ปัจจัยที่สัมพันธ์กับภาวะแทรกซ้อนทางไตในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2

ผู้แต่ง

  • ณัฐณิชา สอื้นรัมย์ ภาควิชาชีวสถิติ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
  • จุฑาธิป ศีลบุตร ภาควิชาชีวสถิติ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
  • ชูเกียรติ วิวัฒน์วงศ์เกษม ภาควิชาชีวสถิติ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
  • ปรารถนา สถิตย์วิภาวี ภาควิชาชีวสถิติ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

บทคัดย่อ

ภาวะแทรกซ้อนทางไตในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น และเป็นสาเหตุของโรคไตเรื้อรังระยะสุดท้าย อย่างไรก็ตามปัจจัยที่สัมพันธ์กับภาวะแทรกซ้อนทางไตยังคงมีความสำคัญในการรักษาและป้องกันอย่างมากสำหรับบุคลากรทางการแพทย์ วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาปัจจัยที่สัมพันธ์กับภาวะแทรกซ้อนทางไตในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 วิธีการศึกษา: การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงวิเคราะห์แบบภาคตัดขวาง (Cross-sectional analytical study) โดยใช้ข้อมูลทุติยภูมิจากฐานข้อมูลสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ โดยผู้ป่วยได้รับการวินิจฉัยเบาหวานชนิดที่ 2 ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2559 ถึง 30 กันยายน 2560 ผู้ป่วยมีข้อมูลผลตรวจทางห้องปฏิบัติการ ได้แก่ น้ำตาลในเลือดหลังอาหาร น้ำตาลสะสมฮีโมโกลบิน A1c ไขมันไตรกลีเซอไรด์รวม ไขมันคอเลสเตอรอลตัวเลว และอัตราการกรองของไต และมีข้อมูลครบถ้วน จำนวน 388 ราย วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา และตัวแบบการถดถอยลอจิสติก ผลการศึกษา: พบว่า อัตราความชุกของภาวะแทรกซ้อนทางไตเท่ากับร้อยละ 5.15 (95%CI = 3.34-7.87) และปัจจัยที่สัมพันธ์กับภาวะแทรกซ้อนทางไต ได้แก่ ระยะเวลาการเป็นเบาหวานชนิดที่ 2 โรคความดันโลหิตสูง และค่าอัตราการกรองของไต (eGFR) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดยผู้ที่เป็นเบาหวานชนิดที่ 2 มากกว่าหรือเท่ากับ 42 เดือน มีโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนทางไต 3.32 เท่า (ORadj = 3.32; 95%CI = 1.10–10.03, p=0.034) เมื่อเทียบกับผู้ที่มีระยะเวลาน้อยกว่า 42 เดือน ผู้ที่เป็นโรคความดันโลหิตสูง มีโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนทางไตมากถึง 5.62 เท่า (ORadj = 5.62; 95%CI = 1.78–17.73, p=0.003) เมื่อเทียบกับผู้ที่ไม่เป็นโรคความดันโลหิตสูง และผู้ที่มีค่า eGFR ผิดปกติ มีโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนทางไต 3.94 เท่า (ORadj = 3.94; 95%CI = 1.51–10.25, p=0.005) เมื่อเทียบกับผู้ที่มีค่า eGFR ปกติ ข้อเสนอแนะ: บุคลากรทางการแพทย์ควรพิจารณาปัจจัยดังกล่าวที่สัมพันธ์กับภาวะแทรกซ้อนทางไต และนำไปใช้ในการวางแผนการรักษาและป้องกันต่อไป

References

กรมการแพทย์. (2560). การแพทย์ไทย 2554 - 2557: โรคไตเรื้อรัง. ค้นเมื่อ 31 พฤษภาคม 2566, จาก http://training.dms.moph.go.th/rtdc/article/2

ชิตกมล ศรีชมภู, & เบญจา มุกตพันธุ์. (2562). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเกิดภาวะแทรกซ้อนทางไตในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 โรงพยาบาลมหาชนะชัย จังหวัดยโสธร. วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 12(2), 62-72.

รัตนาพร สุวานิช, ลดา เลยหยุด, ปัทมา ล้อพงค์พานิชย์, & เจษฎา สุราวรรณ. (2565). ความชุกและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะแทรกซ้อนทางไตในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 โรงพยาบาลพระยืน จังหวัดขอนแก่น. วารสารสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น, 4(2), 163-175.

รสสุคนธ์ วาริทสกุล. (2557). การจัดการอาหารเพื่อชะลอความเสื่อมของไตในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังจากเบาหวาน. วารสารพยาบาลทหารบก, 15(1), 22-28

วิชัย เอกพลากร. (บรรณาธิการ). (2564). รายงานการสำรวจสุขภาพประชาชนไทยโดยการตรวจร่างกาย ครั้งที่ 6 2562 - 2563. นนทบุรี: อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์.

สายฝน ม่วงคุ้ม, พรพรรณ ศรีโสภา, วัลภา คุณทรงเกียรติ, ปณิชา พลพินิจ, วิภา วิเสโส, ชุติมา ฉันทมิตรโอภาส, และคณะ. (2563). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนของหลอดเลือดแดงขนาดเล็กในผู้ที่เป็นเบาหวานชนิดที่ 2. วารสารคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา, 28(2), 74-84.

สุปราณี สูงแข็ง, & สมพร แวงแก้ว. (2560). การวิเคราะห์ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเกิดภาวะไตเรื้อรังในผู้ป่วยเบาหวานในจังหวัดอุดรธานี. วารสารวิชาการสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 ขอนแก่น, 24(2), 1-9.

