ความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมการใช้ยาปฏิชีวนะอย่างสมเหตุผลของผู้ป่วย 3 โรคติดเชื้อในโรงพยาบาลหนองม่วงไข่

ผู้แต่ง

  • Janjira Komkaew -

คำสำคัญ:

ความรู้การใช้ยาปฏิชีวนะอย่างสมเหตุผล ทัศนคติการใช้ยาปฏิชีวนะอย่างสมเหตุผล พฤติกรรมการใช้ยาปฏิชีวนะอย่างสมเหตุผล ยาปฏิชีวนะ การใช้ยาอย่างสมเหตุผล

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมการใช้ยาปฏิชีวนะอย่างสมเหตุผลของผู้ป่วย 3 โรคติดเชื้อที่หายเองได้โดยไม่จำเป็นต้องได้รับยาปฏิชีวนะ ได้แก่ โรคติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนบน  โรคท้องร่วงเฉียบพลัน และ แผลเลือดออก ในโรงพยาบาลหนองม่วงไข่ รวมทั้งศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความรู้ ทัศนคติและพฤติกรรมการใช้ยาปฏิชีวนะอย่างสมเหตุผล วิธีการ: การวิจัยแบบผสมผสาน การวิจัยเชิงปริมาณ เก็บข้อมูลจากผู้รับบริการด้วย 3 โรคที่หายเองได้และไม่ได้รับยาปฏิชีวนะกลับบ้าน เลือกแบบเจาะจง จำนวน 276 คน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามเกี่ยวกับความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมการใช้ยาปฏิชีวนะอย่างสมเหตุผล การวิจัยเชิงคุณภาพเก็บข้อมูลจากผู้ให้ข้อมูลในงานวิจัยเชิงปริมาณที่เข้ารับบริการด้วย 3 โรคติดเชื้อและไม่ได้รับยาปฏิชีวนะในช่วงระยะเวลา 6 เดือนที่ผ่านมา จำนวน 30 คน โดยสัมภาษณ์เกี่ยวกับพฤติกรรมการแสวงหาซื้อยาปฏิชีวนะมาใช้ด้วยตนเองหลังจากไม่ได้รับยาปฏิชีวนะในการรักษา ความพึงพอใจที่ไม่ได้รับยาปฏิชีวนะ ในการให้คำแนะนำหรือการให้เหตุผลเกี่ยวกับการไม่ได้รับยาปฏิชีวนะ และในการบริการของเจ้าหน้าที่ทางการแพทย์ของโรงพยาบาลเกี่ยวกับการไม่จ่ายยาปฏิชีวนะ ผลการวิจัย: ค่าเฉลี่ยของคะแนนความรู้การใช้ยาปฏิชีวนะอย่างสมเหตุผล 10.19 ± 1.74 (คะแนนเต็ม 13 คะแนน) ค่าเฉลี่ยของคะแนนทัศนคติการใช้ยาปฏิชีวนะอย่างสมเหตุผล 44.54 ± 5.63 (คะแนนเต็ม 60 คะแนน) และค่าเฉลี่ยของคะแนนพฤติกรรมในการใช้ยาปฏิชีวนะอย่างสมเหตุผล 14.56 ± 2.51 (คะแนนเต็ม 20 คะแนน) ในการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมการใช้ยาปฏิชีวนะอย่างสมเหตุผล พบความสัมพันธ์เชิงบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติระหว่างความรู้กับทัศนคติเกี่ยวกับการใช้ยาปฏิชีวนะอย่างสมเหตุผล (r=0.40, P<0.01) และพฤติกรรมเกี่ยวกับการใช้ยาปฏิชีวนะอย่างสมเหตุผล (r=0.41, P<0.01) และพบความสัมพันธ์เชิงบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติระหว่างทัศนคติกับพฤติกรรมเกี่ยวกับการใช้ยาปฏิชีวนะอย่างสมเหตุผล (r=0.43, P<0.01) ในการสัมภาษณ์ผู้ที่มีประวัติการรักษาที่โรงพยาบาลหนองม่วงไข่ด้วย 3 โรคติดเชื้อที่หายเองและไม่ได้รับยาปฏิชีวนะ พบว่า หลังกลับจากโรงพยาบาล กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 76.6 ไม่กลับไปซื้อยาปฏิชีวนะมาใช้เอง ร้อยละ 23.7 ไปซื้อยาปฏิชีวนะมาใช้เองภายใน 1-2 วัน หลังไม่ได้รับยาปฏิชีวนะกลับบ้าน สาเหตุเพราะมีความรู้สึกว่าโรคที่ตนเองเจ็บป่วยจำเป็นต้องได้รับยาปฏิชีวนะและต้องการให้อาการของตนเองหายโดยเร็ว แม้จะได้รับคำอธิบายถึงความไม่จำเป็นของการใช้ยาปฏิชีวนะในการรักษาอาการป่วยจากเจ้าหน้าที่แล้วก็ตาม สรุป: ความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมการใช้ยาปฏิชีวนะอย่างสมเหตุผลของผู้ป่วย 3 โรคติดเชื้อที่หายเองได้มีความสัมพันธ์ในเชิงบวก ดังนั้นเพื่อให้เกิดพฤติกรรมที่ดีการใช้ยาปฏิชีวนะอย่างสมเหตุผล บุคลากรทางการแพทย์โดยเฉพาะเภสัชกรต้องส่งเสริมให้ประชาชนมีความรู้และมีทัศนคติที่ดีเพิ่มขึ้นต่อการใช้ยาปฏิชีวนะอย่างสมเหตุผล

