ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการรับบริการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก ของสตรีอายุ 30-60 ปี

ผู้แต่ง

  • อัสหม๊ะ กือนิ สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์ คณะวิทยาการสุขภาพและการกีฬา มหาวิทยาลัยทักษิณ
  • อัสมะ แยนา สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์ คณะวิทยาการสุขภาพและการกีฬา มหาวิทยาลัยทักษิณ
  • เกรียงศักดิ์ สุขใหม่ กลุ่มงานบริการด้านปฐมภูมิและองค์รวม โรงพยาบาลเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดนครศรีธรรมราช
  • สมเกียรติยศ วรเดช คณะวิทยาการสุขภาพและการกีฬา มหาวิทยาลัยทักษิณ จังหวัดพัทลุง https://orcid.org/0000-0002-5758-4081
  • ปุญญพัฒน์ ไชย์เมล์ สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์ คณะวิทยาการสุขภาพและการกีฬา มหาวิทยาลัยทักษิณ

คำสำคัญ:

มะเร็งปากมดลูก, การตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก, ความเชื่อด้านสุขภาพ

บทคัดย่อ

การศึกษาเชิงวิเคราะห์ภาคตัดขวางครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ระดับการรับรู้เกี่ยวกับการบริการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก และ 2) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการรับบริการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกของสตรีอายุ 30-60 ปี กลุ่มตัวอย่างทั้งหมดจำนวน 252 ราย จำแนกเป็นผู้มารับบริการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก จำนวน 84 ราย และไม่มารับบริการ จำนวน 168 ราย สัดส่วนระหว่างผู้มารับริการและไม่มารับบริการเท่ากับ 1: 2 คัดเลือกผู้มารับบริการด้วยวิธีการจำเพาะเจาะจง และทำการคัดเลือกผู้ไม่มารับบริการด้วยการสุ่มอย่างง่าย เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถามที่ได้รับการตรวจสอบจากผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 3 ท่าน มีค่าดัชนีสอดคล้องเชิงเนื้อหาเท่ากับ 0.66-1.00 และมีสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาชเท่ากับ 0.85 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา และสถิติถดถอยโลจิสตติกพหุคูณ ผลการศึกษา พบว่า สตรีอายุ 30-60 ปี ที่มารับบริการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก มีระดับการรับรู้ภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง (ร้อยละ 52.38; Mean ± SD: 60.26 ± 3.33) และผู้ที่ไม่มารับบริการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกมีระดับการรับรู้ภาพรวมอยู่ในปานกลาง (ร้อยละ 54.76, 59.81 ± 3.79) และพบว่า ปัจจัยการประกอบอาชีพ (AOR = 0.35, 95%CI: 0.17-0.73) ประวัติการมีบุตร (AOR = 0.19, 95%CI: 0.05-0.72) และคะแนนการรับรู้โอกาสเสี่ยงของการเกิดมะเร็งปากมดลูก (AOR = 1.20, 95%CI: 1.04-1.39) มีความสัมพันธ์กับการมารับบริการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ดังนั้น บุคลากรสาธารณสุขควรส่งเสริมและประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับความเสี่ยงของการเกิดมะเร็งปากมดลูก โดยเฉพาะในกลุ่มผู้ทำงานประจำ และผู้ที่ไม่เคยมีประวัติการมีบุตรให้มาตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก เพื่อลดโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งปากมดลูก ต่อไป

 

References

กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. (2562). เดือนมกราคม เดือนแห่งการรณรงค์มะเร็งปากมดลูก. นนทบุรี: กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข.

กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. (2563). มะเร็งปากมดลูกป้องกันได้. ค้นเมื่อ 20 สิงหาคม 2565, จาก https://www.dms.go.th/

Content/Select_Landding_page?contentId=23166

กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. (2558). การควบคุมมะเร็งปากมดลูกที่ครอบคลุม: แนวทางปฏิบัติที่สำคัญ. กรุงเทพฯ: สำนักอนามัยการเจริญพันธุ์ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. (เอกสารอัดสำเนา)

กฤช สอนกอง. (2562). ปัจจัยที่มีผลต่อการมาตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกของสตรีอายุ 30-60 ปี. ค้นเมื่อ 21 มีนาคม 2566, จาก https://hpc2appcenter.anamai.moph.go.th/academic/web/files/2564/research/MA2564-002-01-000000375-0000000417.pdf

กัญญารัตน์ อยู่ยืน, พูลสุข หิงคานนท์, จรรจา สันตยากร & ปกรณ์ ประจันบาน. (2555). ปัจจัยที่มีผลต่อการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกของสตรี ตำบลคลองน้ำไหล อำเภอคลองลาน จังหวัดกำแพงเพชร. วารสารการพยาบาลและสุขภาพ, 6(2), 35 – 47.

จิตติ หาญประเสริฐพงษ์ & สายบัว ชี้เจริญ. (2554). วิทยาการร่วมสมัยในมะเร็งนรีเวชวิทยา. สงขลา: ชานเมืองการพิมพ์.

ชัชวาล นฤพนธ์จิรกุล, รัตนา ธรรมวิชิต & ธานินทร์ สุธีประเสริฐ. (2557). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการตรวจมะเร็งปากมดลูกของสตรี เทศบาลเมืองสุพรรณบุรี จังหวัดสุพรรณบุรี. วารสารวิชาการสาธารณสุข, 23(6), 1022 – 1031.

