ความสัมพันธ์ระหว่างโฆษณาแฝง อิทธิพลทางสังคม และระดับการดื่มแอลกอฮอล์ในวัยรุ่นไทย จังหวัดนครราชสีมา
คำสำคัญ:
วัยรุ่น, การดื่มแอลกอฮอล์, โฆษณาแฝง, อิทธิพลทางสังคมบทคัดย่อ
การดื่มแอลกอฮอล์ในวัยรุ่นนับเป็นปัญหาสำคัญทางสาธารณสุขเนื่องจากแอลกอฮอล์ทำให้พัฒนาการของสมองส่วนกระบวนการเรียนรู้ การตัดสินใจ และการควบคุมตนเองชะลอตัว โดยตามธรรมชาติสมองส่วนนี้จะหยุดพัฒนาการเมื่ออายุ 25 ปี พฤติกรรมการดื่มแอลกอฮอล์ในวัยรุ่นเกิดจากพหุปัจจัยตามกรอบแนวคิดนิเวศสังคม ความเข้าใจความสัมพันธ์ของพหุปัจจัยกับพฤติกรรมการดื่มแอลกอฮอล์ของวัยรุ่น จะทำให้การออกแบบมาตรการป้องกันการดื่มแอลกอฮอล์ในวัยรุ่นไทยมีประสิทธิผลมากขึ้น การศึกษา community-based cross-sectional design นี้จัดทำขึ้นเพื่อวัดความชุกของการดื่ม และอธิบายความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล อิทธิพลทางสังคม และปัจจัยการตลาดและโฆษณาแฝงต่อระดับการดื่มแอลกอฮอล์ในวัยรุ่น กลุ่มตัวอย่างวัยรุ่นอายุ 15-18 ปี จังหวัดนครราชสีมา จำนวน 540 คน จากการสุ่มเลือกด้วยวิธี stratified cluster probability proportional to size เก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามแบบมีโครงสร้างระหว่างเดือนมิถุนายน ถึง สิงหาคม พ.ศ. 2564 ทดสอบความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยสังคมพฤติกรรมและการดื่มแอลกอฮอล์ในวัยรุ่นด้วยสถิติ multinomial logistic regression
จากวัยรุ่น 540 คน (อัตราตอบรับ 100%) พบวัยรุ่นกลุ่มดื่มปัจจุบัน ร้อยละ 35.0 (95%CI: ร้อยละ 30.9 – 39.0) โดยความชุกของวัยรุ่นที่ดื่มในปัจจุบันในวัยรุ่นชายสูงกว่าวัยรุ่นหญิง (ร้อยละ 37.3 และ ร้อยละ 25.9 ตามลำดับ) อายุเริ่มดื่มครั้งแรกในวัยรุ่นชายน้อยกว่าวัยรุ่นหญิง (อายุ 13 ปี และ อายุ 14 ปี ตามลำดับ) การเข้าถึงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มีความสัมพันธ์กับระดับการดื่มแบบเสี่ยงต่ำ (Adj OR = 2.28; 95%CI: 1.78-2.93) และการดื่มแบบเสี่ยงสูงและเป็นอันตราย (Adj OR = 2.97; 95%CI: 2.07-4.26) และวัยรุ่นที่มีทัศนคติว่าการดื่มเป็นเรื่องปกติมีความสัมพันธ์กับการดื่มแบบเสี่ยงสูงและเป็นอันตราย (Adj OR = 3.04; 95%CI: 1.51-6.15)
การศึกษานี้แสดงให้เห็นว่า ปัจจัยการตลาดโดยเฉพาะการเข้าถึงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และทัศนคติต่อการดื่มของวัยรุ่น มีอิทธิพลต่อระดับการดื่มสูงที่สุด ซึ่งเป็นปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กันตามแนวคิดพฤติกรรมผู้บริโภค ดังนั้น เพื่อให้วัยรุ่นมีทัศนคติและมีทักษะในการตัดสินใจเพื่อปฏิเสธการดื่มได้อย่างเหมาะสมการขับเคลื่อนการปรับเปลี่ยนทัศนคติด้านการดื่มแอลกอฮอล์ด้วยบุคคลที่เป็นต้นแบบของวัยรุ่น ร่วมกับการเพิ่มความเข้มข้นในการบังคับใช้กฎหมายห้ามจำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ให้กับวัยรุ่นอายุต่ำกว่า 20 ปียังเป็นมาตรการจำเป็นสำหรับการลดอัตราการดื่มแอลกอฮอล์ของวัยรุ่นไทย
References
ปริยากร รักธัญญะการ. (2562). ความผูกพันในครอบครัวและการรับรู้สมรรถนะแห่งตน ในการปฏิเสธการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ของวัยเด็กตอนปลาย. วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
พลเทพ วิจิตรคุณากร, อธิบ ตันอารีย์. (2562). รายงานสถานการณ์การบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์รายจังหวัด พ.ศ. 2560. กรุงเทพฯ:
สหมิตรพัฒนาการพิมพ์ (1992).
