ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะก่อนเบาหวานของประชากรวัยทำงานที่มีญาติ สายตรงป่วยเป็นโรคเบาหวาน อำเภอกระนวน จังหวัดขอนแก่น

ผู้แต่ง

  • นพชัย ขบวนแก้ว นักศึกษาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดขอนแก่น

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงวิเคราะห์แบบภาคตัดขวางครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาภาวะก่อนเบาหวานของประชากรวัยทำงานที่มีญาติสายตรงป่วยเป็นโรคเบาหวาน และปัจจัยปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะก่อนโรคเบาหวานของประชากรวัยทำงานที่มีญาติสายตรงป่วยเป็นโรคเบาหวาน กลุ่มตัวอย่าง 337 คน ทำการสุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ Multiple logistics regression นำเสนอค่า Adjusted Odds Ratio พร้อมช่วงเชื่อมั่น 95% Confidence interval (CI) และ p-value กำหนดระดับนัยสำคัญ 0.05

ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่าง มีภาวะก่อนเบาหวาน ร้อยละ 24.63 (95% CI= 20.30-29.53) มีระดับความรอบรู้ด้านสุขภาพในการป้องกันโรคเบาหวาน อยู่ในระดับเพียงพอและดีเลิศ ร้อยละ 73.29 และมีพฤติกรรมการป้องกันโรคเบาหวาน อยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 42.73 และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะก่อนเบาหวาน ได้แก่ อายุ 45 ปีขึ้นไป (Adj.OR=4.39; 95% CI: 2.11-9.10; p-value<0.001) ความรอบรู้ด้านสุขภาพด้านการเข้าถึง (Adj.OR=2.41 ; 95% CI: 1.05-5.49 ; p-value=0.036) ความรอบรู้ด้านสุขภาพด้านการเข้าใจ (Adj.OR=5.92 ; 95% CI: 2.80-12.47; p-value <0.001) ความรอบรู้ด้านสุขภาพด้านการประเมิน (Adj.OR=5.39 ; 95% CI: 2.33-12.42 ; p-value <0.001) และพฤติกรรมการป้องกันโรคเบาหวาน (Adj.OR=4.41; 95% CI: 1.77-11.00 ; p-value=0.001) ดังนั้น หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรให้ความสำคัญในการสร้างเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพ ด้านการเข้าถึง เข้าใจ และการประเมิน พร้อมทั้งส่งเสริมพฤติกรรมการป้องกันโรคเบาหวานแก่ประชากรวัยทำงานที่มีญาติสายตรงป่วยเป็นโรคเบาหวาน

Author Biography

นพชัย ขบวนแก้ว, นักศึกษาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดขอนแก่น

ปริญญาสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต เกียรตินิยมอันดับสอง มหาวิทยาลัยเกษตรศาตร์

References

กองโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. (2563). รายงานประจำปี 2563 กองโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค. ค้นเมื่อ 12 พฤษภาคม 2566, จาก http://www.thaincd.com/2016/media-detail.php?id=13969&tid=&gid=1-015-005

กองโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. (2562). รายงานสถานการณ์โรค NCDs พ.ศ.2562 เบาหวาน ความดันโลหิตสูงและปัจจัยเสี่ยงที่เกี่ยวข้อง. ค้นเมื่อ 12 พฤษภาคม 2566, จาก http://www.thaincd.com/2016/media-

กองสุขศึกษา กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข. (2558). การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหารสำหรับวัยทำงาน.

ค้นเมื่อ 29 มิถุนายน 2566, จาก http://www.hed.go.th/linkhed/file/263

กองสุขศึกษา. (2559). การเสริมสร้างและประเมินความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพ. ค้นเมื่อ 12 พฤษภาคม 2566, จาก

www.hed.go.th/uploads/file/Health Listeracy/studywork.pdf

คณิต หนูพลอย และคณะ. (2563). สถานการณ์และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความเสี่ยงโรคเบาหวานและความเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูงของแรงงานต่างด้าวชาวพม่าในจังหวัดสุราษฎร์ธานี. นนทบุรี: สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข.

ชูหงส์ มหรรทัศนพงศ์. (2562). ปัจจัยที่สัมพันธ์กับโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ในประชาชนทั่วไปอายุ 15 ปีขึ้นไปในเครือข่ายหน่วยปฐมภูมิของโรงพยาบาลสุรินทร์. วารสารศูนย์การศึกษาแพทยศาสตร์คลินิก โรงพยาบาลพระปกเกล้า, 36(2), 154-160.

นลัท พรชัยวรรณาชาติ. (2563). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะเสี่ยงต่อโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ในผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่เข้ารับการรักษาที่ศูนย์แพทย์ชุมชน.วารสารระบบบริการปฐมภูมิและเวชศาสตร์ครอบครัว, 3(2), 73-86.

พรพรรณ สีลาศสง่างาม, จินตนา จุลทัศน์, & สุภาพร ใจการุณ. (2562). รูปแบบการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพในการป้องกันโรคเบาหวานของกลุ่มเสี่ยงจังหวัดอุบลราชธานี. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยการจัดการและเทคโนโลยีอีสเทิร์น, 16(1), 274-286.

ภมร ดรุณ, & ประกันชัย ไกรรัตน์. (2562). ปัจจัยความรอบรู้ด้านสุขภาพที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมสุขภาพของประชาชนจังหวัดบึงกาฬ. วารสารวิชาการกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ, 15(3), 71-82.

รณิดา เตชะสุวรรณา และคณะ. (2563). ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวานชนิดที่สองในคนไทย. วารสารควบคุมโรค, 46(3), 268-279.

วงศา เล้าหศิริวงศ์. (2560). การประเมินคุณภาพบทความวิจัยด้านสาธารณสุขและการพัฒนาโครงร่างวิจัย. ขอนแก่น: คลังนานาวิทยา.

วรรณภาภรณ์ จงกลาง, & นาฏนภา หีบแก้ว ปัดชาสุวรรณ์. (2564). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ของกลุ่มวัยทำงาน อำเภอโนนไทย จังหวัดนครราชสีมา. วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ, 14(3), 71-82.

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น. (2565). ระบบติดตามประเมินคุณภาพข้อมูลตามตัวชี้วัดคุณภาพ. ค้นเมื่อ 31 สิงหาคม 2565, จาก https://kkn.hdc.moph.go.th

Best, J.W. (1977). Research in Education. New Jersey: Prentice hall.

Centers for Disease Control and Prevention [CDC]. (2023). Random Blood Sugar Test. Retrieved June 1, 2022, from https://www.cdc.gov/diabetes/basics/getting-tested.html

Hsieh, F.Y., Bloch, D.A., & Laesen, M.D. (1998). A simple method of sample size calculation for linear and logistic regression. Statistics in Medicine, 17, 1623-1634.

Nutbeam, D. (2000). Health Literacy as a public health goal: a challenge for contemporary health education and communication strategies into health 21st century. Health Promotion International, 15(8), 259-267.

Toçi, E., Burazeri, G., Sørensen, K., Kamberi, H., & Brand, H. (2015). Concurrent validation of two key health literacy instruments in a South Eastern European population. Eur J Public Health, 25(3), 482-486.

Tavakol, M. & Dennick, R. (2011). Making sense of Cronbach's alpha. International journal of Medical Education, 2, 53-55.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-19