นันทิดา จันต๊ะวงค์, ปิยธิดา ตรีเดช, สุคนธา ศิริ & ชาญวิทย์ ตรีเดช. (2560). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเข้ารับบริการตรวจคัดกรองมะเร็ง

ปากมดลูก ในสตรีกลุ่มเป้าหมาย อายุ 30-60 ปี อำเภอเมือง จังหวัดปทุมธานี. วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี, 28(1), 63 – 79.

ปิยปราชญ์ รุ่งเรือง & รุจิรา ดวงสงค์. (2561). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกของสตรีอายุ 30-60 ปี ในตำบลหนึ่ง อำเภอเมือง จังหวัดกาฬสินธุ์. วารสารโรงพยาบาลสกลนคร, 21(1), 48 – 55.

เพ็ญพักตร์ ลูกอินทร์, จักรกฤษณ์ ลูกอินทร์, อาคม โพธิ์สุวรรณ & วรางคณา คุมสุข. (2548). ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคมะเร็งปากมดลูกของสตรีวัย 30-60 ปี ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี. สุพรรณบุรี: วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุพรรณบุรี.

ภูนรินทร์ สีกุด, มะลิวัลย์ บางนิ่มน้อย & ชาลินี มานะยิ่ง. (2564). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการมารับบริการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกของสตรีกลุ่มเสี่ยง ตำบลบ้านใหม่ อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา. วารสารสาธารณสุขมูลฐาน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, 36(1), 37 – 47.

ระบบคลังข้อมูลสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข. (2565). อัตราการคัดกรองมะเร็งปากมดลูกในสตรี อายุ 30-60 ปี. ค้นเมื่อ 2 สิงหาคม 2565, จาก https://nrt.hdc.moph.go.th/hdc/reports/report.php?&cat_id=59acae7a68f02c8e2c0cb88dfc6df3b3&id=c0cb85481f434d563be6ec98a01cbb92

วสันต์ ลีนะสมิต, วัชระ เอี่ยมรัศมี, ชนิดา เกษประดิษฐ์ & กอบกุล ไพศาลอัชพงษ์. (2558). การป้องกันมะเร็งปากมดลูกในสภาวะทรัพยากรจำกัด. (พิมพ์ครั้งที่ 4). นนทบุรี: สำนักอนามัยการเจริญพันธุ์ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข.

วารุณี สุดแสวง. (2551). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์พฤติกรรมการตรวจมะเร็งปากมดลูกของสตรี กลุ่มเป้าหมายอำเภอบ้านคา จังหวัดราชบุรี. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาการสังคมและการจัดการระบบสุขภาพ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.

สถาบันมะเร็งแห่งชาติ กรมการแพทย์. (2556). แผนการป้องกันและควบคุมมะเร็งแห่งชาติ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทยจำกัด.

สถาบันมะเร็งแห่งชาติ. (2557). ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการคัดกรองมะเร็งปากมดลูกด้วยวิธี HPV DNA Test. ค้นเมื่อ 20 สิงหาคม 2565, จาก https://www.nci.go.th/th/File_download/D_index/ptu/hpv/66/.pdf

สุขุมาล โพธิ์ทอง. (2561). ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกของสตรี ในพื้นที่อำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร. วารสารวิชาการแพทย์เขต 11, 32(2), 965 – 980.

อรทัย วิเชียรปูน และวุฒิชัย จริยา. (2563). ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการรับบริการตรวจคัด กรองมะเร็งปากมดลูกของสตรี อายุ 30 - 60 ปี ในอำเภอสากเหล็ก จังหวัดพิจิตร. วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ, 13(2), 250 – 258.

ไอรีน เรืองขจร. (2561). มะเร็งปากมดลูก. กรุงเทพฯ: ภาควิชาสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล.

Bernard, R. (2000). Fundamentals of biostatistics (5th ed.). Duxbery: Thomson learning, 386.

Ferrell, B.R., Grant, M., Dean, G.E., Funk, B., & Ly, J. (1996). Bone tired: The experience of fatigue and impact on quality of life. Oncology Nursing Forum, 23(10), 1539-1547.

Fleiss, J.L., Levin, B., & Paik, M.C. (2003). Statistical methods for rates and proportions. (3rd ed.). NY: John Wiley & Sons,

Leenasamit, W. (2015). Prevention of cervical cancer in Limited resources. Bangkok: Chulalongkorn university.

National Cancer Institute. (2559). Hospital based cancer registry Annual Report 2014. Bangkok: National Cancer Institute.

Ngamjarus, C., & Chongsuvivatwong, V. (2014). n4Studies: Sample size and power calculations for iOS. The Royal Golden Jubilee Ph.D. Program, Prince of Songkla University.

NilachaiKovit, T. (1999). Gynecologic oncology. Bangkok: Holistic Publishing.

Swangvaree, S. (2010). The quality of life of cervical cancer patients. Journal of Public Health and Development, 8(1), 45-57.

World Health Organization. (2023). Fact Sheets: Cervix Cancer. Retrived May 28, 2022, from https://www.who.int/news-room/fact-sheets/detail/cervical-cancer

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-19