ความรู้ ทัศนคติและพฤติกรรมการจัดการขยะติดเชื้อประเภทหน้ากากอนามัย ในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)
บทคัดย่อ
จากรายงานสำนักงานสิ่งแวดล้อมที่ 9 จังหวัดอุดรธานี พบว่าประชาชนส่วนใหญ่ยังไม่มีการแยกหน้ากากอนามัยที่ใช้แล้วออกจากขยะทั่วไป ดังนั้นผู้วิจัยจึงได้ทำการศึกษาความรู้ ทัศนคติและพฤติกรรมการจัดการขยะติดเชื้อประเภทหน้ากากอนามัยในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา2019(COVID-19) ของประชาชน ตำบลเขือน้ำ อำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี การศึกษาครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวาง (Cross-sectional study) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความรู้ ทัศนคติและพฤติกรรมการจัดการขยะติดเชื้อประเภทหน้ากากอนามัยในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ตำบลเขือน้ำ อำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี ประชากรที่ศึกษา คือ ประชาชนอายุ 20-60 ปี ในตำบลเขือน้ำ จำนวน 382 คน โดยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ (Stratified sampling) การเก็บข้อมูลผ่านแบบสอบถาม (Questionnaire) โดยความตรงเชิงเนื้อหาได้ค่าดัชนีความสอดคล้องทุกข้อมีค่ามากกว่า 0.50 วิเคราะห์ความเที่ยงได้ค่าสัมประสิทธิ์อัลฟ่าของครอนบาช เท่ากับ 0.87 ดำเนินการเก็บข้อมูลระหว่างวันที่ 25 มกราคม 2566 ถึง วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2566 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและสถิติเชิงอนุมาน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิตที่ p-value < 0.05
จากการศึกษาพบว่า ภาพรวมระดับความรู้เกี่ยวกับขยะติดเชื้อและการจัดการขยะติดเชื้อประเภทหน้ากากอนามัย พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีความรู้อยู่ในระดับปานกลาง (ร้อยละ 91.36) มีค่าเฉลี่ย 20.13 คะแนน (S.D. = 1.74) ระดับทัศนคติต่อการจัดการขยะติดเชื้อประเภทหน้ากากอนามัย ทัศนคติระดับน้อย (ร้อยละ 52.88) มีค่าเฉลี่ย 20.22 คะแนน (S.D. = 5.09) และระดับพฤติกรรมการจัดการขยะติดเชื้อประเภทหน้ากากอนามัย มีพฤติกรรมอระดับปรับปรุง (ร้อยละ 50.26) มีค่าเฉลี่ย 21.64 คะแนน (S.D. = 2.58) นอกจากนี้ยังพบว่า ปัจจัยส่วนบุคคลด้านอาชีพ (p-value < 0.008) ปัจจัยระดับความรู้ (p-value = 0.043) และปัจจัยระดับทัศนคติ (p-value = 0.01) มีผลต่อพฤติกรรมการจัดการขยะติดเชื้อประเภทหน้ากากอนามัย ในชุมชนตำบลเขือน้ำ อำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี ซึ่งการแก้ไขปัญหาคือหน่วยงานที่รับผิดชอบในการจัดกิจกรรมรณรงค์ให้ความรู้ และสร้างทัศนคติที่ดีต่อการจัดการขยะติดเชื้อประเภทน้ากากอนามัย ให้แก่ประชาชน ผ่านสื่อช่องทางต่างๆ อย่างหลากหลาย และหน่วยงานภาครัฐควรทรัพยากรสนับสนุน เช่น การจัดหาถังขยะติดเชื้อ การจัดให้มีจุดทิ้งหน้ากากไว้เป็นการเฉพาะอย่าง ครอบคลุมทุกจุดในหมู่บ้าน ให้ประชาชนเข้าถึงได้สะดวก และจัดให้มีการเก็บขนเพื่อนำไปกำจัดอย่างถูกหลักสุขาภิบาล
References
กรมอนามัย. (2564). บันทึกการตอบข้อหารือกรมอนามัย เรื่อง การจัดการมูลฝอยประเภทหน้ากากอนามัย และวัสดุทำความสะอาดพื้นผิวสัมผัส ในช่วงที่มีการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID - 19). ค้นเมื่อ 3 มิถุนายน 2565, จาก http://www.oic.go.th/FILEWEB/CABINFOCENTER17/DRAWER002/GENERAL/DATA0003/00003283.PDF
