การศึกษาสถานการณ์ของพัฒนาการเด็กปฐมวัยไทย เขตสุขภาพที่ 3

The Study of Situation of Early Childhood Development in Region Health 3, Thailand

ผู้แต่ง

  • อุดมศักดิ์ แก้วบังเกิด Regional Health Promotion Center 3 Nakhonsawan
  • รักน้ำ โมราราช

คำสำคัญ:

สถานการณ์, พัฒนาการเด็ก, เด็กปฐมวัยไทย, เขตสุขภาพที่ 3

บทคัดย่อ

การพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพคนตลอดช่วงชีวิต ในทุกมิติและทุกช่วงวัยให้เป็นคนที่มีคุณภาพ จะต้องเริ่มพัฒนาตั้งแต่ช่วงปฐมวัย เพื่อให้การทำหน้าที่บริหารของสมองระดับสูงพัฒนาอย่างเต็มตามศักยภาพ ซึ่งพัฒนาการเป็นพฤติกรรมของเด็กปฐมวัยที่แสดงออกมา สามารถสะท้อนถึงพัฒนาการของสมองและระบบประสาทได้ การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาเแบบพรรณนา มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานการณ์และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพัฒนาการของเด็กปฐมวัยไทยในเขตสุขภาพที่ 3  กลุ่มตัวอย่าง คือ เด็กปฐมวัย อายุ     9 เดือน ถึง 5 ปี 11 เดือน 29 วัน  และบิดา มารดา หรือผู้เลี้ยงดูเด็ก ที่เลี้ยงดูเด็กต่อเนื่องอย่างน้อย 6 เดือน ในเขตสุขภาพที่ 3 จำนวน 378 คน สุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นภูมิหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ แบบบันทึกผลการตรวจสุขภาพเด็ก สมุดบันทึกสุขภาพแม่และเด็ก และแบบประเมินพัฒนาการเด็กปฐมวัยของเดนเวอร์ 2 ผ่านการตรวจสอบจากผู้ทรงคุณวุฒิ เก็บรวบรวมข้อมูลระหว่างเดือน มีนาคม - เมษายน พ.ศ. 2564 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของตัวแปรโดยใช้สถิติเชิงอนุมาน

            ผลการศึกษา พบว่า เด็กปฐมวัยไทย เขตสุขภาพที่ 3 มีพัฒนาการล่าช้า ร้อยละ 23 เมื่อแยกรายด้าน พบว่า ด้านการเข้าใจภาษาล่าช้ามากที่สุด ร้อยละ 13.5 รองลงมาคือด้านการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็ก ด้านสังคมและการช่วยเหลือตนเอง และด้านการใช้กล้ามเนื้อมัดใหญ่ ร้อยละ 6.1, 5.3 และ 2.6 ตามลำดับ และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพัฒนาการเด็ก ได้แก่ สถานภาพความสัมพันธ์ของพ่อแม่ และเพศของเด็ก มีความสัมพันธ์กับพัฒนาการเด็กปฐมวัยอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.05 และ P<0.001 ตามลำดับ) ดังนั้นข้อเสนอแนะคือ การจัดบริการคลินิกเด็กสุขภาพดีของสถานบริการสาธารณสุข และสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยทุกแห่ง ควรให้ความสำคัญกับการเฝ้าระวังและส่งเสริมพัฒนาการเด็กในทุกช่วงวัย และสร้างความตระหนักในการใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ในเด็กปฐมวัย แก่ผู้ที่เกี่ยวข้องในการดูแลเด็ก รวมถึงการส่งเสริมให้พ่อแม่ หรือผู้ดูแลเด็กมีสัมพันธภาพที่ดีต่อกันในครอบครัว เพราะปัจจัยดังกล่าวมีความสัมพันธ์กับพัฒนาการของเด็กปฐมวัย

References

กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย. (2562). สถิติประชากรทางการทะเบียนราษฎร. ค้นเมื่อ 3 พฤศจิกายน 2562, จาก

https://stat.bora.dopa.go.th/stat/statnew/statMONTH/statmonth/#/mainpage

จินตนา พัฒนพงศ์ธร. (2561). รายงานการศึกษาวิจัยปัจจัยที่มีผลต่อพัฒนาการเด็กปฐมวัยไทย ครั้งที่ 6 พ.ศ. 2560. นนทบุรี: สำนัก ส่งเสริมสุขภาพ กรมอนามัย.

ชฎาภรณ์ สมบัติชัยศักดิ์. (2563). พฤติกรรมการใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ผ่านจอในเด็กปฐมวัยและความเข้าใจของผู้ปกครอง. วารสารศูนย์

การศึกษาแพทยศาสตร์คลินิก โรงพยาบาลพระปกเกล้า, 37(3), 204-213.

