การใช้สมุดสุขภาพผู้สูงอายุแบบดิจิทัล (Digital blue book) กับการส่งเสริมสุขภาพช่องปาก

ผู้แต่ง

  • พูลพฤกษ์ โสภารัตน์ -

คำสำคัญ:

สมุดสุขภาพ , การส่งเสริมสุขภาพช่องปาก , เทคโนโลยีดิจิทัล

บทคัดย่อ

สมุดสุขภาพผู้สูงอายุแบบดิจิทัล (Digital blue book) เป็นเครื่องมือที่กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ได้พัฒนาบนแพลตฟอร์มมือถือ เพื่อส่งเสริมให้ผู้สูงอายุสามารถประเมินสุขภาพตนเองได้ด้วยข้อคำถาม และมีระบบเชื่อมโยงข้อมูลระหว่างผู้สูงอายุ กับเจ้าหน้าที่สาธารณสุข รายงานนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา ผลของการนำสมุดสุขภาพผู้สูงอายุแบบดิจิทัลไปใช้ในการส่งเสริมสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุ ในพื้นที่จังหวัดอำนาจเจริญ ระหว่างเดือน กรกฎาคม 2564 - พฤษภาคม 2565 ซึ่งออกแบบเป็นการวิจัยแบบประสานวิธี รวบรวมข้อมูลใน 2 รูปแบบ คือ เชิงปริมาณ จากข้อมูลการใช้งานสมุดสุขภาพผู้สูงอายุแบบดิจิทัล บนเว็บไซด์สมุดสุขภาพผู้สูงอายุของกรมอนามัย และข้อมูลการจัดบริการทันตกรรมบนเว็บไซด์คลังข้อมูลสุขภาพของกระทรวงสาธารณสุข และ เชิงคุณภาพจากการสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูล โดยเลือกจาก ผู้สูงอายุที่ใช้งานสม่ำเสมอ จำนวน 5 ราย และ ทันตบุคลากรผู้ใช้ข้อมูลในการจัดบริการจำนวน 5 ราย ผลการศึกษา พบว่า ผู้สูงอายุคัดกรองกลุ่มอาการผู้สูงอายุด้านสุขภาพช่องปากด้วยตัวเอง ทั้งหมด 6,705 ราย คิดเป็นร้อยละ 12.4 มีความเสี่ยง 1,178 ราย และประเมินสภาพช่องปากและการกลืน ทั้งหมด 5,777 ราย คิดเป็นร้อยละ 10.69 แบ่งเป็นความเสี่ยงภาวะปากแห้ง-น้ำลายน้อย 379 ราย ภาวะกลืนลำบาก 336 และ ช่องปากไม่สะอาด 2,141 ราย ในการใช้งาน พบว่าผู้สูงอายุตอนต้น (อายุ 60-70 ปี) สามารถใช้งานได้ดีโดยเฉพาะในกลุ่มข้าราชการที่เพิ่งเกษียณอายุ เนื่องจากมีการใช้งานผ่านมือถือเป็นประจำในช่วงที่ทำงานประจำอยู่ ในขณะที่ผู้สูงอายุตอนกลางถึงปลาย (อายุ 70 ปีขึ้นไป) จะมีปัญหาการใช้งานค่อนข้างมาก เนื่องจากการใช้งานบนมือถือ มีขนาดค่อนข้างเล็ก รวมถึงในการประเมิน ต้องอ่าน และคิดตามเพื่อเลือกคำตอบ จึงต้องอาศัย ญาติ หรือ อาสาสมัครสาธารณสุขเป็นคนช่วย แต่อย่างไรก็ดีความรู้ในลักษณะ รูปภาพประกอบข้อความ สร้างความสนใจให้ผู้สูงอายุสามารถนำไปปฏิบัติ หรือ ค้นหาข้อมูลต่อ รวมถึงส่งต่อให้กลุ่มเพื่อนในช่องทางออนไลน์อื่นๆ  ในขณะที่ทันตบุคลากรสามารถเข้าถึงข้อมูลการคัดกรอง และ การประเมินตนเองดังกล่าว นำไปสู่การวางแผนจัดบริการทางทันตกรรมได้อย่างทันเวลา ส่งผลต่อการเพิ่มขึ้นของบริการส่งเสริมป้องกันทางทันตกรรม ได้แก่ การตรวจฟันเพื่อวางแผนการดูแล จาก 5,662 เป็น 8,451 ราย  การฝึกปฏิบัติแปรงฟัน 2,033 จาก 2,285 ราย และ การเคลือบฟลูออไรด์ จาก 10 รายเป็น 235 ราย ตามลำดับ จะเห็นได้ว่าการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาปรับใช้ในรูปแบบสมุดสุขภาพบนมือถือ สร้างความสะดวกให้กับผู้สูงอายุในการสื่อสารกับทันตบุคลากรในการวางแผนการดูแลสุขภาพช่องปากร่วมกัน การคัดกรองตนเองด้วยข้อคำถาม กระตุ้นให้ผู้สูงอายุได้คิด ทบทวน ค้นหาคำตอบ เพื่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพช่องปากที่เหมาะสมกับตัวเอง และยังสามารถพัฒนาต่อเพื่อจัดทำเป็นบันทึกข้อมูลสุขภาพส่วนบุคคล (Personal Health Record) ที่มีการเชื่อมต่อกับข้อมูลการรักษาพยาบาลจากสถานพยาบาล อันจะเป็นประโยชน์ในการติดตามสุขภาพช่องปากของผู้สูงอายุอย่างต่อเนื่อง ช่วยให้ทันตแพทย์สามารถให้บริการดูแลที่เหมาะสมและตรงตามความต้องการของผู้สูงอายุได้อย่างมีประสิทธิภาพและแม่นยำมากขึ้น

