การประเมินการรับสัมผัสและความเสี่ยงสุขภาพจากการรับสัมผัสฟอร์มาลดีไฮด์ในผู้ปฏิบัติงานเตรียมบ่อเลี้ยงลูกกุ้งขาว ฟาร์มเลี้ยงลูกกุ้งขาว
คำสำคัญ:
Formaldehyde, Exposure assessments, Shrimp hatcheryบทคัดย่อ
ฟอร์มาลดีไฮด์เป็นสารก่อมะเร็งในมนุษย์รวมทั้งก่อระคายเคืองต่อดวงตา ระบบทางเดินหายใจและผิวหนัง ฟอร์มาลดีไฮด์ถูกนำมาใช้ประโยชน์ในการกำจัดเชื้อก่อโรคสำหรับการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ผู้ปฏิบัติงานเตรียมบ่อเลี้ยงลูกกุ้งขาวจึงมีโอกาสได้รับอันตรายจากการรับสัมผัสฟอร์มาลดีไฮด์จากการทำงาน การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินการรับสัมผัสและความเสี่ยงสุขภาพจากการรับสัมผัสฟอร์มาลดีไฮด์ทางการหายใจในผู้ปฏิบัติงานเตรียมบ่อเลี้ยงลูกกุ้งขาว พื้นที่ศึกษาฟาร์มเลี้ยงลูกกุ้งขาว 2 แห่ง ในภาคตะวันออกของประเทศไทย รวบรวมข้อมูลระหว่างเดือนธันวาคม 2561 ถึง มกราคม 2562 โดยการสอบถามและการตรวจวัดระดับความเข้มข้นของฟอร์มาลดีไฮด์แบบติดตัวบุคคล (Personal air sampling) ที่บริเวณการหายใจ (Breathing zone) ตลอดระยะเวลาทำงานของผู้ปฏิบัติงาน จำนวน 30 คน ตามวิธีมาตรฐาน NIOSH Method 2541 จากนั้นประเมินการรับสัมผัสและความเสี่ยงสุขภาพ ตามแนวทางของ US EPA ผลการศึกษา พบว่า ระดับความเข้มข้นของฟอร์มาลดีไฮด์ตลอดระยะเวลาทำงาน มีค่าเฉลี่ย 51.2 mg/m3 การประเมินความเสี่ยงในการได้รับผลกระทบต่อสุขภาพอื่น ๆ ที่ไม่ใช่มะเร็ง พบความเข้มข้นที่ได้รับสัมผัสฟอร์มาลดีไฮด์ (ECnon-cancer) 305.0 µg/m3 และพบว่าผู้ปฏิบัติงานมีความเสี่ยงในการได้รับผลกระทบสุขภาพในลักษณะอื่น ๆ ที่ไม่ใช่มะเร็งที่เพิ่มขึ้น (HQ = 31.0) สำหรับการประเมินความเสี่ยงในการเกิดมะเร็ง พบความเข้มข้นที่ได้รับสัมผัสฟอร์มาลดีไฮด์ (ECcancer) 20.6 µg/m3 ความเสี่ยงในการเกิดมะเร็ง (CR) 26.8x10-5 ซึ่งจัดเป็นความเสี่ยงที่ยอมรับไม่ได้ ดังนั้นจึงควรกำหนดมาตรการควบคุมเชิงป้องกันการรับสัมผัสฟอร์มาลดีไฮด์ เพื่อลดระดับความเสี่ยงต่อสุขภาพ ด้วยการใช้มาตรการต่าง ๆ เช่น การใช้สารทดแทนฟอร์มาลดีไฮด์ในการรมควันทำความสะอาดอากาศ หรือการลดปริมาณฟอร์มาลินที่ใช้โดยพิจารณาศึกษาปริมาณที่เหมาะสมในการฆ่าเชื้อก่อโรคในกุ้งขาว
References
เจนจิตต์ คงกำเนิด, & ณัฐกานต์ สาลีติด. (2562). การตรวจคัดกรองเชื้อก่อโรคในฟาร์มเพาะพันธุ์และอนุบาลกุ้งทะเลของประเทศไทย [ฉบับออนไลน์]. วารสารการประมงอิเล็กทรอนิกส์, 2(2), 23-48.
