ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการมีฟันผุของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 อำเภอหนองบัวแดง จังหวัดชัยภูมิ : การวิเคราะห์พหุระดับ

ผู้แต่ง

  • ภัสราวดี ศรีสุข
  • ศิริพร คำสะอาด
  • นพรัตน์ ลาภส่งผล
  • ประภัสรา ศิริกาญจน์

บทคัดย่อ

ฟันผุในเด็กส่งผลกระทบต่อสุขภาพของเด็ก ปัจจัยที่มีผลต่อฟันผุมีทั้งปัจจัยจากเด็กและโรงเรียน ซึ่งยังไม่เคยปรากฏมีการวิเคราะห์พหุระดับเพื่อพิจารณาปัจจัยทั้งสองระดับมาก่อน การศึกษานี้จึงศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยของเด็กนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 อำเภอหนองบัวแดง จังหวัดชัยภูมิ และปัจจัยของโรงเรียนกับการมีฟันผุของเด็กนักเรียน การศึกษาเชิงวิเคราะห์แบบภาคตัดขวาง เก็บรวบรวมข้อมูลโดยนำแบบสอบถามซึ่งผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาให้ตัวอย่างนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 574 คน จาก 36 โรงเรียน ในเขตอำเภอหนองบัวแดง ตอบด้วยตนเอง ผู้บริหารโรงเรียนหรือครูที่ได้รับมอบหมาย โรงเรียนละ 1 คน ตอบปัจจัยด้านโรงเรียน ข้อมูลฟันผุได้จากบันทึกข้อมูลการตรวจสุขภาพช่องปากของนักเรียน นำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์เพื่อหาความสัมพันธ์ด้วยการถดถอยลอจิสติกแบบพหุระดับเพื่อประมาณค่าช่วงเชื่อมั่นของอัตราส่วนออดส์ โดยกำหนดระดับความเชื่อมั่นที่ร้อยละ 95

ผลการศึกษา พบ นักเรียนหญิงฟันผุ 1.31 เท่า (95% CI: 0.91, 1.90) ของนักเรียนชาย นักเรียนที่แปรงฟันวันละ 2-3 ครั้ง ฟันผุ 0.80 เท่า (95% CI: 0.45, 1.41) ของนักเรียนที่ไม่แปรงฟันทุกวัน นักเรียนที่มีคะแนนพฤติกรรมการบริโภคอาหารในระดับดี ฟันผุ 1.03 เท่า (95% CI: 0.54, 1.95)  ของนักเรียนที่มีคะแนนในระดับไม่ดี โรงเรียนที่จัดสิ่งแวดล้อมเอื้อต่อการแปรงฟันของนักเรียนในระดับมาก นักเรียนฟันผุ 1.93 เท่า (95% CI: 0.64, 5.80) ของโรงเรียนที่ไม่จัดสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการแปรงฟัน โรงเรียนที่มีการตรวจสุขภาพช่องปากให้นักเรียนมากกว่า 1 ครั้ง  นักเรียนฟันผุ 1.04 เท่า (95% CI: 0.77, 1.41) ของการตรวจ 1 ครั้ง โรงเรียนที่ขายอาหารซึ่งเอื้อต่อฟันผุ 5 ประเภท นักเรียนฟันผุ 1.10 เท่า (95% CI: 0.37, 3.26) ของโรงเรียนที่ไม่มีการขายอาหารซึ่งเอื้อต่อฟันผุ

สรุป การศึกษานี้ไม่พบความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยของนักเรียนและโรงเรียนกับการมีฟันผุทั้งนี้เพราะวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลกับนักเรียนไม่สามารถจำแนกการสัมผัสปัจจัยกับการไม่สัมผัสปัจจัยได้ นักเรียนมีการระบุคำตอบที่เหมือนกัน การเก็บรวบรวมข้อมูลโดยให้นักเรียนตอบแบบสอบถามด้วยตนเองจึงต้องหาแนวทางป้องกันการระบุคำตอบที่เหมือนกัน   

References

กนิพันธุ์ ปานณรงค์, อัญชลี เหมชะญาติ, & ประคองศรี ถนอมนวล. (2559). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเกิดโรคฟันผุในเด็กนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จังหวัดศรีสะเกษ. วารสารการศึกษาและการพัฒนาสังคม, 12(1), 58-68.

กระทรวงสาธารณสุข สำนักทันตสาธารณสุข กรมอนามัย และ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ. (2562). คู่มือการบริหารจัดการการบริการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคในช่องปากที่มุ่งเน้นการเข้าถึงบริการบางกลุ่มวัยเป็นการจำเพาะ. นนทบุรี:

สหมิตรพริ้นติ้งแอนด์พับลิสชิ่ง.

