ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการตัดสินใจฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ใน หญิงตั้งครรภ์ อำเภอกุสุมาลย์และอำเภอโพนนาแก้ว จังหวัดสกลนคร

ผู้แต่ง

  • saungsuda jamparad Public Health Thesis in Epidemiology, Graduate School, Khon Kaen University.

บทคัดย่อ

หญิงตั้งครรภ์เป็นกลุ่มเสี่ยงที่จะได้รับเชื้อโควิด-19 และหากหญิงตั้งครรภ์ติดเชื้อจะส่งผลกระทบต่อระบบทางเดินหายใจและอาจส่งผลเสียต่อทารกในครรภ์  ซึ่งการตัดสินใจฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 เป็นทางเลือกหนึ่งในการป้องกันโรคในปัจจุบัน

วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการตัดสินใจฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ของหญิงตั้งครรภ์อำเภอกุสุมาลย์และอำเภอโพนนาแก้ว จังหวัดสกลนคร

วิธีการศึกษา เป็นการศึกษาแบบ case-control study เก็บข้อมูลในช่วงเดือน เมษายน-พฤษภาคม 2566 โดยใช้แบบสอบถาม กลุ่มตัวอย่างในการศึกษาครั้งนี้ จำนวน 350 คน กลุ่มหญิงตั้งครรภ์ที่ฉีดวัคซีนโควิด-19และกลุ่มหญิงตั้งครรภ์ที่ไม่ฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 กลุ่มละ 175 คนวิเคราะห์หาความสัมพันธ์โดยใช้สถิติการถดถอยพหุลอจิสติก (Multiple logistic regression)  นำเสนอขนาดความสัมพันธ์ด้วยค่า Adjusted odds ratio (adjOR)  ช่วงเชื่อมั่นที่ 95% และ ค่า p-value

ผลการศึกษา พบว่า การมีโรคประจำตัว ประวัติการรับวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ และประวัติการติดเชื้อโควิด-19 มีความสัมพันธ์กับการตัดสินใจฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ของหญิงตั้งครรภ์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value< 0.05) เมื่อควบคุมผลกระทบจากตัวแปรในสมการสุดท้าย พบว่า หญิงตั้งครรภ์ที่มีโรคประจำตัว มีโอกาสฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 เป็น 2.63 เท่าของหญิงตั้งครรภ์ที่ไม่มีโรคประจำตัว (adjOR=2.63; 95% CI: 1.38-5.01, p-value = 0.003), หญิงตั้งครรภ์ที่เคยได้รับวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ มีโอกาสฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 เป็น 3.60 เท่า ของหญิงตั้งครรภ์ที่ไม่เคยรับวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ (adjOR=3.60; 95% CI: 2.25-5.76, p-value < 0.001) และหญิงตั้งครรภ์ที่มีประวัติเคยติดเชื้อโควิด-19 มีโอกาสฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 เป็น 1.91 เท่าของหญิงตั้งครรภ์ที่ไม่เคยติดเชื้อโควิด-19 (adjOR=1.91; 95% CI: 1.14-3.20, p-value = 0.014)

สรุปและข้อเสนอแนะ โรคประจำตัว ประวัติการฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ และประวัติการติดเชื้อโควิด-19 มี ความสัมพันธ์ กับการตัดสินใจฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ในหญิงตั้งครรภ์อำเภอกุสุมาลย์และอำเภอโพนนาแก้ว จังหวัดสกลนคร ดังนั้น เจ้าหน้าที่และบุคลากรที่ดูแลหญิงตั้งครรภ์ควรให้ความรู้เรื่องวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ในระหว่างตั้งครรภ์เพื่อสร้างความตระหนักและเพื่อให้หญิงตั้งครรภ์ตัดสินใจรับวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19มีความครอบคลุมเพิ่มขึ้น

References

กรมควบคุมโรค. (2564). สถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019. ค้นเมื่อ 20 ตุลาคม 2565, จาก https://ddc.moph.go.th/uploads/files/2017420210820025238.pdf

กรมควบคุมโรค. (2565). รายงานความก้าวหน้าการให้บริการฉีดวัคซีนโควิด 19. ค้นเมื่อ 12 กันยายน 2565, จาก https://ddc.moph.go.th/vaccine-covid19/pages/รายงานความก้าวหน้าการให้บริการฉีดวัคซีนโควิด-19

กระทรวงสาธารณสุข. (2565). MOPH Immunization Center Dashboard. ค้นเมื่อ 28 สิงหาคม 2565, จาก https://cvp1.moph.go.th/dashboard

กระทรวงสาธารณสุข. (2565). รายงานสถานการณ์ให้บริการฉีดวัคซีนโควิด-19. ค้นเมื่อ 30 กันยายน 2565, จาก https://ddc.moph.go.th/vaccine-covid19/getFiles/9/1664248633484.pdf

ธวัช บุญนวม, โชคชัย หมั่นแสวงทรัพย์, สุธรรม นันทมงคลชัย, & ดิฐกานต์ บริบูรณ์หิรัญสาร. (2561). การยอมรับวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ของหญิงตั้งครรภ์ที่มารับบริการในคลินิกฝากครรภ์ โรงพยาบาลศิริราช. วารสารสาธารณสุขศาสตร์, 48(2), 127-136.