References

คณะกรรมการพัฒนาเครื่องมือคัดกรองและประเมินสุขภาพผู้สูงอายุ กระทรวงสาธารณสุข.(2564).คู่มือการคัดกรองและประเมินสุขภาพผู้สูงอายุ พ.ศ. 2564. ค้นเมื่อ 10 พฤศจิกายน 2565, จาก https://apps.hpc.go.th/dl/web/upFile

ขวัญเมือง แก้วดำเกิง. (2561). ความรอบรู้ด้านสุขภาพ: เข้าถึง เข้าใจ และการนําไปใช้. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: อมรินทร์.

พนม คลี่ฉายา. (2564). การใช้เทคโนโลยีดิจิทัลของผู้สูงอายุและข้อเสนอเพื่อการเสริมสร้าง ภาวะพฤฒิพลังและผลิตภาพของผู้สูงอายุไทย. วารสารนิเทศศาสตร์, 39(2), 56-75.

นันท์มนัส แย้มบุตร, นพวรรณ โพชนุกูล, พูลพฤกษ์ โสภารัตน์ & พัชรวรรณ สุขุมาลินท์. (2564). ทันตกรรมทางไกลเพื่อการพัฒนาระบบบริการทันตสุขภาพ วารสารการส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม, 44(2), 11-23.

สาวิตรี อัษณางค์กรชัย. (2552). การคัดกรองผู้มีปัญหาการดื่มสุรา. เชียงใหม่: แผนงานการพัฒนาระบบ รูปแบบ และวิธีการบำบัดรักษาผู้มีปัญหาการบริโภคสุราแบบบูรณาการ(ผรส.).

สำนักทันตสาธารณสุข กรมอนามัย. (2558). แผนงานทันตสุขภาพสําหรับผู้สูงอายุประเทศไทย. กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

สำนักทันตสาธารณสุข กรมอนามัย. (2561). รายงานผลการสำรวจสภาวะสุขภาพช่องปากแห่งชาติ ครั้ง ที่ 8 ประเทศไทย พ.ศ. 2560. กรุงเทพฯ: สามเจริญพาณิชย์ (กรุงเทพ).

สำนักอนามัยผู้สูงอายุ กรมอนามัย. (2564). คู่มือการใช้งานBlue book application. ค้นเมื่อ 25 ตุลาคม 2565, จาก https://eh.anamai.moph.go.th/th/elderly-manual/205991

องค์การอนามัยโลกประจำประเทศไทย & คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล. (2561). คู่มือคำแนะนำในการประเมินโดยยึดบุคคลเป็นศูนย์กลาง และ แนวทางการดำเนินงานในหน่วยการดูแลระดับปฐมภูมิ. ค้นเมื่อ 5 ธันวาคม 2565, จาก https://cdn.who.int/media/docs/default-source/thailand/ageing/icope-guideline_person-centred-assessment-and-pathways-in-primary-care_thai-.pdf?sfvrsn=9d16f9a3_1

Catford, J. (2011). Ottawa 1986: back to the future[Electronic version]. Health Promotion International, 26(2), ii163–ii167.

Dean K, & Kickbusch I. Health related behavior in health promotion: utilizing the concept of self care. Health promotion international,10(1):35-40.

Gerritsen, A.E., Allen, P.F., Witter, D.J., Bronkhorst, E.M., & Creugers, N.H.J. (2013). Tooth loss and oral health-quality of life: A systematic review and meta-analysis. Health Qual Life Outcomes, 8(1), 126.

Glick, M., Williams, D.M., Kleinman, D.V., Vujicic, M., Watt, R.G., & Weyant, R.J. A new definition for oral health developed by the FDI World Dental Federation opens the door to a universal definition of oral health. Journal of the American Dental Association, 147(12), 915–917.

Godfrey, C.M., Harrison, M.B., Lysaght, R., Lamb, M., Graham, I.D., & MLIS, P.O. (2011). Care of self-care by other- care of other: the meaning of self-care from research, practice, policy and industry perspectives. International journal of evidence-based healthcare, 9(1), 3–24.

Gulliford, M., Naithani, S., & Morgan, M. (2006). What is 'continuity of care'? Journal of health services research & policy, 11(4), 248–250.

King, A.C., Hekler, E.B., Grieco, L.A., Winter, S.J., Sheats, J.L., Buman, M.P., et al. (2016). Effects of Three Motivationally Targeted Mobile Device Applications on Initial Physical Activity and Sedentary Behavior Change in Midlife and Older Adults: A Randomized Trial. PLoS One, 11(6), e0156370.

Mealey, B.L., & Ocampo, G.L. (2007). Diabetes mellitus and periodontal disease. Periodontol 2000, 44, 27-53.

Van der Maarel-Wierink, C.D., Vanobbergen, J.N., Bronkhorst, E.M., Schols, J.M., & de Baat, C. (2013) Oral health care and aspiration pneumonia in frail older people: a systematic literature review. Gerodontology, 30(1), 3-9.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-19