ความสัมพันธ์ระหว่างการดูดนมจากขวดกับโรคฟันผุของเด็กก่อนวัยเรียน ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก อำเภอทุ่งฝน จังหวัดอุดรธานี

ผู้แต่ง

  • อัญธิกา ศรีสุข สาขาวิชาวิทยาการระบาด คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • พิชญานิน เหล่าศิริวิจิตร กลุ่มงานทันตกรรม โรงพยาบาลทุ่งฝน
  • นภสร สมมิตร กลุ่มงานทันตกรรม โรงพยาบาลทุ่งฝน
  • ชนัญญา จิระพรกุล สาขาวิชาวิทยาการระบาดและชีวสถิติ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • เนาวรัตน์ มณีนิล สาขาวิชาวิทยาการระบาดและชีวสถิติ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

บทคัดย่อ

ปัญหาโรคฟันผุในกลุ่มเด็กก่อนวัยเรียนยังคงเป็นปัญหาทางทันตสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศไทย ซึ่งส่งผลกระทบต่อพัฒนาการ การเรียนรู้ และการเจริญเติบโต โดยสาเหตุของการเกิดโรคฟันผุมาจากหลายปัจจัยร่วมกัน ซึ่งสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดฟันผุคือการให้เด็กหลับคาขวดนมหรือไม่เลิกดูดขวดนมเมื่อถึงวัยที่เหมาะสม

วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการดูดนมจากขวดกับโรคฟันผุและความชุกของโรคฟันผุในรอบ 6 เดือน ของเด็กก่อนวัยเรียนในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก อำเภอทุ่งฝน จังหวัดอุดรธานี

วิธีการศึกษา เป็นการศึกษาวิจัยเชิงวิเคราะห์แบบภาคตัดขวาง (Analytical cross-sectional study) ในเด็กก่อนวัยเรียนอายุ 2 - 5 ปี ที่เรียนอยู่ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก อำเภอทุ่งฝน จังหวัดอุดรธานี ปีการศึกษา 2565 จำนวน 235 คน เก็บข้อมูลแบบสอบถามและตรวจสุขภาพช่องปากของเด็กก่อนวัยเรียน ระหว่างวันที่ 1 มีนาคม - 31 มีนาคม พ.ศ. 2566 วิเคราะห์หาความสัมพันธ์โดยใช้สถิติพหุถดถอยแบบลอจิสติก (Multiple logistic regression) นำเสนอค่า Adjusted odds ratio ค่า 95% Confidence interval และค่า P-value

ผลการศึกษา พบว่า เด็กก่อนวัยเรียนในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก อำเภอทุ่งฝน จังหวัดอุดรธานี พบความชุกของโรคฟันผุ ร้อยละ 55.3 (95%CI: 48.9 - 61.6) จากการศึกษาในครั้งนี้ พบว่า การดูดนมจากขวดมีความสัมพันธ์กับโรคฟันผุของเด็กก่อนวัยเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value < 0.001) เมื่อควบคุมผลกระทบจาก ตัวแปรความสัมพันธ์กับเด็กก่อนวัยเรียน ระดับการศึกษาสูงสุดของผู้ปกครอง และการแปรงฟัน แล้วพบว่า เด็กก่อนวัยเรียนที่ยังดูดขวดนมมีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคฟันผุเป็น 5.03 เท่า ของเด็กก่อนวัยเรียนที่เลิกดูดขวดนมแล้ว (Adjusted OR: 5.03; 95% CI: 2.47 - 10.26)

สรุปและข้อเสนอแนะ การดูดนมจากขวดมีความสัมพันธ์กับโรคฟันผุของเด็กก่อนวัยเรียน และยังพบความชุกของโรคฟันผุสูง ดังนั้นควรให้ความรู้แก่ผู้ปกครองเกี่ยวกับความสำคัญของการเลิกขวดนม รวมทั้งวิธีการที่ใช้ในการเลิกขวดนม และหาแนวทางในการส่งเสริมและป้องกันทางทันตสุขภาพ อันจะนำไปสู่การลดปัญหาโรคฟันผุของเด็กก่อนวัยเรียน

References

กลุ่มงานทันตสาธารณสุข สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุดรธานี. (2565). การสํารวจสภาวะทันตสุขภาพจังหวัดอุดรธานี ปี 2562 - 2563. อุดรธานี: สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุดรธานี.

ชัญญนิษฐ์ ห้อธิวงศ์. (2558). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับสภาวะโรคฟันผุของเด็กอายุ 3 - 5 ปี ในศูนย์เด็กอ่อนหวาน อำเภอสบปราบ จังหวัดลำปาง. วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ดุลยรัตน์ โถวประเสริฐ. (2564). ผลของการอ่านสื่อนิทานต่อพฤติกรรมการเลิกใช้ขวดนมของเด็กและทัศนคติของผู้ปกครองของเด็กปฐมวัยในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก อำเภอบางกรวย จังหวัดนนทบุรี. วารสารทันตาภิบาล, 32(1), 1-12.

ธัญลักษณ์ โสภา. (2556). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อสภาวะฟันผุของเด็กก่อนวัยเรียนในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ตำบลเชียงดาว อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.

นันธินีย์ วังนันท์, นพวรรณ เปียซื่อ, & สุจินดา จารุพัฒน์มารุโอ. (2560). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการบริโภคขนมขบเคี้ยวของเด็กก่อนวัยเรียน. วารสารสภาการพยาบาล, 32(4), 55-66.