กรมควบคุมมลพิษ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. (2563). คำแนะนำเกี่ยวกับการจัดการหน้ากากอนามัยที่ใช้แล้วในสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019(COVID-19). ค้นเมื่อ 4 กันยายน 2565, จาก https://covid.ranongcities.com/files/com_announce/2020-05_f9e18fdad97e796.pdf
จังหวัดอุดรธานี. (2565). แผนพัฒนาจังหวัดอุดรธานี พ.ศ. 2561-2565 (ฉบับทบทวน ปี พ.ศ. 2565). ค้นเมื่อ 2 มิถุนายน 2565, จาก http://www.2014.udonthani.go.th/download/datacenter/Development_Plan61-65(Recover65).pdf
ตรีรัก กินวงษ์. (2563). พฤติกรรมการจัดการหน้ากากอนามัยของประชากรในกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (การจัดการสิ่งแวดล้อม) คณะบริหารการพัฒนาสิ่งแวดล้อม สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร.
ปิติยาพร รูปทอง. (2566). ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการจัดการขยะติดเชื้อในครัวเรือนของประชาชน อำเภอสวรรคโลก จังหวัดสุโขทัย. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรสุขภาพ สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมมาธิราช.
พิมพิภา ทิหวาย. (2565). ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการจัดการหน้ากากอนามัยใช้แล้วของประชาชนในเขตเทศบาลนครแม่สอด ในช่วงสถานการณ์ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19). วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
รติรส ตะโกพร. (2558). พฤติกรรมการจัดการมูลฝอยติดเชื้อในบ้านเรือน กรณีศึกษา อำเภอจอมบึง จังหวัดราชบุรี. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม ภาควิชาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.
โสมศิริ เดชารัตน์, & พิริยะลักษณ์ เพชรห้วยลึก. (2565). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมการ จัดการมูล ฝอยติดเชื้อของบุคลากรในสถานศึกษา [ฉบับออนไลน์]. วารสารศูนย์อนามัยที่ 9, 16, 127-139.
สำนักงานบริหารงานทะเบียน กรมการปกครอง. (2565). สถิติประชากรทางการทะเบียนราษฎร(รายเดือน). ค้นเมื่อ 5 กันยายน 2565, จาก https://stat.bora.dopa.go.th/stat/statnew/statMONTH/statmonth/?fbclid=IwAR3paonuV8dgz2Z7jySNZ3FGicIVFQVYCDsMHJLsutXmh3AFOxcLq4q16R8#/displayData
สำนักงานสิ่งแวดล้อมที่ 9 อุดรธานี. (2564). รายงานสถานการณ์คุณภาพสิ่งแวดล้อม ปี 2564. ค้นเมื่อ 10 มิถุนายน 2565, จาก https://reo09.mnre.go.th/attachment/iu/download.php?WP=qUIcnKtkpQMgZKqCGWOghJstqTgcWatjpQEgZ3p2GQAgG2rDqYyc4Uux
ฮุสนา โรมินทร์. (2561). ความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมการจัดการมูลฝอยติดเชื้อของบุคลากรในคลินิก จังหวัดภูเก็ต. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีและการจัดการสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
Limon, M.R., Vallente, J.P., Cajigal, A.R.V., Aquino, M., Aragon, J.A., & Acosta, R. (2022). Unmasking emerging issues in solid waste management: Knowledge andself-reported practices on the discarded disposable masks during the COVID-19 pandemic in the Philippines [Online]. Environmental Challenges, 6, 100435.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.