ภาวะเครียดและความวิตกกังวล จากเหตุการณ์ระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของบุคลากรสาธารณสุข จังหวัดชัยภูมิ

THE STRESS AND ANXIETY FROM CORONAVIRUS 2019 PANDEMIC AMONG HEALTHCARE PERSONNEL, CHAIYAPHUM PROVINCE

ผู้แต่ง

  • ปกกมล เหล่ารักษาวงษ์ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • pratoomrat aotprapai

คำสำคัญ:

ภาวะเครียด, ความวิตกกังวล, โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019, บุคลากรสาธารณสุข, จังหวัดชัยภูมิ

บทคัดย่อ

         

การศึกษาวิจัยเชิงพรรณนาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานการณ์ของภาวะเครียดและความวิตกกังวล จากเหตุการณ์ระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 กลุ่มตัวอย่างคือ บุคลากรสาธารณสุข จังหวัดชัยภูมิ จำนวน 758 ราย โดยสุ่มตัวอย่างแบบอย่างง่าย และทำการเก็บรวบรวมข้อมูลแบบสอบถามออนไลน์ผ่าน google form โดยทำการเก็บข้อมูลระหว่างช่วงเดือนมกราคม-เมษายน พ.ศ.2566 และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา

ผลการศึกษาพบว่า บุคลากรสาธารณสุขส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 70.58 มีอายุเฉลี่ย (SD) = 36.52 (8.57) ปี เป็นข้าราชการ ร้อยละ 72.56 มีลักษณะการปฏิบัติงานโดยตรงต่อเหตุการณ์ระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ร้อยละ 77.04 ใช้ระยะเวลาในการปฏิบัติงานมากกว่า 48 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ ร้อยละ 70.71 นอกจากนี้พบว่าบุคลากรสาธารณสุขส่วนใหญ่มีผู้สูงอายุในครอบครัว ร้อยละ 77.44 และเคยกักตัวเนื่องจากมีความเสี่ยงติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ร้อยละ 87.73 แลพพบว่า บุคลากรสาธารณสุขมีภาวะเครียด ร้อยละ 26.52 และมีความวิตกกังวล ร้อยละ 55.94 โดยพบว่าบุคลากรสาธารณสุขส่วนใหญ่มีอาการเบื่อหน่าย เซ็ง บ่อยครั้ง ร้อยละ 25.20 และเป็นประจำ ร้อยละ 17.02 และบุคลากรสาธารณสุขส่วนใหญ่มีความวิตกกังวลเกี่ยวกับสมาชิกในครอบครัวมีโอกาสเสียชีวิตจากการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ร้อยละ 51.98 จากการศึกษาครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่า หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรดำเนินการศึกษาถึงปัจจัยที่สัมพันธ์กับภาวะความเครียดและวิตกกังวล เพื่อทราบข้อมูลสำหรับการวางแผนแก้ไขปัญหาให้แก่บุคลากรสาธารณสุขในพื้นที่ เพื่อลดความตึงเครียดและความวิตกกังวลจากการปฏิบัติงาน และเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานที่ดีขึ้น

References

กกรมควบคุมโรค. (2563). คู่มือเจ้าหน้าที่สาธารณสุข ในการตอบโต้ภาวะฉุกเฉิน กรณีการระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ประเทศไทย. ค้นเมื่อ 18 ธันวาคม 2565, จาก https://w2.med.cmu.ac.th/nd/wpcontent/uploads/2020/03/ COVID19_ 04032020.pdf

กรมควบคุมโรค. (2563). โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019. ค้นเมื่อ 2 ธันวาคม 2565, จาก https://ddc.moph.go.th/viral pneumonia/

กรมสุขภาพจิต. (2563). คู่มือการดูแลสังคมจิตใจ บุคลากรสุขภาพในภาวะวิกฤตโควิด-19. ค้นเมื่อ 2 ธันวาคม 2565, จาก https:// mhcdmh. go.th/backoffice/myinfo/202 10601044824.pdf

กรมสุขภาพจิต. (2564). บทความด้านสุขภาพจิต สำรวจสุขภาพใจบุคลากรทางสาธารณสุข. ค้นเมื่อ 2 ธันวาคม 2565, จาก https:// dmh.go.th/ news/view.asp?id=2417

ทรงวุฒิ ชนะอุดมสุข, & ธีระวุธ ธรรมกุล. (2565). ภาวะความเครียด ในช่วงวิกฤตโควิด-19 ของบุคลากรสาธารณสุข อำเภอปราณบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์. วารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรค ที่ 10 จังหวัดอุบลราชธานี, 20(1), 63-76.

