การเตรียมความพร้อมทางด้านสุขภาพของผู้แสวงบุญตามสังเวชนียสถาน ในประเทศอินเดีย: การศึกษาแบบภาคตัดขวาง

ผู้แต่ง

  • ปัณณทัต ตันธนปัญญากร มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์
  • อนงค์นาฏ ผ่านสถิน สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์
  • รัตนาภรณ์ อาษา สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์
  • นลพรรณ ขันติกุลานนท์ สาขาวิชาอนามัยสิ่งแวดล้อม คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์

คำสำคัญ:

การเตรียมความพร้อม, สุขภาพ, ผู้แสวงบุญ, สังเวชนียสถาน, ประเทศอินเดีย

บทคัดย่อ

         

การแสวงบุญเพื่อทำการสักการะบูชาสังเวชนียสถานทั้ง 4 แห่ง เป็นที่นิยมของผู้แสวงบุญชาวไทย การเตรียมความพร้อมทางด้านสุขภาพจึงเป็นสิ่งจำเป็นที่จะช่วยให้การเดินทางมาแสวงบุญประสบผลดังความตั้งใจ การวิจัยนี้เป็นการศึกษาแบบภาคตัดขวางเพื่อศึกษาการเตรียมความพร้อมทางด้านสุขภาพ และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเตรียมความพร้อมทางด้านสุขภาพของการแสวงบุญตามสังเวชนียสถาน ในประเทศอินเดีย กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้แสวงบุญตามสังเวชนียสถานชาวไทยในประเทศอินเดียที่มาแสวงบุญในช่วงเดือนมีนาคม 2566 จำนวน 243 ราย คัดเลือกตัวอย่างโดยใช้การเลือกตัวอย่างแบบเจาะจงที่กำหนดคุณสมบัติไว้ตามเกณฑ์การคัดเข้าและคัดออก เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถามโดยใช้ Google Form ผ่าน QR Code ประกอบด้วย 5 ส่วน ได้แก่ แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบสอบถามปัจจัยด้านการเดินทาง แบบวัดสัมพันธภาพในครอบครัว แบบวัดแรงสนับสนุนทางสังคม แบบประเมินการเตรียมความพร้อมทางด้านสุขภาพ สำหรับการทดสอบความตรงเชิงเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิ 3 ท่าน พบว่า ได้ค่า IOC เกิน 0.67 ทุกส่วน และการทดสอบความเที่ยงตรงโดยหาค่าสัมประสิทธิ์ Alpha Coefficient ของ Cronbach ได้ค่ามากกว่า 0.90 ทุกส่วน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และสถิติทดสอบ ไคสแควร์ ผลการศึกษา พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีการเตรียมความพร้อมทางด้านสุขภาพสำหรับการมาแสวงบุญอยู่ในระดับปานกลาง (ร้อยละ 51.4) รองลงมาคือ ระดับสูง และต่ำ (ร้อยละ 31.7 และ 16.9 ตามลำดับ) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเตรียมความพร้อมทางด้านสุขภาพ ได้แก่ เพศ  ( =10.61, df= 2, p=0.005) อายุ ( =9.89, df= 2, p=0.007) ระดับการศึกษา ( =17.94, df= 2, p<0.001) รายได้ต่อเดือน ( =10.84, df= 2, p=0.004) ลักษณะของครอบครัว ( =7.27, df= 2, p=0.027) จำนวนครั้งของการไปแสวงบุญ ( =13.03, df= 4, p=0.011) สิทธิการรักษา ( =11.85, df= 2, p=0.002) และลักษณะการเดินทางไปแสวงบุญ ( =9.38 df= 2, p=0.009) ผลจากการศึกษาในครั้งนี้แสดงให้เห็นว่าการเตรียมความพร้อมทางด้านสุขภาพจะเป็นประโยชน์อย่างมากในการพัฒนาแนวทางสำหรับการเตรียมความพร้อมทางด้านสุขภาพ โดยเฉพาะปัจจัยที่มีความสำคัญ และใช้วางแผนจัดบริการการดูแลสุขภาพของเจ้าหน้าที่ทางสุขภาพในโรงพยาบาลพระพุทธเจ้าของวัดไทยในประเทศอินเดียต่อไป

References

คณะกรรมการปฏิรูประบบสุขภาพแห่งชาติ. (2550). พระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2550. กรุงเทพฯ: คณะกรรมการปฏิรูประบบสุขภาพแห่งชาติ.

เครือข่ายองค์กรพระพุทธศาสนาแห่งประเทศไทย. (2556). คําว่า“จิตวิญญาณ”ในร่าง พรบ.สุขภาพแห่งชาติมีผลกระทบต่อพระพุทธศาสนาอย่างไร. (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: พิมพ์สวย.