References

เกษมชัย บุญเป็ง. (2558). การรับรู้เกี่ยวกับยาปฏิชีวนะและการร้องขอยาปฏิชีวนะของชนเผ่า ในตำบลปางหินฝน อำเภอ

แม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่. การศึกษาอิสระปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

คณะทำงานขับเคลื่อนการพัฒนาระบบการผลิตและพัฒนากำลังคนด้านสุขภาพ เพื่อการใช้ยาอย่างสมเหตุผล. (2560). คู่มือการ

เรียนการสอนเพื่อการใช้ยาอย่างสมเหตุผล. นนทบุรี: สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข.

ช่อผกา นาคมิตร. (2563). ความชุก ความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมการใช้ยาปฎิชีวนะอย่างสมเหตุผลและผลิตภัณฑ์สุขภาพกลุ่ม

เสี่ยงปลอมปนสเตียรอยด์ในกลุ่มผู้สูงอายุจังหวัดสุราษฎร์ธานี [ฉบับออนไลน์]. วารสารไทยไภษัสยนิพนธ์, 15(2), 81-94.

ทิพวรรณ วงเวียน. (2557). ความรู้เกี่ยวกับการใช้ยาปฏิชีวนะในโรคติดเชื้อเฉียบพลันของระบบทางเดินหายใจส่วนบนของ

ผู้ป่วยนอกที่เป็นโรคดังกล่าวในโรงพยาบาลสมเด็จพระบรมราชเทวี ณ ศรีราชา. ค้นเมื่อ 4 ธันวาคม 2563, จาก

https://he01.tci-thaijo.org/index.php TJPP/article/ view/169462/121911

แบบบันทึกการติดตามอาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยาของโรงพยาบาลหนองม่วงไข่. (2562). ข้อมูลการเกิด ADRs จากยาใน

ชุมชน ปี 2556-2562. แพร่: โรงพยาบาลหนองม่วงไข่.

มลฑา เพ็ชรสุวรรณ. (2558). ผลของโปรแกรมการส่งเสริมการปฏิบัติสุขอนามัยส่วนบุคคลต่อความรู้ ทัศนคติ พฤติกรรมการป้องกันโรคอุจจาระร่วงในชุมชนชาวไทยภูเขาเผ่าม้ง อำเภองาว จังหวัดลำปาง. การศึกษาอิสระปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

รัฐกรณ์ ตีระพงษ์ศักดิ์. (2558). ความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมต่อการใช้จักรยานของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร.

การศึกษาอิสระปริญญานิเทศศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการสื่อสารเชิงกลยุทธ์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

โรงพยาบาลหนองม่วงไข่ จังหวัดแพร่. (2562). ฐานข้อมูลระบบยา Hos Xp โรงพยาบาลหนองม่วงไข่. แพร่: โรงพยาบาลหนองม่วงไข่.

วริษา กันบัวลา. (2564). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับระยะเวลาการตัดสินใจมารับการรักษาของผู้ป่วยกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน

[ฉบับออนไลน์]. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข, 3, 1-14.

วิรัตน์ แก้วภูมิแห่. (2560). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการใช้ยาอย่างเหมาะสมและปลอดภัยของอาสาสมัครสาธารณสุข

[ฉบับออนไลน์]. วารสารวิชาการแพทย์ เขต 11, 31, 61-71.

ศรีกัญญา ชุณหวิกสิต. (2561). พฤติกรรมการใช้ยาปฏิชีวนะในผู้ป่วยโรคติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนบนในศูนย์บริการสุขภาพชุมชน

ตลาดดอนนก เครือข่าย รพ.สุราษฎร์ธานี [ฉบับออนไลน์]. วารสารการแพทย์เขตที่ 11, 32(1), 783-790.

ศุภลักษณ์ สุขไพบูลย์. (2559). พฤติกรรมการใช้ยาปฏิชีวนะของผู้รับบริการ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสร่างโศก อำเภอบ้านหมอ

จังหวัดสระบุรี[ฉบับออนไลน์]. ใน เอกสารการประชุมวิชาการและเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ ครั้งที่ 3 ก้าวสู่ ทศวรรษที่ 2:

บูรณาการงานวิจัย ใช้องค์ความรู้ สู่ความยั่งยืน”. การประชุมสัมนาจัดโดยวิทยาลัยนครราชสีมา, นครราชสีมา.

สมหญิง พุ่มทอง และคณะ. (2560). บทเรียนจากการขยายผลสู่ความยั่งยืนของโครงการส่งเสริม การใช้ยาปฏิชีวนะอย่างสมเหตุผล

[ฉบับออนไลน์]. วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข, 11, 500-515.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-19