กลุ่มพัฒนาทันตสุขภาพเด็กปฐมวัยและวัยเรียน สำนักทันตสาธารณสุข กรมอนามัย. (2563). รายงานโครงการการประเมินผลโปรแกรมส่งเสริมสุขภาพช่องปากและป้องกันโรคในโรงเรียน. ค้นเมื่อ 1 กรกฎาคม 2565, จาก https://hp.anamai.moph.go.th/web-upload/4xceb3b571ddb70741ad132d75876bc41d/tinymce/OPDC/OPDC2565-S/IDC1_12/opdc_2565_IDC1-12_08.pdf

กองส่งเสริมความรอบรู้และสื่อสารสุขภาพ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. (2561). เด็กไทยกับโรคฟันผุ ปัญหาใหญ่ที่ส่งผลถึงอนาคต. ค้นเมื่อ 1 กรกฎาคม 2565, จาก https://multimedia.anamai.moph.go.th/help-knowledgs/kid-and-decay-tooth/

กองสุขศึกษา กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข. (2561). กลยุทธ์การสร้างเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพ. กรุงเทพฯ: สามเจริญพาณิชย์(กรุงเทพ).

จิราพร ขีดดี, สุรัตน์ มงคลชัยอรัญญา, นพวรรณ โพชนุกูล, พงศธร จินตกานนท์, & พัชรวรรณ สุขุมาลินท์. (2561). รายงานผลการสำรวจสภาวะสุขภาพช่องปากแห่งชาติครั้งที่ 8 ประเทศไทย พ.ศ. 2560. นนทบุรี: สำนักทันตสาธารณสุข กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข.

ชนิกา โรจน์สกุลพานิช, นวรัตน์ สุวรรณผ่อง, มธุรส ทิพยมงคลกุล, & ณัฐนารี เอมยงค์. (2563). สภาวะช่องปากและพฤติกรรมทันตสุขภาพของเด็กนักเรียนอายุ 12 ปี ในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารทันตาภิบาล, 31(2), 136-150.

โรงพยาบาลเปาโลโชคชัย4. (2561). “โรคฟันผุในเด็ก” ปัญหาเล็ก ๆ ที่อาจกลายเป็นเรื่องใหญ่. ค้นเมื่อ 7 กันยายน 2566, จาก https://www.paolohospital.com/th-TH/chokchai4/Article/Details/ทันตกรรม/-โรคฟันผุในเด็ก--ปัญหาเล็ก-ๆ-ที่อาจกลายเป็นเรื่องใหญ่

ศิริชัย กาญจนวาลี. (2554). การวิเคราะห์พหุระดับ. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ศุภศิลป์ ดีรักษา. (2564). พฤติกรรมด้านทันตสุขภาพและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเกิดโรคฟันแท้ผุในเด็กนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ในเขตอำเภอท่าคันโท จังหวัดกาฬสินธุ์. วารสารทันตาภิบาล, 32(1), 13-27.

ศูนย์ทันตกรรม โรงพยาบาลพญาไท 2. (2563). แปรงฟันถูกวิธี ดีต่อสุขภาพปาก...ลดปัญหาฟันผุ. ค้นเมื่อ 12 กรกฎาคม 2566, จาก https://www.phyathai.com/article_detail/3069/th/แปรงฟันถูกวิธี_ดีต่อสุขภาพปาก...ลดปัญหาฟันผุ#:~:text=การแปรงฟันไม่ใช่เพียง,บนลิ้น%20ช่วยให้ลิ้น

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดชัยภูมิ. (2565). Dashboard สุขภาพช่องปากจังหวัดชัยภูมิจาก HDC: เด็ก 12 ปี ฟันดีไม่มีผุ. ค้นเมื่อ 31 กรกฎาคม 2565, จาก https://kmsandbox.notion.site/Dashboard-HDC-f9a76527505741b39e0bcaf5c782adc6.

สุดาดวง กฤษฎาพงษ์. (2557). สร้างสิ่งแวดล้อมที่ดี เพื่อพฤติกรรมที่ดี. ค้นเมื่อ 13 กรกฎาคม 2566, จาก http://161.200.36.106/upload/web_km/file_pdf_60_1615.pdf.

Ademe, D., Admassu, D., & Balakrishnan, S. (2020). Analysis of salivary level Lactobacillus spp. and associated factors as determinants of dental caries amongst primary school children in Harar town, eastern Ethiopia [Electronic version]. BMC Pediatr, 20(1), 18. doi: 10.1186/s12887-020-1921-9. PMID: 31948433; PMCID: PMC6964209.

Kaewkamnerdpong, I., & Krisdapong, S. (2018). The Associations of School Oral Health-Related Environments with Oral Health Behaviours and Dental Caries in Children. Caries Res, 52(1-2), 166-175.

Mulu, W., Demilie, T., Yimer, M., Meshesha, K., & Abera, B. (2014). Dental caries and associated factors among primary school children in Bahir Dar city: a cross-sectional study [Electronic version]. [Electronic version]. BMC Res Notes, 7, 949. doi: 10.1186/1756-0500-7-949. PMID: 25540044; PMCID: PMC4307198.

Zeng, L., Peng, Y., Xu, T., Wen, J., Wan, L., Ou, X., et al. (2020). Dental caries and associated factors among adolescents aged 12 to 15 in Jiangxi Province, China. J Public Health Dent, 80(3), 217-226.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-03-21