ปัณณทัต ตันธนปัญญากร, กล้าณรงค์ วงศ์พิทักษ์, กุลภัสร์ชา มาอุ่น, พลอยณญารินทร์ ราวินิจ, & อานันตยา ป้องกัน. (2565). ความชุกและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความเครียด ของ บุคลากรทางการแพทย์ ในสถานการณ์การระบาดของเชื้อโคโรน่าไวรัส-2019 ของโรง พยาบาลแห่งหนึ่ง สังกัดกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. วารสารวิจัยและพัฒนาวไลย อลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ สาขาวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี, 17(1), 111-125.

วิศิษฎ์ เนติโรจนกุล. (2563). ความชุกและปัจจัยที่เกี่ยวข้องของปัญหาทางสุขภาพ จิตของบุคลากรทางการแพทย์ โรงพยาบาลนครปฐม ในยุคการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19). วารสารแพทย์ เขต 4-5, 39(4).

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดชัยภูมิ. (2566). สถานการณ์โควิด-19 จังหวัดชัยภูมิ. ค้นเมื่อ 2 ธันวาคม 2565, จาก https://looker studio.google. com/u/0/reporting/e0f9f7f4-07b8-42b0-bf67-fe8 ebc65a0fa/page/z9qlC

Elbay, R.Y., Kurtulmuş, A., Arpacıoğlu, S., & Karadere, E. (2020). Depression, anxiety, stress levels of physicians and associated factors in Covid-19 pandemics. Psychiatry research, 290, 113130.

Khademian, F., Delavari, S., Koohjani, Z., & Khademian, Z. (2021). An investigation of depression, anxiety, and stress and its relating factors during COVID-19 pandemic in Iran. BMC public health, 21(1), 1-7.

Kuo, F.L., Yang, P.H., Hsu, H.T., Su, C.Y., Chen, C.H., Yeh, I.J., & Chen, L.C. (2020). Survey on perceived work stress and its influencing factors among hospital staff during the COVID‐19 pandemic in Taiwan. The Kaohsiung journal of medical sciences, 36(11), 944-952.

Sanyaolu, A., Okorie, C., Marinkovic, A., Patidar, R., Younis, K., Desai, P., et al. (2020). Comorbidity and its impact on patients with COVID-19. SN comprehensive clinical medicine, 2(8), 1069-1076.

Wanigasooriya, K., Palimar, P., Naumann, D.N., Ismail, K., Fellows, J.L., Logan, P., & Ismail, T. (2021). Mental health symptoms in a cohort of hospital healthcare workers following the first peak of the COVID-19 pandemic in the UK. BJPsych open, 7(1).

Wayne, W.D. (1995). Biostatistics: A Foundation of Analysis in the Health Sciences. 6th ed. NY: John Wiley&Sons.

Wilson, W., Raj, J.P., Rao, S., Ghiya, M., Nedungalaparambil, N.M., Mundra, H., & Mathew, R. (2020). Prevalence and predictors of stress, anxiety, and depression among healthcare workers managing COVID-19 pandemic in India: a nationwide observational study. Indian Journal of Psychological Medicine, 42(4), 353-358.

World Health Organization (WHO). (2023). WHO Coronaviras Dashboard. Retrieved March2023, from https://covid19. who.int/? mapFilter=cases

Zhu, N., Zhang, D., Wang, W., Li, X., Yang, B., Song, J., et al. (2020). A novel coronavirus from patients with pneumonia in China, 2019. New England journal of medicine, 382(8).

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-03-21