การพัฒนาและประเมินผลโปรแกรมการมีส่วนร่วมของชุมชนต่อระบบการแพทย์ฉุกเฉินสำหรับผู้สูงอายุในเขตเทศบาลตำบลสุเทพในจังหวัดเชียงใหม่
บทคัดย่อ
การวิจัยเชิงปฏิบัติการอย่างมีส่วนร่วมนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาโปรแกรมการมีส่วนร่วมของชุมชน และเพื่อเปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยของการมีส่วนร่วมของชุมชน ก่อนและหลังการได้รับโปรแกรม รวมไปถึงเพื่อศึกษาความเป็นไปได้ของการใช้โปรแกรม โดยศึกษาในเขตเทศบาลตำบลสุเทพในจังหวัดเชียงใหม่ แบ่งเป็นการศึกษาเป็น 3 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 การวิเคราะห์สถานการณ์ กลุ่มตัวอย่าง 17 คน เลือกแบบเจาะจง ได้แก่ เจ้าหน้าที่และตัวแทนชุมชน ระยะที่ 2 การดำเนินงานและระยะที่ 3 การประเมินผล ขนาดตัวอย่าง 151 คน (คำนวณจาก 2960 คน) และกลุ่มตัวอย่าง 17 คนเดิมจากระยะที่ 1 เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ระยะที่ 1 คือ แนวคำถามสนทนากลุ่มการวิเคราะห์สถานการณ์การมีส่วนร่วมของชุมชน ระยะที่ 2 คือ โปรแกรมการมีส่วนร่วมของชุมชนที่พัฒนาขึ้น และระยะที่ 3 มี 3 เครื่องมือ ได้แก่ แบบสอบถามการมีส่วนร่วมของชุมชน แนวคำถามการสนทนากลุ่มความเป็นไปได้ในการใช้โปรแกรมและแบบสอบถามความเป็นไปได้หลังการใช้โปรแกรม การวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ข้อมูลเชิงคุณภาพวิเคราะห์โดยการแบ่งข้อมูลเป็นหมวดหมู่ และข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เปรียบเทียบค่าเฉลี่ย โดยใช้สถิติ Paired t-test ก่อนและหลังการได้รับโปรแกรม ผลการศึกษา พบว่า ระยะที่ 1 กลุ่มตัวอย่างได้ร่วมกันพัฒนาโปรแกรมการมีส่วนร่วมของชุมชนต่อระบบการแพทย์ฉุกเฉินสำหรับผู้สูงอายุขึ้นตามผลการวิเคราะห์สถานการณ์ ระยะที่ 2 พบว่า ชุมชนให้ความร่วมมือในการดำเนินการใช้โปรแกรมที่พัฒนาขึ้น และในระยะที่ 3 หลังการใช้โปรแกรม พบว่าคะแนนเฉลี่ยของการมีส่วนร่วมของชุมชนก่อนและหลังมีค่าสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.001) โดยมีผลต่างของคะแนนเฉลี่ย 23.60 คะแนน (95% CI: 21.10-26.09) และมีความเป็นไป ได้ในการนำไปใช้กับบริบทที่ใกล้เคียงกัน ข้อเสนอแนะควรมีการนำโปรแกรมไปใช้ในบริบทอื่นๆต่อไป
References
นฤมล ไกรกล, วิรัติ ปานศิลา, สงัด เชื้อลิ้นฟ้า. (2562). รูปแบบการมีส่วนร่วมของประชาชนเพื่อลดอุบัติเหตุทางถนน
ในพื้นที่จุดเสี่ยง ตำบลบุ่งหวาย อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี. วารสารวิชาการสาธารณสุขชุมชน,
(2), 42-52.
พรทิพย์ ขุนวิเศษ, วรพนธ์ หอมกรุ่น, บุษยา ดำคำ, อดิศักดิ์ ชวลิตวัชระ, เลิศฤทธิ์ พลนิกร, และทัสมะ จันทร์พิลา. (2561).
รายงานโครงการวิจัยเรื่องการพัฒนารูปแบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินสำหรับผู้สูงอายุในชุมชน
จังหวัดชัยนาท กรณีศึกษา ตำบลห้วยงู อำเภอเมืองจังหวัดชัยนาท. นนทบุรี: สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ.
ศรวณีย์ ทนุชิต, ดนัย ชินคำ, ณัฐธิดา มาลาทอง, สุรเดช ดวงทิพย์สิริกุล, และศรีเพ็ญ ตันติเวสส. (2560). รายงานวิจัย
ฉบับสมบูรณ์การศึกษาเพื่อจัดทาข้อเสนอเกี่ยวกับการจัดบริการการแพทย์ฉุกเฉินที่เหมาะสมสำหรับผู้สูงอายุ
ในประเทศไทย. นนทบุรี: สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ.
ศิราณี ศรีหาภาค และ คณะ. (2561). รายงานฉบับสมบูรณ์เรื่องรูปแบบการพัฒนาระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉิน
สำหรับผู้สูงอายุภายใต้กองทุนระบบการดูแลระยะยาว จังหวัดขอนแก่น (Operational Model of
Emergency Medical System for the Elderly in Long Term Care Fund, Khon Kaen
Province). นนทบุรี: สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ.
สมชาย วรกิจเกษมสกุล. (2554). ระเบียบวิธีการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. อุดรธานี: คณะครุศาสตร์
มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี.
สำนักงานเทศบาลตำบลสุเทพ. (2561). รายงานการติดตามประเมินผลแผนพัฒนา ประจำปี 2561 ครั้งที่ 2. ค้นเมื่อ
จาก http://www.suthep.go.th/about.php?id=27&pid=138
อติญาณ์ ศรเกษตริน, รุ่งนภา จันทรา, และชุลีพร หีตอักษร. (2561). การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมของผู้ใช้บริการ
ในการพัฒนาตลาดสดสุขภาพ. วารสารราชภัฏสุราษฎร์ธานี, 5(2), 197-212.
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.