จันทรัตน์ หมั่นวิเชียร. (2560). กระบวนการพัฒนาปัญญาจากการจาริกแสวงบุญ ณ สังเวชนียสถาน 4. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร, 5(2), 286-298.

ชัญญ์ชญา ธรรมาเวทย์. (2562). จากสังเวชนียสถานสู่การพัฒนาตน. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา, 2(2), 6-13.

ธนิสร พลศักดิ์ และพระศรีวินยาภรณ์. (2562). การวิเคราะห์คุณค่าของสังเวชนียสถาน 4 ตำบล ที่มีต่อผู้จาริกแสวงบุญในพระพุทธศาสนา, วารสารบัณฑิตศาส์น มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 17(2), 10-18.

พระมหาดาวสยาม วชิรปัญโญ. (2554). ตามสํารวจพุทธสถานในอินเดีย. กรุงเทพฯ: ธนาเพรส.

พระเทพโพธิวิเทศ (วีรยุทธ์ วีรยุทฺโธ). (2556). สู่ดินแดนพุทธองค์ อินเดีย-เนปาล (ฉบับนักเดินทาง). กรุงเทพฯ: ดีเอ็มจี.

พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต). (2558). ลักษณแห่งพระพุทธศาสนา. กรุงเทพฯ: มูลนิธิพุทธธรรม.

พระศักรินทร์ ธมฺมาลโย. (2556). เปรียบเทียบการจาริกแสวงบุญ: การนมัสการสังเวนียสถาน 4 ตำบลและการประกอบพิธีฮัจญ์. วิทยานิพนธปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาศาสนาเปรียบเทียบ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พวงผกา ชื่นแสงเนตร. (2538). ความสัมพันธ์ระหว่างสัมพันธภาพในครอบครัว พฤติกรรมการดูแลตนเอง และความพึงพอใจในชีวิต ของผู้สูงอายุ กรณีศึกษาสมาชิกชมรมผู้สูงอายุ เขตพื้นที่พัฒนาอุตสาหกรรมชายฝั่งทะเลตะวันตก จังหวัดชลบุรี. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล.

ภัคภพ์ไผทท์ ภคสกุลวงศ์ และ อานนท์ เมธีวรฉัตร. (2565). ศรัทธาและปัญญา: ผู้แสวงบุญสังเวชนียสถาน 4 ตำบล ประเทศอินเดีย–เนปาล, วารสารมหาจุฬาวิชาการ, 9(2), 1-16.

สุปราณี แตงวงษ์. (2559). ภาระในการดูแลกับคุณภาพชีวิตของผู้ดูแลผู้สูงอายุในจังหวัดนครปฐม. วารสารมหาวิทยาลัยคริสเตียน, 22(3), 352-365.

เอื้ออารีย์ วัยวัฒนะ. (2558). กระบวนการพัฒนาพฤติกรรมเชิงจริยธรรมของชาวพุทธ: กรณีศึกษาผู้จาริกแสวงบุญ ณ สังเวชนียสถาน 4 ตำบล ประเทศอินเดีย-เนปาล. วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

Abhivaḍ̣ḍ̣hano. (2016). An Application of Garavasadhamma for Enhancing Peaceful Families. Journal of MCU Peace Studies, 4(1), 174.

Best, J.W. (1977). Research in Education. New Jersey: Prentice Hall.

Cochran, W.G. (1977). Sampling Techniques. (3rd ed.). New York: Wiley.

Cobb, S. (1976). Social support as a moderator of life stress. Psychosomatic Medicine, 38(5), 300–314.

Kraisarawut, S. (2009). Manual of Wisdom in Buddhism. Bangkok: Chulalongkorn University Press.

Laoroekutai, N. (2018).Thai Buddhists’ Motivation to Pilgrimage at Four Buddhist Holy Places. Dhonburi Rajabhat University Journal, 2(1), 1-16.

Olanwijitwong, J., Piyaphanee, W., Poovorawan, K., Lawpoolsri, S., Chanthavanich, P., Wichainprasast, P., et al. (2017). Health problems among Thai tourists returning from India. Journal of Travel Medicine, 24(4), 1–6.

Phrakhruwinaithorn, C.S., Kenaphoom, S. & Charoensiri, S. (2016). The Roles of Thai Monks in the Age of Globalization Society. Journal of MCU Peace Studies, 4(1), 282.

Royal Thai Embassy New Delhi. (2020). Statistical of Thai pilgrims to visit the holy Buddhist in India. Retrieved January 2, 2023, from https://newdelhi.thaiembassy.org/en/index.

Waiyanapanon, N. (2012). The Opinion of Operators and Suggestions to the Pilgrimage Tour Operations in India. Chinburi: Business Administration School Burapha University.

WHO. (2001). Health. Retrieved January 2, 2023, from https://www.who.int/data/gho/data/major-themes/health-and- well-being

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-19