นาฎวดี อังควัฒนะพงษ์. (2564). พฤติกรรมที่มีผลต่อสุขภาพฟันและช่องปากที่พบได้บ่อย. ค้นเมื่อ 9 ตุลาคม 2565, จาก https://shorturl.asia/AXB7x

ประไพ ชุณหคล้าย & สิริมา โกวิทวณิชชา. (2560). ภาวะทันตสุขภาพในชุดฟันน้ำนม และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเกิดโรคฟันผุรุนแรงในเด็กที่เข้ารับบริการในสถานเลี้ยงเด็กกลางวันหรือศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก. วารสารกรมการแพทย์, 42(4), 46-54.

พรรณราย ทัพนันตกุล. (2556). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับโรคฟันผุในเด็กปฐมวัยอายุ 3 - 6 ปี ในอำเภอพรหมคีรี จังหวัดนครศรีธรรมราช. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล.

พันทิพา ลาภปริสุทธิ. (2558). การเกิดฟันผุในเด็ก. ใน เอกสารประกอบการประชุมวิชาการศูนย์การแพทย์กาญจนาภิเษก ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยมหิดล.

ลักขณา อุ้ยจิรากุล, สุภาภรณ์ ฉัตรชัยวิวัฒนา, จันทนา อึ้งชูศักดิ์, & มุขดา ศิริเทพทวี. (2556). ความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการเลี้ยงดูและการเกิดโรคฟันผุในเด็กเล็ก ในจังหวัดสระแก้ว. ใน เอกสารประกอบการประชุมวิชาการการประชุมหาดใหญ่วิชาการ ครั้งที่ 4. สงขลา: มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.

วลีรัตน์ ศุกรวรรณ. (2564). โรคฟันผุและการป้องกันในเด็ก. ค้นเมื่อ 9 ตุลาคม 2565, จาก https://shorturl.asia/AXB7x

วันวิสา ดาริมุ่งกิจ. (2560). พฤติกรรมการดูแลทันตสุขภาพของผู้ปกครองเด็กวัยก่อนเรียน กรณีศึกษาศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ตำบลบางพระ อำเภอเมือง จังหวัดฉะเชิงเทรา. ฉะเชิงเทรา: สำนักงานสาธารณสุขอำเภอเมืองฉะเชิงเทรา จังหวัดฉะเชิงเทรา.

สำนักทันตสาธารณสุข กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. (2555). การสร้างเสริมสุขภาพช่องปาก ประตูสู่สุขภาพที่ดีในทุกช่วงวัยของชีวิต. กรุงเทพฯ: สำนักงานกิจการโรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก.

สำนักทันตสาธารณสุข กรมอนามัย. (2561). รายงานผลการสำรวจสภาวะสุขภาพช่องปากแห่งชาติครั้งที่ 8 ประเทศไทย พ.ศ. 2560. นนทบุรี: สามเจริญพาณิชย์ (กรุงเทพ).

สิทธิเดช สุขแสง. (2561). การสำรวจหาอายุเฉลี่ยของเด็กในการเลิกขวดนมและวิธีการของผู้ปกครองที่ใช้ในการเลิกขวดนมในเด็กอายุ 1 - 4 ปี ที่มารับบริการที่สถาบันพัฒนาสุขภาวะเขตเมือง. กรุงเทพฯ: สถาบันพัฒนาสุขภาวะเขตเมือง.

สุภา คำมะฤทธิ์. (2563). บทบาทของผู้ปกครองในการดูแลป้องกันโรคฟันผุสำาหรับเด็กวัยก่อนเรียน. วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้าจันทบุรี, 31(2), 257-268.

เสกสรรค์ มาละเสาร์. (2553). ภาวะสุขภาพช่องปากที่สัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตของเด็กประถมศึกษา อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

อรวรรณ นามมนตรี, นงรัตน์ กล่ำรัตน์, & สุนิสา ขาวโกทา. (2559). เด็กติดขวดนมจัดการอย่างไรดี?. วารสารทันตาภิบาล, 27(1), 144-152.

Avila, W.M., Pordeus, I.A., Paiva, S.M., & Martins, C.C. (2015). Breast and Bottle Feeding as Risk Factors for Dental Caries: A Systematic Review and Meta-Analysis. PLOS ONE, 10(11).

Dgheim, T., Badr, S., & Ragab, H. (2015). Relationship between caries experience and mothers' dental care knowledge and attitude among Palestinian refugees in Lebanon. International Arab Journal of Dentistry, 6(3), 118-125.

Kazeminia, M., Abdi, A., Shohaimi, S., Jalali, R., Vaisi-Raygani, A., Salari, N., et al. (2020). Dental caries in primary and permanent teeth in children’s worldwide, 1995 to 2019: a systematic review and metaanalysis. Head & Face Medicine, 16(1), 2-21.

Noaman, B.R., Khalid, R.F., & Fattah, L.D. (2019). Maternal dental health knowledge and its relation to the dental caries experience of their children in Mamyzawa camp of refugees in Erbil, Iraq. Acta Medica Academica, 48(3), 294-302.

Olatosi, O.O., & Sote, E.O. (2014). Association of Early Childhood Caries with Breastfeeding and Bottle Feeding in Southwestern Nigerian Children of Preschool Age. Journal of the West African College of Surgeons, 4(1), 31-53.

Sadique, S. (2015). A pilot study to explore the feasibility of building a cohort to investigate factors associated with dental caries in children. Dental Public Health College of Medical Veterinary and Life Sciences, University of Glasgow, Glasgow.

Sujlana, A., & Pannu, P. K. (2015). Family related factors associated with caries prevalence in the primary dentition of five-year-old children. Journal of Indian Society of Pedodontics and Preventive Dentistry, 33(2), 83-87.

World Health Organization. (2013). Oral health surveys: Basic methods. 5th ed. Geneva: WHO.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-19