นภชา สิงห์วีรธรรม, เพ็ญนภา ศรีหริ่ง, อรนุช ทองจันดี, วุฒิกุล ธนากาญจนภักดี, อัจฉรา คำมะทิตย์, & กิตติพร เนาว์สุวรรณ. (2565). ความเต็มใจยอมรับและความเต็มใจที่จะจ่ายเงินการได้รับการฉีดวัคซีนกระตุ้นซ้ำป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019. กรุงเทพฯ: สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข สถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข.

ประกาศกระทรวงสาธารณสุข. (2565). เรื่องยกเลิกประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่องชื่อและอาการสำคัญของโรคติดต่ออันตราย[ฉบับออนไลน์]. ราชกิจจานุเบกษา, 3, 1-2.

พยาไทย. (2564). Covid-19 และวัคซีนที่ควรฉีดในหญิงตั้งครรภ์. ค้นเมื่อ 30 กันยายน 2565, จาก https://www.phyathai.com/th/

article/3577-covid-19_และวัคซีนที่ควรฉีดใน

ภาสกร ศรีทิพย์สุโข, บุญยิ่ง ศิริบำรุงวงศ์, พิชญ ตันติยวรงค์, อารยา ศรัทธาพุทธ, พรรณศจี ดำรงเลิศ, & พีร์ จารุอำพรพรรณ. (2565). ประสิทธิผลของวัคซีนโควิด-19 ในประเทศไทย:การศึกษาในสถานการณ์จริง (ปีที่1). กรุงเทพฯ: ศูนย์แห่งความเป็นเลิศทางวิชาการด้านระบาดวิทยาประยุกต์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์. (2564). มีสติ ก่อนแชร์ วัคซีนไข้หวัดใหญ่กับโรคโควิด-19. ค้นเมื่อ 15 มิถุนายน 2566, จาก: https://chulalongkornhospital.go.th/kcmh/line/มีสติ-ก่อนแชร์-วัคซีนไข/

สอาด บรรเจิดฤทธิ์. (2565). ผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ต่อการบริหารทรัพยากรมนุษย์และองค์กรธรุกิจในประเทศไทย. วารสารวไลยอลงกรณ์ปริทัศน์ (มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์), 12(2), 292-206.

de Andrade Pereira Silva, M., Ribeiro, H.F., Oliveira, R.R., Pelloso, F.C., Pujals, C., Pedroso, R.B., et al. (2022). Factors associated with vaccination against Covid-19 in pregnant and ospitalized postpartum women: A retrospective cohort study. PLOS ONE, 17(6), e0269091.

Egloff, C., Couffignal, C., Cordier, A.G., Deruelle, P., Sibiude, J., Anselem, O., et al. (2022). Pregnant women’s perceptions of the COVID-19 vaccine: A French survey. PLOS ONE, 17(2), e0263512.

Kansal, N., Weaver, K., Vasudevan, L., & Hughes, B. (2022). Factors Increasing COVID-19 Vaccine Hesitancy Among Pregnant Women during a Global Pandemic. American Journal of Obstetrics Gynecology, 226(2), 313–314.

Levy, A.T., Singh, S., Riley, L.E., & Prabhu, M. (2021). Acceptance of COVID-19 vaccination in pregnancy: a survey study. Am J Obstet Gynecol MFM, 3(5), 100399.

Schlesselman, J.J. (1982). Case-Control Studies Design, Conduct Analysis. New York: Oxford University Press.

Schlesselman, J.J. (1974). Sample size requirements in cohort and case-control studies of disease. American Journal of Epidemiology, 99, 381-384.

Sznajder, K.K., Kjerulff, K.H., Wang, M., Hwang, W., Ramirez, S.I. & Gandhi, C.K. (2022). Covid-19 vaccine acceptance and associated factors among pregnant women in Pennsylvania 2020. Preventive Medicine Reports, 26, 1-7.

Tao, L., Wangb, R., Hanc, N., Liud, J., Yuane, C., Dengf, L., et al. (2021). Acceptance of a COVID-19 vaccine and associated factors among pregnant women in China: a multi-center cross-sectional study based on health belief model. Human Vaccines & Immunotherapeutics, 17(8), 2378-2388.

Villar, J., Ariff, S., Gunier, R.B., Thiruvengadam, R., Rauch, S., Kholin, A., et al. (2021). Maternal and Neonatal Morbidity and Mortality Among Pregnant Women With and Without COVID-19 Infection: The INTERCOVID Multinational Cohort Study. JAMA Pediatr, 175(8), 817-826.

Wang, L., Wang, Y., Ye, D., & Liu, Q. (2020). Review of the 2019 novel coronavirus (SARS-CoV-2) based on current evidence. International Journal of Antimicrobial Agents, 55, 1-8.

Zhu, N., Zhang, D., Wang, W., Li, X., Yang, B., Song, J., et al. (2020). A Novel Coronavirus from Patients with Pneumonia in China 2019. The New England Journal of Medicine, 382(8), 727-733.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-19