิสติกและการถดถอยค็อกซ์ กรณีการตายจากมะเร็งท่อนํ้าดี [ฉบับออนไลน์]. การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษาแห่งชาติ ครั้งที่ 22 (ออนไลน์) [ฉบับออนไลน์], 560–569.
เกตย์สิรี ศรีวิไล. (2559). การตั้งครรภ์ซ้ำในมารดาวัยรุ่น ในโรงพยาบาลชุมชนแห่งหนึ่งของภาคใต้ [ฉบับออนไลน์]. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้, 3(3), 142–152.
คณะกรรมการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น. (2559). ยุทธศาสตร์การป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นระดับชาติ พ.ศ.2560-2569 ตามพระราชบัญญัติการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น พ.ศ. 2559. ค้นเมื่อ 8 มิถุนายน 2566, จาก https://datahpc9.anamai.moph.go.th/group_sr/allfile/1611217699.pdf
ชนม์นิภา แก้วพูลศรี. (2566ก). ติดเพื่อน สนใจเรื่องเพศ พฤติกรรมเด็กวัยรุ่นตอนต้นที่พ่อแม่ควรใส่ใจ. ศูนย์สุขภาพเด็ก โรงพยาบาลพญาไท 2. ค้นเมื่อ 18 กรกฎาคม 2566, จาก https://www.phyathai.com/th/article/2871-ติดเพื่อน_สนใจเรื่องเพศ
ชนม์นิภา แก้วพูลศรี. (2566ข). บุคลิกชัดเจน ปรับตัวเข้ากับผู้อื่น นี่แหละ! พัฒนาการในเด็กวัยรุ่นตอนปลาย. ศูนย์สุขภาพเด็ก โรงพยาบาลพญาไท 2. ค้นเมื่อ 18 กรกฎาคม 2566, จาก https://www.phyathai.com/th/article/2870-บุคลิกชัดเจน_ปรับตัว.
ชนม์นิภา แก้วพูลศรี. (2566). เริ่มค้นหาตนเอง ทดลองสิ่งใหม่ๆ นี่คือพัฒนาการในเด็กวัยรุ่นตอนกลางที่พ่อแม่ต้องเข้าใจ. ศูนย์สุขภาพเด็ก โรงพยาบาลพญาไท 2. ค้นเมื่อ 18 กรกฎาคม 2566, จาก https://www.phyathai.com/th/article/2872-เริ่มค้นหาตนเอง_ทดลองสิ่งใหม่
ชาตรี แมตสี่ & ศิวิไลซ์ วนรัตน์วิจิตร. (2560). การสร้างเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพ: จากแนวคิดสู่การปฏิบัติ [ฉบับออนไลน์]. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์, 9(2), 96-111.
นงลักษณ์ สุขวาณิชย์ศิลป์. (2563). ยาคุมกำเนิดชนิดฉีด. หน่วยคลังข้อมูลยา คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล. ค้นเมื่อ 8 สิงหาคม 2566, จาก https://pharmacy.mahidol.ac.th/th/service-knowledge-article-info-old.php?id=528
นงลักษณ์ สุขวาณิชย์ศิลป์. (2564). ห่วงอนามัย…สำหรับการคุมกำเนิดระยะยาว. หน่วยคลังข้อมูลยา คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล. ค้นเมื่อ 8 สิงหาคม 2566, จาก https://pharmacy.mahidol.ac.th/th/service-knowledge-article-info-old.php?id=566
นงลักษณ์ สุขวาณิชย์ศิลป์. (2564). ยาคุมกำเนิดชนิดฝัง. หน่วยคลังข้อมูลยา คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล. ค้นเมื่อ 31 ตุลาคม 2566, จาก https://pharmacy.mahidol.ac.th/th/service-knowledge-article-info-old.php?id=547
นิตยา เพ็ญศิรินภา. (2564). ปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นกับหลักสูตรเพศศึกษารอบด้าน [ฉบับออนไลน์]. วารสารวิชาการสาธารณสุขชุมชน, 7(3), 1–16.
ปิยะรัตน์ เอี่ยมคง, ธัชณัท พันตรา & กมลชนก คชฤทธิ์. (2560). รายงานเฝ้าระวังการตั้งครรภ์แม่วัยรุ่น พ.ศ. 2560. นนทบุรี: สำนักอนามัยการเจริญพันธุ์ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข.