ดวงพร ชุมประเสริฐ, วันธณี วิรุฬพานิช, & พิสมัย วัฒนสิทธิ์. (2562). ความสัมพันธ์ระหว่างการใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์กับพัฒนาการเด็ก

อายุ 2-5 ปี ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดสงขลา. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและ การสาธารณสุขภาคใต้, 6(2), 91-104.

นิตยา คชภักดี .(2554). ตำราพัฒนาการและพฤติกรรมเด็กสำหรับเวชปฏิบัติทั่วไป. กรุงเทพฯ: บริษัท บียอนด์เอ็นเทอร์ไพรซ์ จำกัด.

บำเพ็ญ พงศ์เพชรดิถ, & บุษบา อรรถาวีร์. (2563). ปัจจัยที่ส่งผลต่อพัฒนาการเด็กปฐมวัยไทย: ศูนย์อนามัยที่ 5. วารสารเกื้อการุณย์, 21(1), 59-70.

ปาริชาต บุญมี, & ภัทราวดี มากมี. (2560). โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุระหว่างเพศ ระดับชั้น กับแรงจูงใจในการเรียนภาษาอังกฤษ ของนักเรียนประถมในเขตพื้นที่การศึกษาภาคตะวันออก. วารสารวิจัยรำไพพรรณี, 11(1), 67-80.

ศศิชล หงส์ไทย. (2561). รายงานการศึกษาวิจัยการศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อพัฒนาการเด็กปฐมวัยในเขตสุขภาพที่ ๓. นครสวรรค์: ศูนย์อนามัยที่ 3 นครสวรรค์. (เอกสารอัดสำเนา).

สกาวรัตน์ เทพรักษ์, ภภัสสร มุกดาเกษม, จรรยา สืบนุช, & จารุณี จตุรพร. (2560). การศึกษาปัจจัยด้านการเลี้ยงดูเด็กของผู้ปกครอง

และการมีส่วนร่วมของชุมชนต่อการส่งเสริมการเจริญเติบโตและพัฒนาการเด็กปฐมวัยในเขตสาธารณสุขที่ 4 และ 5. วารสาร

ส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม ศูนย์อนามัยที่ 9, 11(2), 21-42.

สุรีย์ลักษณ์ สุจริตพงศ์ และคณะ. (2561). ตำราพัฒนาการและพฤติกรรมเด็ก เล่ม 4. กรุงเทพฯ: พี.เอ.ลีฟวิ่ง จำกัด.

สุพัตรา บุญเจียม. (2566). ความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพชีวิตผู้เลี้ยงดูเด็กกับพัฒนาการเด็กปฐมวัย เขตสุขภาพที่ 7. วารสารศูนย์

อนามัยที่ 7 ขอนแก่น, 15(1), 64-78.

สุภา คำมะฤทธิ์. (2564). บทบาทของผู้ปกครองในการดูแลป้องกันโรคฟันผุสำหรับเด็กวัยก่อนเรียน. วารสารวิทยาลัยพระปกเกล้า จันทบุรี, 31(2), 257-260.

สำนักโภชนาการ กรมอนามัย. (2564). กราฟมาตรฐานการเจริญเติบโตเด็กอายุ 0-5 ปี และ 6-19 ปี. ค้นเมือ 12 ธันวาคม 2563, จาก https://nutrition2.anamai.moph.go.th/th/kidgraph

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2561). ยุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ. 2561-2580. ค้นเมื่อ 8 พฤศจิกายน 2563, จาก https://www.nesdc.go.th/download/document/SAC/NS_SumPlanOct2018.pdf

อรุณี หรดาล, & ชนิพรรณ จาติเสถียร. (2557). พัฒนาการและการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย (พิมพ์ครั้งที่ 2). นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

Bee, H. (1995). The growing child (6th ed.).New York: Harper Collins College Publishers.

Lozoff, L. (2000). Poor behavioral and developmental outcome more than 10 years after treatment for iron

deficiency in infancy. PEDIATRICS, 105(4), 1-11.

Marilyn, J. (2015). Nursing care of infants and children. Elsevier : St. Louis, Missouri.

Wayne, W.D. (1995). Biostatistics: A foundation of analysis in the health sciences (6th ed.). New York:

John Wiley & Sons.

Wendy, H., Jianghong, L., Monique, R., & Andrew, J.O. (2012). The long-term effects of breastfeeding on

development. Retrieved April 3, 2022, from https://www.researchgate.net/publication/221929310

_The_Long-Term_Effects_of_Breastfeeding_on_Development

World Health Organization. (2022). Infant nutrition and breast-feeding. Retrieved April 3, 2022, from https://apps.who.int/iris/handle/10665/92534?search- result=true&query=breast+feeding+development+

child&scope=&rpp=10&sort_by=score&order=desc

World Health Organization. (2012). Developmental difficulties in early childhood prevention, early identification, assessment and intervention in low- and middle-income countries. Turkey: Turkey

Country Office and CEECIS Regional Office.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-01