ศิริวรรณ เสรีรัตน์. (2560). การบริหารการตลาดยุคใหม่ : (Marketing Management). กรุงเทพฯ: ธรรมสาร.
ศรีรัช ลอยสมุทร. (2561). เหลี่ยวหน้า แลหลัง เกาะกระแส ตีแผ่ทุกประเด็น: เจาะลึกกลยุทธ์ ธุรกิจเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในรอบ 3 ปีที่ผ่านมา (พิมพ์ครั้งที่ 1). สงขลา: ศูนย์วิจัยปัญหาสุรา (ศวส.) หน่วยระบาดวิทยา คณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
สาวิตรี อัษณางค์กรชัย, & สมสมร ชิตตระการ. (2562). ข้อเท็จจริงและตัวเลขเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในประเทศไทย พ.ศ. 2559-2561. กรุงเทพฯ: สหมิตรพัฒนาการพิมพ์ (1992).
เสรี วงษ์มณฑา. (2540). การโฆษณาและการส่งเสริมการขาย. กรุงเทพฯ: ธีระฟิล์ม และไซเท็กซ์.
Best, D., Manning, V., Gossop, M., Gross, S., & Strang, J. (2006). Excessive drinking and other problem behaviours among
–16 year old schoolchildren. Addictive Behaviors, 31(8), 1424-1435. doi:https://doi.org/10.1016/j.addbeh.2005.12.002
Canagasaby, A., & Vinson, D.C. (2005). Screening for hazardous or harmful drinking using one or two quantity-frequency questions. Alcohol and alcoholism, 40(3), 208–213. https://doi.org/10.1093/alcalc/agh156
Chumpradit, K., & Chansong, S. (2018). Factors that Make Thai Teenagers Drink Alcohol. Journal of Alcoholism & Drug Dependence, 6, 1000297. doi:10.4172/2329-6488.1000297
Critchlow, N., MacKintosh, A.M., Hooper, L., Thomas, C., & Vohra, J. (2019). Participation with alcohol marketing and user-created promotion on social media, and the association with higher-risk alcohol consumption and brand identification among adolescents in the UK. Addiction research & theory, 27(6), 515-526. doi:10.1080/16066359.2019.1567715
Davis, J.P., Pedersen, E.R., Tucker, J.S., Dunbar, M.S., Seelam, R., Shih, R., et al. (2019). Long-term Associations Between Substance Use-Related Media Exposure, Descriptive Norms, and Alcohol Use from Adolescence to Young Adulthood. J Youth Adolesc, 48(7), 1311-1326. doi:10.1007/s10964-019-01024-z
Ding, L., Newman, I.M., Buhs, E.S., & Shell, D.F. (2018). Influence of Peer Pressure and Self-Efficacy for Alcohol Self-Regulation on Chinese University Physical Education Students’ Drinking Behaviors. Scientific Research Publishing, 8, 46-57. doi:10.4236/ape.2018.81006
Gaete, J., & Araya, R. (2017). Individual and contextual factors associated with tobacco, alcohol, and cannabis use among Chilean adolescents: A multilevel study. Journal of Adolescence, 56, 166-178. doi:https://doi.org/10.1016/j.adolescence.2017.02.011
Getachew, S., Lewis, S., Britton, J., Deressa, W., & Fogarty, A.W. (2019). Prevalence and risk factors for initiating tobacco and alcohol consumption in adolescents living in urban and rural Ethiopia. Public Health, 174, 118-126. doi:10.1016/j.puhe.2019.05.029
Gordon, P., Hilary T. & Brown, L.B. (1979). A Parental Bonding Instrument. British Journal of Medical Psychology, 52(1),
-10. DOI: 10.1111/j.2044-8341.1979.tb02487.x
Jones, S.C., & Gordon, C.S. (2017). A systematic review of children's alcohol-related knowledge, attitudes and expectancies. Prev Med, 105, 19-31. doi:10.1016/j.ypmed.2017.08.005
Kelly, S.J., Ireland, M., Alpert, F., & Mangan, J. (2014). The impact of alcohol sponsorship in sport upon university sportspeople. Journal of Sport Management, 28(4), 418-432.