ฝ่ายเภสัชกรรม โรงพยาบาลศิริราช ปิยมหาราชการุณย์. (2565). รู้ก่อนใช้ ยาเม็ดคุมกำเนิด. ฝ่ายเภสัชกรรม โรงพยาบาลศิริราช ปิยมหาราชการุณย์. ค้นเมื่อ 8 สิงหาคม 2566, จาก https://www.siphhospital.com/th/news/article/share/birth-control-pill
มณิสรา ห่วงทอง, วรรณี เดียวอิศเรศ, & วรรณทนา ศุภสีมานนท์. (2562). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการตั้งครรภ์ซ้ำอย่างรวดเร็วของหญิงตั้งครรภ์วัยรุ่น [ฉบับออนไลน์]. วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี, 30(1), 161–172.
ศิริพร คำสะอาด. (2561). การวิเคราะห์การอยู่รอด. ขอนแก่น: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยขอนแก่น
ศิริพร ศรีอินทร์. (2564). ปัจจัยทำนายการตั้งครรภ์โดยไม่ตั้งใจในวัยรุ่น อำเภอท่ายาง จังหวัดเพชรบุรี [ฉบับออนไลน์]. วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี, 4(1), 68–81.
สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย. (2566). ‘แม่วัยรุ่น’ ค่าเสียโอกาสที่ไม่เล็กของแม่เด็กในประเทศไทย. ค้นเมื่อ 19 ตุลาคม 2566, จาก https://tdri.or.th/2023/03/teen-pregnancy/
สำนักอนามัยการเจริญพันธุ์ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. (2565). รายงานประจำปี 2565. ค้นเมื่อ 1 มิถุนายน 2566, จาก https://rh.anamai.moph.go.th/th/department-yearly-report/download/?did=212085&id=100907&reload=
สุกัญญา ปวงนิยม, & วันเพ็ญ แก้วปาน. (2561). ปัจจัยที่มีผลต่อการตั้งครรภ์ซ้ำในแม่วัยรุ่น จังหวัดเพชรบุรี [ฉบับออนไลน์]. วารสารวิชาการสาธารณสุข, 27(1), 30–41.
สุดกัญญา ปานเจริญ, จิราจันทร์ คณฑา, & ภัทรานิษฐ์ จองแก. (2563). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อความตั้งใจตั้งครรภ์ซ้ำในหญิงตั้งครรภ์วัยรุ่น [ฉบับออนไลน์]. วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ, 5(10), 231–247.
อังสนา วิศรุตเกษมพงษ์, & สมจิตร เมืองพิล. (2558). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อความตั้งใจตั้งครรภ์ซ้ำในหญิงตั้งครรภ์วัยรุ่น [ฉบับออนไลน์]. ศรีนครินทร์เวชสาร, 30(3), 262–269.
อุษมา ช้อนนาค, & วีรวิทย์ ปิยะมงคล. (2565). การตั้งครรภ์ในวัยรุ่น. ภาควิชาสูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ . ค้นเมื่อ 12 กรกฎาคม 2566, จาก https://w1.med.cmu.ac.th/obgyn/lecturestopics/49484/
Govender, D., Naidoo, S., & Taylor, M. (2018). Scoping review of risk factors of and interventions for adolescent repeat pregnancies: a public health perspective [Electronic version]. African Journal of Primary Health Care & Family Medicine, 10(1).
Maravilla, J. C., Betts, K. S., Couto e Cruz, C., & Alati, R. (2017). Factors influencing repeated teenage pregnancy: a review and meta-analysis [Electronic version]. American Journal of Obstetrics and Gynecology, 217(5), 527-545.
Ngoda, O. A., Mboya, I. B., Mahande, M. J., Msuya, S. E., & Renju, J. (2021). Trends and factors associated with repeated adolescent pregnancies in Tanzania from 2004-2016: evidence from Tanzania demographic and health surveys [Electronic version]. Pan African Medical Journal, 40.
Raneri, L. G., & Wiemann, C. M. (2007). Social ecological predictors of repeat adolescent pregnancy [Electronic version]. Perspectives on Sexual and Reproductive Health, 39(1), 39–47.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.