ทัศน์พงษ์ ตันติปัญจพร, วรกมล บุณยโยธิน, & วันทนี พันธุ์ประสิทธิ์. (2561). การประเมินความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งจากการรับสัมผัสฟอร์มัลดี ไฮด์ทางการหายใจของเจ้าหน้าที่ผ่าและรักษาศพ. เวชสารแพทย์ทหารบก, 71(1), 39-49.
พัชรินธร ลังกาปอน. (2565). สถานการณ์สินค้ากุ้งทะเลและผลิตภัณฑ์ ในช่วง 9 เดือนแรก ปี 2565. กรุงเทพฯซ กลุ่มเศรษฐกิจการประมงกองนโยบายและแผนพัฒนาการประมง กรมประมง.
ฟาร์มเลี้ยงลูกกุ้งขาว. (2558). บันทึกแนวทางการจัดการกำจัดเชื้อจุลินทรีย์: วันที่ 21 สิงหาคม 2558 ของบริษัทฟาร์มเลี้ยงลูกกุ้งขาว. [ม.ป.ท.:
ม.ป.พ.]. (เอกสารอัดสำเนา)
ATSDR. (2018). Minimal Risk Levels. Retrieved April 2018, from http://www.atsdr.cdc.gov/minimalrisklevels/index.html
Daniel, W. W. (1995). Biostatistics: a foundation for analysis in the health sciences (6th ed.). New York: John Wiley and Sons.
IARC. (2012). IARC monographs on the evaluation of carcinogenic risks to humans. Retrieved October 9, 2022, from http://monographs.iarc.fr/ENG/News/index.php
Jalali, M., Moghadam, S. R., Baziar, M., Hesam, G., Moradpour, Z., & Zakeri, H. R. (2021). Occupational exposure to formaldehyde, lifetime cancer probability, and hazard quotient in pathology lab employees in Iran:
A quantitative risk assessment. Environmental Science and Pollution Research, 28, 1878-1888.
Kangarlou, M. B., Fatemi, F., Dehdashti, A., Iravani, H., & Saleh, E. (2023). Occupational health risk assessment of airborne formaldehyde in medical laboratories. Environmental Science and Pollution Research, 1-10.
Khoshakhlagh, A. H., Chuang, K. J. & Kumar, P. (2023). Health risk assessment of exposure to ambient formaldehyde in carpet manufacturing industries. Environmental Science and Pollution Research, 30, 16386–16397
NIOSH. (1994). NIOSH manual of analytical methods, method listing: Formaldehyde by GC 2541, Issue 2. Retrieved October 1, 2020, from https://www.cdc.gov/niosh/docs/2003-154/default.html
NIOSH. (2022). NIOSH pocket guide to chemical hazards: Formalin (as formaldehyde). Retrieved February 16, 2022, from https://www.cdc.gov/niosh/npg/npgd0294.html
Soltanpour, Z., Mohammadian, Y., & Fakhri, Y. (2022). The exposure to formaldehyde in industries and health care centers: A systematic review and probabilistic health risk assessment. Environmental research, 204(Pt B), 112094.
Su, M., Sun, R., Zhang, X., Wang, S., Zhang, P., Yuan, Z., et al. (2018). Assessment of the inhalation risks associated with working in printing rooms: a study on the staff of eight printing rooms in Beijing, China. Environmental Science and Pollution Research International, 25(17), 17137–17143.
US EPA. (1989). Risk assessment guidance for superfund. Volume I: Human health evaluation manual (Part A). Washington, DC: U.S. Environmental Protection Agency.
US EPA. (1995). Integrated risk information system (IRIS) chemical assessment summary: Formaldehyde. Retrieved March 16, 2018, from https://iris.epa.gov/ChemicalLanding/&substance_nmbr=419
US EPA. (2009). Risk assessment guidance for superfund: Volume I: Human health evaluation manual (Part F, Supplemental guidance for inhalation risk assessment). Washington, DC: US Environmental Protection Agency.
Voorhees, J. M., & Barnes, M. E. (2016). Airborne Formaldehyde Levels During Simulated Formalin Egg Treatments in Vertical-Flow Tray Incubators at a Production Fish Hatchery. Journal of Agricultural Safety and Health, 22(3), 199–207.
Wooster, G., Martinez, C., Bowser, P., & O'Hara, D. (2005). Human health risks associated with formalin treatments used in aquaculture: Initial study. North American Journal of Aquaculture, 67, 111-113.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.