Leonard, K.E. (2015). RIA Reaching Others: The Facts on Teen Drinking. Retrieved September 9, 2020, from http://www.buffalo.edu/content/dam/www/ria/PDFs/ES14-TeenAlcohol.pdf
McLeod, S. (2018). Erik Erikson's stages of psychosocial development. Retrieved September 9, 2020, from https://www.simplypsychology.org/Erik-Erikson.html
Patton, K., Connor, J., Rundle-Thiele, S., Dietrich, T., Young, R., & Gullo, M. (2018). Drinking Refusal Self-Efficacy Questionnaire-Revised Adolescent version (DRSEQ-RA). Addictive Behaviours, 81, 70-77. doi:10.1016/j.addbeh.2018.02.007
Rowley, J., & Williams, C. (2008). The impact of brand sponsorship of music festivals. Marketing Intelligence & Planning, 26(7), 781-792. doi:10.1108/02634500810916717
Segura-Garcia, C., Rania, M., Aloi, M., Palmieri, A., Grande, B., Fazio, S., & De Fazio, P. (2015). Parental Bonding in substance and alcohol abusers. Heroin Addiction and Related Clinical Problems, 18.
Seid, A.K. (2016). Social interactions, trust and risky alcohol consumption. Health economics review, 6(1), 1-3. doi:10.1186/s13561-016-0081-y
Sharma, A., Sinha, K., & Vandenberg, B. (2017). Pricing as a means of controlling alcohol consumption. British Medical Bulletin, 123, 149-158. doi:10.1093/bmb/ldx020
Silveri, M.M. (2012). Adolescent brain development and underage drinking in the United States: identifying risks of alcohol use in college populations. Harvard review of psychiatry, 20(4), 189-200. doi:10.3109/10673229.2012.714642
Siricharoen, D. (2012). Children and Influence of Family. Assumption University Law Journal, 3(1).
Social Statistics Division. (2018). The Smoking and Drinking Behaviour Survey 2017. Nontaburi: Statistical Forecasting Division, National Statistical Office.
Sudhinaraset, M., Wigglesworth, C., & Takeuchi, D.T. (2016). Social and Cultural Contexts of Alcohol Use: Influences in a Social-Ecological Framework. Alcohol Res, 38(1), 35-45.
World Health Organization. (2018a). Alcohol. Retrieved September 9, 2020, from https://www.who.int/news-room/fact-sheets/detail/alcohol
World Health Organization. (2018b). Global status report on alcohol and health 2018. Switzerland: WHO.
Yu, J. (2003). The association between parental alcohol-related behaviors and children's drinking. Drug and Alcohol Dependence, 69(3), 253-262. doi:https://doi.org/10.1016/S0376-8716(02)00324-1
Zenic, N., Ostojic, L., Sisic, N., Pojskic, H., Peric, M., Uljevic, O., & Sekulic, D. (2015). Examination of the community-specific prevalence of and factors associated with substance use and misuse among Rural and Urban adolescents: a cross-sectional analysis in Bosnia and Herzegovina. BMJ Open, 5(11), e009446. doi:10.1136/bmjopen-2015-009446
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.