สุวรรณ เพ็ชรรุ่ง. (2563). ปัจจัยที่มีผลต่อโอกาสการเกิดภาวะไตเสื่อมของผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 โรงพยาบาลชุมชนบ้านนาจังหวัดนครนายก. วารสารไทยเภสัชศาสตร์และวิทยาการสุขภาพ, 15(1), 37-42.

สำนักงานบริหารยุทธศาสตร์สุขภาพดีวิถีชีวิตไทย สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. (2555). แนวทางการตรวจคัดกรองและดูแลรักษาภาวะแทรกซ้อนทางไตในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ. (2566). รายงานการสร้างระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ประจำ ปีงบประมาณ 2565. กรุงเทพฯ: แสงจันทร์การพิมพ์.

Aikaeli, F., Njim, T., Gissing, S., Moyo, F., Alam, U., Mfinanga, S. G., et al. (2022). Prevalence of microvascular and macrovascular complications of diabetes in newly diagnosed type 2 diabetes in low-and-middle-income countries: A systematic review and meta-analysis. PLOS Global Public Health, 2(6), e0000599.

Arnold, S. V., Khunti, K., Tang, F., Chen, H., Cid-Ruzafa, J., Cooper, A., et al. (2022). Incidence rates and predictors of microvascular and macrovascular complications in patients with type 2 diabetes: Results from the longitudinal global discover study. American Heart Journal, 243, 232-239.

Cheng, H.-T., Xu, X., Lim, P. S., & Hung, K.-Y. (2020). Worldwide Epidemiology of Diabetes-Related End-Stage Renal Disease, 2000–2015. Diabetes Care, 44(1), 89-97.

El Alami, H., Haddou, I., Benaadi, G., Lkhider, M., El Habchi, D., Wakrim, L., et al. (2022). Prevalence and risk factors of chronic complications among patients with type 2 diabetes mellitus in Morocco: a cross-sectional study. Pan African Medical Journal, 41, 182.

Hoogeveen, E. K. (2022). The epidemiology of diabetic kidney disease. Kidney Dialysis, 2(3), 433-442.

Hsieh F.Y., Bloch D.A., Larsen M.D. (1998). A simple method of sample size calculation for linear and logistic regression. Statistics in Medicine, 8, 1623-1634.

Huo, L., Magliano, D. J., Rancière, F., Harding, J. L., Nanayakkara, N., Shaw, J. E., et al. (2018). Impact of age at diagnosis and duration of type 2 diabetes on mortality in Australia 1997-2011. Diabetologia, 61(5), 1055-1063.

Ingsathit, A., Thakkinstian, A., Chaiprasert, A., Sangthawan, P., Gojaseni, P., Kiattisunthorn, K., et al. (2010). Prevalence and risk factors of chronic kidney disease in the Thai adult population: Thai SEEK study. Nephrology Dialysis Transplantation, 25(5), 1567-1575.

International Diabetes Federation. (2021). IDF Diabetes Atlas - 10th edition. Retrieved May 30, 2023, from https://diabetesatlas.org

Kovesdy, C. P. (2022). Epidemiology of chronic kidney disease: an update 2022. Kidney International Supplements, 12(1), 7-11.

Ohishi, M. (2018). Hypertension with diabetes mellitus: physiology and pathology. Hypertension Research, 41(6), 389-393.

Oshima, M., Toyama, T., Haneda, M., Furuichi, K., Babazono, T., Yokoyama, H., et al. (2018). Estimated glomerular filtration rate decline and risk of end-stage renal disease in type 2 diabetes. PLoS One, 13(8), e0201535.

Papatheodorou, K., Banach, M., Bekiari, E., Rizzo, M., & Edmonds, M. (2018). Complications of Diabetes 2017. Journal of Diabetes Research, 2018, 3086167.

Potisat, S., Krairittichai, U., Jongsareejit, A., Sattaputh, C., & Arunratanachote, W. (2013). A 4-year prospective study on long-term complications of type 2 diabetic patients: the Thai DMS diabetes complications (DD.Comp.) project. Journal of the medical association of Thailand, (6), 637-643.

Safiri, S., Nejadghaderi, S. A., Karamzad, N., Kaufman, J. S., Carson-Chahhoud, K., Bragazzi, N. L., et al. (2022). Global, Regional and National Burden of Cancers Attributable to High Fasting Plasma Glucose in 204 Countries and Territories, 1990-2019. Frontiers in Endocrinology, 13, 879890.

Sun, H., Saeedi, P., Karuranga, S., Pinkepank, M., Ogurtsova, K., Duncan, B. B., et al. (2022). IDF Diabetes Atlas: Global, regional and country-level diabetes prevalence estimates for 2021 and projections for 2045. Diabetes Research and Clinical Practice, 183, 109119.

Tziomalos, K., & Athyros, V. G. (2015). Diabetic Nephropathy: New Risk Factors and Improvements in Diagnosis. Review of Diabetic Studies, 12(1-2), 110-118.

Yang, J., & Jiang, S. (2022). Development and Validation of a Model That Predicts the Risk of Diabetic Nephropathy in Type 2 Diabetes Mellitus Patients: A Cross-Sectional Study. International Journal of General Medicine, 15, 5089-5101.

Zoungas, S., Woodward, M., Li, Q., Cooper, M. E., Hamet, P., Harrap, S., et al. (2014). Impact of age, age at diagnosis and duration of diabetes on the risk of macrovascular and microvascular complications and death in type 2 diabetes. Diabetologia, 57(12), 2465-2474.

Zurita-Cruz, J. N., Manuel-Apolinar, L., Arellano-Flores, M. L., Gutierrez-Gonzalez, A., Najera-Ahumada, A. G., & Cisneros-González, N. (2018). Health and quality of life outcomes impairment of quality of life in type 2 diabetes mellitus: a cross-sectional study. Health and Quality of Life Outcomes, 16(1), 94.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-12